ระบบไหลเวียน (Circulatory system)
ระบบไหลเวียนนี้ประกอบด้วยทางเดินของโลหิตและนํ้าเหลือง การไหลเวียนของโลหิต เป็นระบบปิดและมีความกดดัน 90-180 มิลลิเมตร ส่วนการไหลเวียนของนํ้าเหลืองนั้นเปิดไปสู่ส่วนต่าง ๆ มากแห่งกว่า แต่มีความดันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การไหลเวียนของโลหิตเป็นกรรมวิธีสำหรับนำอาหารที่ย่อยแล้ว รวมทั้งกากหรือของเสีย ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ นํ้า ตลอดจนฮอร์โมนต่าง ๆ เข้าและออกจากเซลล์ของร่างกาย กระแสโลหิตที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายนี้ยังช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมภาวะความเป็นกรดด่าง และต่อสู้ ป้องกันเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้าไป การไหลเวียนของนํ้าเหลืองช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นสื่อแลกเปลี่ยนอาหารกับของเสียระหว่างปลายท่อโลหิตฝอยกับเซลล์ของร่างกาย และยังเป็นตัวพาไขมันไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย
ส่วนต่าง ๆ ของระบบไหลเวียนของโลหิตประกอบด้วย หัวใจ เส้นโลหิตแดง เส้นโลหิตฝอย เส้นโลหิตดำ และโลหิต
หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนทั่วร่างกายอยู่ตลอดเวลา ในหัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง สองห้องบน (auricles) มีผนังเป็นกล้ามเนื้อบาง สองห้องล่าง (ventricles) ผนังหนากว่า หัวใจห้องขวาบนรับโลหิตเสียหรือไม่บริสุทธิ์จากเส้นโลหิตดำที่มาจากหัวและลำตัว ผ่านลิ้นหัวใจ ซีกขวานั้นลงสู่ห้องขวาล่าง แล้วถูกห้องขวาล่างทำการสูบถ่ายไปยังปอด ตอนนี้เป็นที่ที่โลหิต จะคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกทิ้งและรับออกซิเจนเข้าไว้ โลหิตออกจากปอดไปสู่หัวใจห้องบนซ้ายผ่านลิ้นหัวใจลงมาห้องล่างซ้าย ห้องล่างซ้ายสูบฉีดโลหิตที่ผ่านลงมาเข้าเส้นโลหิตแดงใหญ่ รองหัวใจ ต่อจากนั้นก็ไปสู่เส้นโลหิตแดงสาขาต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หัวใจไก่เต้นประมาณ 192- 396 ครั้งต่อนาที หรือเฉลี่ยนาทีละ 282 ครั้ง
เส้นโลหิตแดง นำโลหิตจากหัวใจไปสู่ปอดด้วยเส้นโลหิตแดงใหญ่ (pulmonary artery) เเละจากนั้นโลหิตก็เข้าเส้นโลหิตดำใหญ่จากปอดมาสู่หัวใจซ้ายบน ผ่านลิ้นหัวใจห้องซ้ายลงมาห้องล่าง แล้วถูกสูบฉีดไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยทางหนึ่งไปหล่อเลี้ยงส่วนศีรษะ (carotid Irenes) ทางหนึ่งไปหล่อเลี้ยงปีก (brahial artery) อีกทางหนึ่งเส้นโลหิตแดงใหญ่ตรงหน้าอก ItDrsal aorta) แยกสาขาไปหล่อเลี้ยงตับ ทางเดินของอาหาร ไต และขา โลหิตแดงมีออกซิเจน จึงทำให้มีสีแดงกว่าโลหิตดำ ความกดดันในเส้นโลหิตแดงก็สูงกว่าเส้นโลหิตดำ ความกดดัน ที่เส้นโลหิตแดงโคนขาไก่เฉลี่ย 135 มิลลิเมตร
ท่อโลหิตฝอย (capillaries) เป็นปลายท่อโลหิตขนาดเล็ก เชื่อมระหว่างเส้นโลหิตแดงเส้นโลหิตดำตามกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ
เส้นโลหิตดำ (veins) เป็นเส้นทางเดินที่นำโลหิตไปสู่หัวใจ โดยมากมักอยู่ใกล้เคียงกับ เส้นโลหิตแดงของอวัยวะนั้น โลหิตจากส่วนหัวกลับสู่หัวใจ ผ่านเส้นโลหิตดำข้างคอด้านขวาลงไปรวมกับเส้นโลหิตดำที่นำโลหิตดำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจซีกขวาบน ตำแหน่งของเส้นโลหิตดำมีความสำคัญ กล่าวคือ เวลาเชือดไก่ต้องให้มีดเฉือนคอตอนที่ต่อกับศีรษะเพื่อตัดเส้นโลหิตดำที่กลับจากสมอง การเอาหยดเลือดไปตรวจโรคขี้ขาวนั้นต้องเจาะที่เส้นโลหิตดำของปีก ในการตอนไก่ต้องระวัง เพราะเม็ดอัณฑะอยู่ชิดกับเส้นโลหิตดำใหญ่ที่กลับจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตอนล่างไปสู่หัวใจ
โลหิต โลหิตเป็นส่วนผสมระหว่างของเหลวซึ่งเรียกว่า ปลาสม่า (plasma) กับเซลล์ซึ่งเป็นเม็ดโลหิตแดง (erythrocytes) และเม็ดโลหิตขาว (leucocytes) อยู่ในระบบไหลเวียนของร่างกาย ปลาสม่านำอาหารที่ย่อยละลายแล้วไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และนำของเสียจาก เซลล์ไปทิ้งทางอวัยวะกลั่นกรอง นํ้ายาของเกลือต่าง ๆ ที่จะไปช่วยรักษาความเป็นกลางของร่างกายตลอดจนฮอร์โมนและเม็ดโลหิตต่าง ๆ ก็ละลายหรือเป็นส่วนผสมของโลหิต
เม็ดโลหิตส่วนใหญ่ในปลาสม่า ได้แก่ เม็ดโลหิตแดงและเม็ดโลหิตขาว เม็ดโลหิตแดง มีขนาดเล็ก กลมรีแบบรูปไข่ มีนิวเคลียสใหญ่ทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ของร่างกาย แล้วนำคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกายไปสู่ปอด โดยกรรมวิธีที่รับออกซิเจนหรือ คายคาร์บอนไดออกไซด์ของฮีโมโกลบิน ฮีโมโกลบินมีคุณสมบัติเป็นโปรตีนอย่างหนึ่งที่มี แร่ธาตุเหล็กอยู่ด้วย เม็ดโลหิตขาวมีขนาดใหญ่และมีจำนวนน้อยกว่าเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว ยังแบ่งออกได้เป็นหลายจำพวก เม็ดโลหิตขาวช่วยร่างกายต่อสู้ป้องกันเชื้อโรคที่แปลกปลอม เข้ามาเวลาที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้ารบกวน จำนวนเม็ดโลหิตขาวจะทวีจำนวนมากขึ้นเพื่อใช้ ในการต่อต้านเชื้อโรค
โลหิตมีประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ของนํ้าหนักไก่เป็น ตัวโลหิตมีส่วนประกอบที่เป็นนํ้า ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์และของแห้งประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ในโลหิต 1 ซี.ชี. จะมีเม็ดโลหิตแดง ประมาณ 2 ล้าน ถึง 4 ล้านตัว และเม็ดโลหิตขาวประมาณหมื่นห้าพันถึงสามหมื่นห้าพันตัว ในปลาสม่ามีวัตถุพวกไฟบริโนเจน (fibrinogen) ซึ่งช่วยให้โลหิตไก่เป็นลิ่มแข็งตัวเร็วขึ้นในเวลาที่มีบาดแผล เมื่อเอาโลหิตไก่ใส่ภาชนะ เช่น หลอดแก้ว ตั้งไว้จะแยกตัวออกเป็นลิ่มกับนํ้าสีเหลือง อ่อน ๆ นี่คือ ซีรัม ซีรัมใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้ในการตรวจโรคขี้ขาว ฯลฯ
ระบบน้ำเหลือง (lymph system) ระบบไหลเวียนของนํ้าเหลืองประกอบด้วยท่อนํ้าเหลือง จำนวนมากมาย อวัยวะสร้างเม็ดโลหิตขาวและท่อนํ้าเหลืองฝอย ท่อนํ้าเหลืองฝอยรวมนํ้าเหลือง ส่งให้ท่อน้ำเหลือง แล้วส่งต่อไปยังท่อนํ้าเหลืองใหญ่ใกล้หัวใจ ต่อมนํ้าเหลืองมีจำนวนน้อยในบริเวณด้านหน้าอก คอ และปีก
มีลักษณะการทำงานคล้ายกับหัวใจของคนคือมี 4 ห้อง ประกอบกับห้องที่อยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาอย่างละ 2 ห้อง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพื่อใช้ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจห้องซ้ายทำหน้าที่รับเลือดจากปอด และไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกาย หัวใจห้องทางขวา ทำหน้าที่รับเลือดเสียที่รับมาจากร่างกายและส่งไปยังปอด เพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สให้กลายเป็นเลือดดีต่อไป
จากการศึกษาผ่านการลงมือปฏิบัติในครั้งนี้ นักเรียนให้ความสนใจ มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์และหัวใจไก่ สามารถไปต่อยอดเนื้อหารายวิชาที่เรียนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น