วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดสอบปฏิกิริยาของไอร์ออน (III) ไอออน (Fe 3+) และไอร์ออน (II) ไอออน (Fe 2+)

       


                  วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดสอบปฏิกิริยาของไอร์ออน (III) ไอออน (Fe 3+) และไอร์ออน (II) ไอออน (Fe 2+) โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

จุดประสงค์การทดลอง
             1.1   ทดสอบปฏิกิริยาระหว่างไอร์ออน(III)ไอออน (Fe3+) กับไอโอไดด์ไอออน (I-) พร้อมทั้งเขียนสมการเคมี
            1.2 ทดสอบปฏิกิริยาระหว่างไอร์ออน(II)ไอออน (Fe2+) กับไอโอดีน (I2) พร้อมทั้งเขียนสมการเคมี
            1.3.บอกความสัมพันธ์ของปฏิกิริยาระหว่างไอร์ออน(III)ไอออนกับไอโอไดด์ไอออนกับ

หลักการ
            กฎของภาวะสมดุลทางเคมี (Law of Chemical Equilibrium) กล่าวว่า “สำหรับปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ ที่ภาวะสมดุล ผลคูณของความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ เมื่อหารด้วยผลคูณของความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือ โดยที่ความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดยกกำลังด้วยเลขสัมประสิทธิ์บอกจำนวนโมลของสารในสมการที่ดุลแล้วจะมีค่าคงที่เสมอเมื่ออุณหภูมิคงที่

การเกิดปฏิกิริยาเคมี
            การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างจากสารเดิม ปฏิกิริยาเคมีมีทั้งชนิดไม่ผันกลับ(ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์) และปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ (ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์) เช่น                                                                                                    – ปฏิกิริยาระหว่าง Cu2+ กับ Mg เกิด Cu และ Mg2+ ดังนื้  (ทิ้งไว้นานมาก) เกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์ (ปฏิกิริยาไม่ผันกลับ)                                                                                                                                                                                   

 – ปฏิกิริยาระหว่าง Fe3+ กับ I- เกิด Fe2+ และ I2 ดังนี้  ปฏิกิริยาไปข้างหน้าและ ในขณะเดียวกัน Fe2+ กับ I2 เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ Fe3 และ I- ดังนี้   เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเมื่อนำมาเขียนรวมๆ กันจะเป็นการที่ผันกลับได้

ภาพประกอบการทดลอง




















ผลการทดลอง


                     รูปที่1. เตรียมสารในจามหลุมสำหรับทดสอบ          รูปที่2. ทดสอบ Fe3+  Fe2+  I-  และ I2


                 รูปที่3.ทดสอบสารในปฏิกิริยาเคมีระหว่าง Fe3+ กับ I-      รูปที่4.การทดสอบสารในปฏิกิริยาเคมีระหว่างFe2+ และ I2




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น