วันที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง องค์ประกอบของของสารละลาย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ และเป็นผู้ควบคุมในการทดลอง
จุดประสงค์
เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของสารละลายที่ประกอบด้วยตัวทำละลายเป็นของเหลว และตัวละลายเป็นของแข็ง
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. บีกเกอร์ขนาด
100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. แท่งแก้วคนสาร 7. โซเดียมคลอไรด์
3. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม
4.
จานหลุมโลหะ
5. ตะแกรงวาง
วิธีการทดลอง
1.
เตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ โดยชั่งโซเดียมคลอไรด์น้ำหนัก 5 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์
2.
ใส่น้ำกลั่นจำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ในข้อ 1. แล้วใช้แท่งแก้วคนสารให้ละลายจนหมด
3. ทำการทดลองซ้ำข้อ
1. 2. โดยเปลี่ยนจากการเตรียมสารละลายไซเดียมคลอไรด์เป็นเตรียมสารละลายน้ำตาลกลูโคส
และสารละลายกรดแอซิติก
4. นำสารละลายทั้ง 3 ชนิด จำนวน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ในจานหลุมโลหะแต่ละหลุม
5. นำจานหลุมไปวางบนตะเกียงแอลกอฮอล์
6. รอจนของเหลวในแต่หลุมระเหยไปจนหมด สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง
อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า
เมื่อของเหลวในหลุมระเหยไปจนหมด จะเหลือตะกอนในหลุมเพียง 2 หลุม ได้แก่ หลุมที่บรรจุสารละลายโซเดียมคลอไรด์
และสารละลายน้ำตาลกลูโคส แสดงว่าสารละลายทั้ง 2 ชนิด น้ำเป็นตัวทำละลาย
และมีของแข็ง (โซเดียมคลอไรด์และน้ำตาลกลูโคสเป็นตัวละลาย) เมื่อให้ความร้อนแก่สารละลายจึงทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอจนหมด
จึงเหลือตะกอนของแข็งอยู่ในจานหลุม ส่วนหลุมที่บรรจุสารละลายกรดแอซิติกจะไม่เหลือตะกอน
เนื่องจากมีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีกรดแอซิติกเป็นตัวละลาย ซึ่งเป็นสารระเหยง่ายทั้งคู่
เมื่อได้รับความร้อนจึงระเหยกลายเป็นไอจนหมด
เยี่ยมมากครับ
ตอบลบ