วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย และการหาจุดเดือดจุดหลอมเหลว โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา

     เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 เวลา 13. 40 - 15.15 น ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้จัดทำการเรียนสอนภาคปฏิบัตการในรายวิชาเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย และการหาจุดเดือดจุดหลอมเหลวของสารละลายมาตราฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์อิลฮาม อับดุลเลาะ อาจารย์ประจำวิลาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเตรียมสารเคมีและอำนวยความสะดวกในกาารใช้บริการห้องปฏิบัติการ
การเตรียมสารละลาย หมายถึง การเตรียมสารละลายโดยนำตัวถูกละลายมาเติมตัวทำละลายให้ได้ปริมาตรและความเข้มข้นตามต้องการ และในการเตรียมต้องทราบ ความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย

หลักการ
  1. คำนวณหาปริมาณ ( จำนวนโมล ) ของตัวละลายในสารละลายที่ต้องการเตรียม MV/1,000
  2. คำนวณหาปริมาตรของสารละลายที่เข้มข้น ที่มีจำนวนโมลเท่ากับจำนวนโมลที่คำนวณได้จากข้อ 1 โดยใช้สูตร C1V1 = C2V2
  3. ทำสารละลายให้เจือจาง โดยใช้ปิเปตต์ดูดสารละลายเข้มข้นมีปริมาตรเท่ากับปริมาตรที่คำนวณได้ จากข้อ 2
  4. เก็บสารละลาย ปิดฉลากให้ชัดเจน
การหาจุดเดือด ( Boiling Point ) การที่สารไม่บริสุทธิ์ หรือ สารละลายจุดเดือดไม่คงที่ เกิดจากอัตราส่วนระหว่างจำนวนโมเลกุลของตัวถูกละลาย และ ตัวทำละลาย เปลี่ยนแปลงไปโมเลกุลที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยไปเร็วกว่าทำให้สารที่มีจุดเดือดสูงใน อัตราส่วนที่ มากกว่าจึงเป็นผลให้จุดเดือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ

การหาจุดหลอมเหลว ( Melting Point ) จะสามารถทดสอบกับสารที่บริสุทธิ์ และสารที่ไม่บริสุทธิ์ได้ โดย
- สารบริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวคงที่ และ มีอุณหภูมิช่วงการหลอมเหลวแคบ
- สารไม่บริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวไม่คงที่ และ มีอุณหภูมิในช่วงการหลอมเหลวกว้างซึ่งอุณหภูมิช่วงการหลอม 
 
ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น