วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเรื่อง การทดลองวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เคมีไฟฟ้า

      

         เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 10.25 - 12.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การทดลองวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 5/1 (SMP)  โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ


หลักการ

เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) 

       เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยครึ่งเซลล์ 2 ครึ่งเซลล์มาต่อกัน และเชื่อมให้ครบวงจรโดยใช้สะพานไอออนต่อระหว่างครึ่งเซลล์ไฟฟ้าทั้งสอง

รูปที่ 1 แสดงเซลล์กัลวานิก ซึ่งอิเล็กตรอนไหลจากขั้วแอโนด(-)ไปยังขั้วแคโทด(+) 

 ครึ่งเซลล์   (Half cell)  

        ครึ่งเซลล์   (Half cell)   คือ ระบบที่มีสารจุ่มอยู่ในไอออนของสารนั้น ถ้าสารที่จุ่มเป็นโลหะก็ใช้โลหะนั้นเป็นขั้ว (ขั้วว่องไว) เช่น Zn จุ่มอยู่ใน Zn2+ ดังรูป

 รูปที่ 2 แสดงครึ่งเซลล์ออกซิเดชัน (Oxidation half cell) และครึ่งเซลล์รีดักชัน (Reduction half cell)


สะพานไอออน (Salt bridge) 
      สะพานไอออน (Salt bridge) คือ ตัวเชื่อมวงจรภายในของแต่ละครึ่งเซลล์ให้ครบวงจร ทำให้ไอออนในแต่ละครึ่งเซลล์สามารถไหลผ่านสะพานไอออนนี้ได้ และมีหน้าที่รักษาสมดุลของไอออนของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในแต่ละครึ่งเซลล์ เพื่อทำให้ประจุในแต่ละครึ่งเซลล์สมดุลกัน

สมบัติของสารที่ใช้ทำเป็นสะพานไอออน
     1. เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถแตกตัวละลายน้ำได้ดี มีปริมาณไอออนมาก
     2. ไอออนต้องไม่ทำทำปฏิกิริยาเคมีใดๆ กับสารละลายของแต่ละครึ่งเซลล์
     3. ไอออนบวกและไอออนลบที่แตกตัวออกมาต้องมีความสามารถในการเคลื่อนที่ใกล้เคียงกัน
     4. สารที่ใช้ทำสะพานไอออน ได้แก่ KNO3, KCl, NH4Cl
     5. ต้องเป็นสารละลายอิ่มตัว ประกอบด้วยไอออนมาก

ลักษณะสำคัญของเซลล์กัลวานิก
     1. กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเป็นกระแสตรง  คือ กระแสอิเล็กตรอน
     2. อิเล็กตรอนจะไหลจากเซลล์ที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำไปยังครึ่งเซลล์ที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง

ภาพประกอบการทดลอง
 












วิดีโอการทดลอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น