วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

กิจกรรมการนำเสนอและประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนโครงการห้ห้องเรียนพิเศษ SMP รุ่นที่ 4 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

                        

           เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ สัมมนา 1 อาคาร 4 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัด  "กิจกรรมการนำเสนอและประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รุ่นที่ 4 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ" เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอให้กับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประกวดโครงานในเวทีต่างๆ และในครั้งนี้เป็นปีที่ 4 ในการจัดกิจกรรมการนำเสนอโครงงาน โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป          ซึ่งการจัดกิจกรรมการนำเสนอโครงงานครั้งนี้ทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิได้เรียนเชิญคณะอาจารย์จากทางคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มาเป็นเกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินการให้คะแนนและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ให้กับนักเรียนในการนำเสนอโครงงานของนักเรียน SMP ครั้งนี้ด้วย โดยมีอาจารย์ ดร.ปัทมา พิศภักดิ์ อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, อาจารย์ ดร.ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์ อาจารย์สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมฯ, อาจารย์อดุลย์สมาน สุขแก้ว อาจารย์สาขาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน, อาจารย์วสันตนาวิน หรินทร์ปพนวิช อาจารย์สาขาวิทยาการจัดการ, และอาจารย์สมทบ เวทโอสถ อาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำโครงงานและงานวิจัย ทำให้นักเรียนได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากทางคณะการกรรม เพื่อนำไปปรับปรุงและต่อยอดผลงานของนักเรียน และยังมีคณะอาจารย์จากทางโรงเรียนมาร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะกับนักเรียน

โครงงานที่นำเสนอในครั้งนี้ มีทั้งหมด 23 เรื่อง ร่วมทั้งนักเรียนชายและหญิง มีดังนี้

1. การศึกษาประสิทธิภาพของเปลือกไข่ในการปรับสภาพความเป็นกรดในดิน
2. การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับเอทิลีนของถ่านกัมมันต์จาก ไม้ กะลา และซังข้าวโพดในการชะลอการสุกของกล้วยหอม
3. พัฒนาทรายแมวจากผักตบชวาและกาบมะพร้าว
4. การศึกษาประสิทธิภาพเจลบรรเทาอาการบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อยที่ได้จากใบโหระพา
5. การกำจัดประชากรปลวกด้วยสารบาราคอล(Barakol)ในใบขี้เหล็ก
6. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดความชื้นสัมพัทธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์ขี้เลื่อยเผาและขี้เลื่อยเผาปั้นเป็นรูปทรง
7. การศึกษาโซเดียมคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสจากกระดาษเหลือใช้เพื่อนำมาพัฒนาเป็นฟิล์มพลาสติกชีวภาพ
8. การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
9. ไบโอพลาสติกจากขุยมะพร้าว
10. การกำจัดประชากรปลวกด้วยสารบาราคอลในสมุนไพรใบขี้เหล็ก
11. การพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติน้ำท่วมฉับพลันล่วงหน้าโดยใช้ข้อมูล จากดาวเทียมนำหน (GNSS) ด้วยบอร์ด Sony Spresense
12. การศึกษาประสิทธิภาพของถุงบรรจุสารสกัดหยาบจากหัวหญ้าแห้วหมูไล่มอดในข้าวสาร
13. เครื่องบีบขวดพลาสติก เพิ่มพื้นที่การจัดเก็บขยะ
14. การสกัดสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดเพื่อใช้เป็นครีมฟื้นฟูผิวจากโรคผิวหนังบางชนิด
15. ภาชนะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรากลุ่ม Rhizopus Stolonifer และ Aspergillus spp.ในขนมปังจากต้นมันสำปะหลัง
16. การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมจากใบชบา
17. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอิฐบล็อกจากเศษไม้ไผ่กับอิฐบล็อกทั่วไป
18. การสกัดสารในใบตำลึงเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ทาบรรเทาอาการแผลในปาก
19. การสกัดสารแอนโทไซยานินจากผลต้นโคลงเคลงเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แชมพูเหลวลดผมร่วง
20. ภาชนะยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพในขนมปังจากต้นมันสำปะหลัง
21. การศึกษาประสิทธิภาพเจลบรรเทาอาการบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อยที่ได้จากพืชในท้องถิ่น
22. การศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดหยาบจากใบต้อยติ่งเพื่อพัฒนาเป็นสเปรย์บรรเทาอาการ
จากโรคหิด
23. ผลิตภัณฑ์ขนมปังที่มีส่วนผสมของหัวปลีเพื่อกระตุ้นน้ำนมแม่











      
           








             ซึ่งในการนำเสนอโครงงานครั้งนี้ จะมีการมอบรางวัลให้กับโครงงานของนักเรียนที่ได้คะแนนมากที่สุดจากกรรมการ และในระหว่างการนำเสนอโครงงานของนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 5 ก็มีกิจกรรมการแสดงของรุ่นน้อง นักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 ให้ได้ชมกัน เป็นการฝึกให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกในการแสดงมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนมีความมุ่งหวังที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีเวทีประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีมาตรฐานยิ่งขึ้นและให้นักเรียนได้มีประสบการณ์เรียนรู้ในการเข้าประกวดโครงงานในเวทีต่อๆไป และทั้งนี้ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการคณาอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่ให้เกียรติมาเป็นกรรมการการประเมินการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย

1 ความคิดเห็น:

  1. ชื่อโครงงานน่าสนใจมากครับ ต้องขอบคุณทางโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักวิทยาศาสตร์ และนักเรียน SMP ที่ร่วมกันสร้างเวทีนักวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน เป็นการใช้ประโยชน์จากห้องปฏิบัติการ วัสดุ สารเคมีอย่างคุ้มค่าครับ

    ตอบลบ