วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน



            เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP -YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ ยามิน เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์

1.ทดสอบปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดคาร์บอกซิลิกกับแอลกอฮอลล์
2.ทดสอบปฏิกิริยาย้อนกลับของการเกิดเอสเทอร์ในภาวะกรด

หลักการ

    เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด และสารประกอบไฮดรอกซิล เช่น แอลกอฮอล์หรือฟีนอล เป็นต้น เอสเทอร์ประกอบด้วยกรดอนินทรีย์หรือกรดอินทรีย์โดยที่หมู่ -OH (ไฮดรอกซิล) อย่างน้อยหนึ่งหมู่ถูกแทนที่ด้วยหมู่ -O-แอลคิล (แอลคอกซี) คล้ายกับเกลือที่ใช้แอลกอฮอล์อินทรีย์แทนที่ไฮดรอกไซด์ของโลหะ
    เอสเทอร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มีไขมันและน้ำมันจำนวนมากที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นเอสเทอร์กรดไขมันของกลีเซอรีน โมเลกุลของเอสเทอร์มีน้ำหนักเบา ปกติมีกลิ่นหอมพบในน้ำมันหอมระเหยและฟีโรโมน ฟอสโฟเอสเทอร์เป็นรูปร่างแกนหลักของโมเลกุล DNA เอสเทอร์ไนเตรต เช่น ไนโตรกลีเซอรีน มีคุณสมบัติในการทำระเบิด ขณะที่โพลีเอสเตอร์เป็นพลาสติกที่สำคัญที่มอนอเมอร์เชื่อมโดยเอสเทอร์ส่วนหนึ่ง กรดบางชนิดที่ปกติจะเปลี่ยนเป็นเอสเทอร์ คือ กรดคาร์บอกซิลิก, กรดฟอสฟอริก, กรดกำมะถัน, กรดไนตริก, และ กรดบอริก วัฏจักรเอสเทอร์เรียกว่าแลกโทน      














อภิปรายผลการทดลอง
          จากการทดสอบกลิ่นของสารผสมก่อนและหลังให้ความร้อนพบว่า สารในหลอดทดลอง มีกลิ่นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนแสดงว่า กรดเบนโซอิกซึ่งเป็นกรดคาร์บอกซิลิกสามารถเกิด ปฏิกิริยาเคมีกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์เมื่อให้ความร้อนได้ สรุปคือ กรดคาร์บอกซิลิกสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีกับแอลกอฮอล์ได้


1 ความคิดเห็น:

  1. สังเกตเห็นนักเรียนมีความสุขกับการทดลอง หลายคนมีแววเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ

    ตอบลบ