วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

ปฏิบัติการเรื่อง องค์ประกอบของสารละลาย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา

วันที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง องค์ประกอบของสารละลาย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1


จุดประสงค์ของการทดลอง

เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของสารละลายที่ประกอบด้วยตัวทำละลายเป็นของเหลว และตัวละลายเป็นของแข็ง

วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี

1. บีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. แท่งแก้วคนสาร

3. ตะเกียงแอลกอฮอล์ พร้อมที่กั้นลม

4. จานหลุมโลหะ

5. เครื่องชั่งสาร

6. โซเดียมคลอไรด์

7. น้ำตาลกลูโคส

8. กรดแอซีติก

9. น้ำกลั่น

วิธีการทดลอง

1. เตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ โดยชั่งโซเดียมคลอไรด์น้ำหนัก 5 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์

2. ใส่น้ำกลั่นจำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ในข้อ 1 แล้วใช้แท่งแก้วคนสารให้ละลายจนหมด

3. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1 - 2 โดยเปลี่ยนจากการเตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ เป็นเตรียมสารละลายน้ำตาลกลูโคส และสารละลายกรดแอซีติก

4. นำสารละลายทั้ง 3 ชนิด จำนวน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ในจานหลุมโลหะแต่ละหลุม

5. นำจานหลุมไปวางบนตะเกียงแอลกอฮอล์

6. รอจนของเหลวในแต่ละหลุมระเหยไปจนหมด สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง

อภิปรายผลกิจกรรม

จากกิจกรรม พบว่า เมื่อของเหลวในหลุมระเหยไปจนหมด จะเหลือตะกอนในหลุมเพียง 2 หลุม ได้แก่ หลุมที่บรจุสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และสารละลายน้ำตาลกลูโคส แสดงว่า สารละลายทั้ง 2 ชนิด มีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีของแข็ง (โซเดียมคลอไรด์และน้ำตาลกลูโคสเป็นตัวละลาย) เมื่อให้ความร้อนแก่สารละลายจึงทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอจนหมด จึงเหลือตะกอนของแข็งอยู่ในจานหลุม ส่วนหลุมที่บรรจุสารละลายกรดแอซีติกจะไม่เหลือตะกอน เนื่องจากมีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีกรดแอชีติกเป็นตัวละลาย ซึ่งเป็นสารระเหยง่ายทั้งคู่ เมื่อได้รับความร้อนจึงระเหยกลายเป็นไอจนหมด

ข้อมูลเพิ่มเติม https://web.facebook.com/100053982782188/videos/pcb.571002124709209/841252180588995

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีจังครับ ที่ห้อง Lab ได้ใช้ประโยชน์กับน้อง ๆ ม.ต้น ด้วย เป็นการใช้ที่คุ้มค่าคุ้มทุนมากครับ

    ตอบลบ