วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาการฟอกจางสีของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต

    
        เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 เวลา 13.30 - 14.45 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง 
ปฏิกิริยาการฟอกจางสีของสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต  ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP -YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน
วัตถุประสงค์

    1.ทดลองการเกิดปฏิกิริยาการฟอกจางสีสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตของ ไซโคลเฮกเซน ไซโคลเฮกซีน และเมทิลเบนซีน
   2.เปรียบเทียบการเกิดปฏิกิริยาการฟอกจางสีสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตของ ไซโคลเฮกเซน ไซโคลเฮกซีน และเมทิลเบนซีน

หลักการ

            แอลไคน์สามารถฟอกจางสสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตได้เช่นเดียวกับ แอลคีน แต่ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือคาร์บอกซิเลตและมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น เช่น ปฏิกิริยาระหว่าง pent-1-yne กับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตแสดงสมการเคมี ได้ดังนี้

    สำหรับแอลไคน์ที่พันธะสามอยู่ที่คาร์บอนตำ แหน่งที่ 2 เป็นต้นไป เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะได้ ผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบประเภทไดคีโทน เช่น ปฏิกิริยาระหว่าง hex-2-yne กับสารละลาย โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต แสดงสมการเคมีได้ ดังนี้


รูปภาพประกอบการทดลอง



















อภิปรายผลการทดลอง 
         ไซโคลเฮกซีนซึ่งเป็นแอลคีนทำ ให้สีของสารละลาย KMnO4 จางหายไปและมีตะกอนสีน้ำ ตาล เกิดขึ้น แสดงว่าแอลคีนเกิดปฏิกิริยาการฟอกจางสีกับสารละลาย KMnO4 ได้ ส่วนไซโคลเฮกเซน ซึ่งเป็นแอลเคนและเมทิลเบนซีนซึ่งเป็นแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน ไม่เปลี่ยนสีสารละลาย KMnO4 แสดงว่าแอลเคนและแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน ไม่เกิดปฏิกิริยาการฟอกจางสีกับ สารละลาย KMnO4









































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น