วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.20 – 11.00
น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนประทีปวิทยา นางสาวอาบีเดาะ เจะอามะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี
ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประทีปวิทยา
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารที่สามารถสังเกตได้
วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี
รายการ |
ปริมาณ/กลุ่ม |
1.
ที่ตั้งหลอดทดลอง |
1 อัน |
2.
หลอดทดลองขนาดกลาง |
7 หลอด |
3.
สารละลายเลด(II)ไนเตรต 0.1 mol/dm3 |
5 ml |
4.
สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.1 mol/dm3 |
5 ml |
5.
สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 mol/dm3 |
5 ml |
6.
แผ่นโลหะแมกนีเซียม ขนาดประมาณ 0.3×2.0 cm2 |
1 ชิ้น |
7.
สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3 mol/dm3 |
5 ml |
8.
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 mol/dm3 |
5 ml |
9.
สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง |
5 ml |
วิธีการทดลอง
1. นำสารละลายเลด(II)ไนเตรต ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล
2. นำแผ่นโลหะแมกนีเซียม ใส่ลงไปในหลอดทดลองที่บรรจุสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร เขย่าให้เข้ากันแล้วใช้มือจับบริเวณก้นหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล
4. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 3 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร
ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการเปลี่ยนแปลง
ให้กำลังใจคุณครู นักเรียน และผู้บริหารนะครับ ที่ใช้ประโยชน์จากห้องปฏิบัติการและสิ่งที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ส่งเสริมและพัฒนาให้เรียน SMP-YRU มาอย่างต่อเนื่อง
ตอบลบ