วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง ศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) จากปลายรากหอม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา

วันที่ 9 ธันวาคม 2562 เวลา 15.00  – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นางสาวซูไรดา กูวิง ครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง ศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) จากปลายรากหอม ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

การแบ่งเซลล์ (CELL DIVISION)
        การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ ในการแบ่งเซลล์นั้นจะมีขบวนการ 2 ขบวนการ เกิดสลับกันไป คือ การแบ่งตัวของนิวเคลียส (KARYOKINESIS) และการแบ่งตัวของไซโทพลาซึม (CYTOPLASM) โดยปกติเมื่อสิ้นสุดการแบ่งตัวของนิวเคลียสแล้ว ก็จะเริ่มการแบ่งตัวของไซโทพลาสซึมทันที การแบ่งตัวของนิวเคลียสมีอยู่ 2 แบบ คือ การแบ่งตัวแบบไมโทซิส และการแบ่งตัวแบบไมโอซิส
การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis)
1. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางชนิด ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจะเกิดขึ้นที่เซลล์ของร่างกาย (somatic cell) ทำให้จำนวนเซลล์ของร่างกายมีจำนวนมากขึ้น สิ่งมีชีวิตนั้นๆ จึงเจริญเติบโตขึ้น
          2. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบนี้นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลงโดยลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง เป็นการแบ่งเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เซลล์ร่างกายของคนมีโครโมโซมอยู่ 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ แต่ละคู่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน เรียกโครโมโซมที่เป็นคู่กันว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome) และเซลล์ที่มีโครโมโซมเข้าคู่กันได้เรียกว่า เซลล์ดิพลอยด์ (diploid cell) การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสนี้ นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลง 2 รอบ
รูปภาพจาก : https://uniquenessiam.wordpress.com/

วัตถุประสงค์
         1. สามารถระบุระยะต่าง ๆ ของเซลล์ที่กำลังแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้
          2. สามารถเตรียมสไลด์ เพื่อใช้ในการศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้

วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
          1. กล้องจุลทรรศน์                            7. ปากคีบ
          2. สีย้อม Acatocamine                     8. ใบมีดโกน
          3. HCl                                           9. กระดาษทิชชู
          4. น้ำกลั่น                                      10. หลอดหยด
          5. ปลายรากหอม                              11. กระจกนาฬิกา
          6. แผ่นสไลด์และกระจกปิดสไลด์            12. เข็มเขี่ย
ผลการทดลอง
ระยะโพรเฟส (Prpphase)
ระยะแอนนาเฟส (Anaphase)
ระยะเทโลเฟส (Telophase)

บรรยากาศการเรียนการสอน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น