วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการฟิสิกสื เรื่อง การสั่นพ้อง

         วันที่ 23 ธันวาคม  2562 เวลา 14.45-16.05 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การสั่นพ้อง โดยมีอาจารย์อสุรินทร์  มะเด็ง เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ


      ⇨การสั่นพ้อง (อังกฤษ: Resonance) จะสังเกตได้เมื่อวัตถุถูกกระทำด้วยแรงหรือสัญญาณที่มีความถี่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับความถี่ธรรมชาติของวัตถุ วัตถุนั้นจะสั่นด้วยความถี่นั้นและด้วยแอมปลิจูดที่ใหญ่แต่ถ้าเป็นคลื่นเสียงก็จะทำให้เสียงดังมากขึ้นจนอาจทำให้วัตถุนั้นเสียหายหรืออาจเกิดควารำคาญได้

การสั่นพ้องเกิดขึ้นได้ 2 แบบคือ

1. การสั่นพ้องด้วยแรง หมายถึง การสั่นพ้องที่เกิดขึ้นโดยการออกแรงกระทำกับวัตถุเป็นจังหวะที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุเป็นเวลานาน เมื่อลมพัดที่ความเร็วคงตัวค่าหนึ่งเป็นเวลานาน ซึ่งแรงลมพอดีกับความถี่ธรรมชาติจะทำให้เกิดการสั่นพ้อง แอมปลิจูดของการสั่นที่มากขึ้นทำให้วัตถุนั้นเสียหาย
2. การสั่นพ้องด้วยคลื่น หมายถึง การสั่นพ้องที่เกิดขึ้นโดยการส่งคลื่นที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุกระทบกับวัตถุเป็นเวลานาน
⇛การสั่นพ้องของเสียง
1. ความถี่ธรรมชาติ (natural frequency) วัตถุหรืออนุภาค จะมีความถี่ในการสั่นตามธรรมชาติเฉพาะตัวอย่างเป็นอิสระคงที่อยู่ค่าหนึ่ง เช่นลูกตุ้มที่แขวนด้วยเชือกยาว L อยู่ในบริเวณที่มีความเร่งจากความโน้มถ่วง g จะมีความถี่ตามธรรมชาติเท่ากับ มวล m ติดสปริงอันหนึ่ง:ซึ่งมีค่าคงที่สปริง k เมื่อถูกกระตุ้นให้สั่นก็จะมีความถี่ธรรมชาติ ซึ่งหาค่าความถี่ได้จากสมการ นอกจากลูกตุ้มแล้ววัตถุต่างๆ เช่นสะพานแขวน ชิงช้า สายไฟที่โยงอยู่บนเสาไฟฟ้า แม้แต่ตึกสูง สิ่งเหล่านี้ก็มีความถี่ธรรมชาติ สามารถที่สั่นไหวหรือแกว่งได้ด้วยค่าความถี่เฉพาะตัวค่าหนึ่ง
2. ความถี่ธรรมชาติของวัตถุแผ่นบาง แผ่นวัตถุบางที่อ่อนตัวและถูกขึงให้ตึงหรือตรึงขอบได้ เช่น แผ่นหน้ากลอง เมื่อทำให้สั่นจะสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติได้หลายค่า การศึกษาเกี่ยวกับความถี่ธรรมชาติของแผ่นวัตถุบางนี้มีประโยชน์มากในการออกแบบไดอะแฟรมของลำโพง
3. การเกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอดปลายเปิด หลอดปลายเปิด เป็นหลอดที่ปลายทั้งสองข้างเปิดสู่อากาศ คลื่นเสียงที่สะท้อนบริเวณปากหลอดทั้งสองข้าง โมเลกุลของอากาศเคลื่อนที่ได้โดยอิสระจะเป็นตำแหน่งปฏิบัพของคลื่น ดังนั้นถ้าท่อยาว L
4. การเกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอดปลายปิด'" หลอดปลายปิด เป็นหลอดที่ปลายข้างหนึ่งปิด ปลายอีกช้างหนึ่งเปิด เมื่อให้คลื่นเสียงเข้าทางปากหลอดด้านเปิด คลื่นเสียงจะเข้าไปสะท้อนที่ด้านปิดโดยมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา ดังนั้นที่ตำแหน่งผิวระนาบของด้านปิดจะเป็นตำแหน่งของบัพ ส่วนบริเวณปากหลอดด้านเปิด โมเลกุลของอากาศสั่นได้โดยอิสระจะเป็นตำแหน่งปฏิบัพของคลื่นนิ่งขณะเกิดการสั่นพ้อง ดังนั้นถ้าท่อยาว L
ภาพประกอบการทดลอง




จากการทดลอง นักเรียนสามารถวัดอัตราเร็วของเสียงในอากาศในท่อโดยวิธีกระตุ้นด้วยส้อมเสียงที่ทราบค่าความถี่ให้อากาศในท่อสั่นพ้องได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น