เมื่อวันที่ 8
ธันวาคม 2562 เวลา 15.00 –
16.20 น. และวันที่ 9 ธันวาคม 2562 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
นางสาวยารีย๊ะ บุงา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี
เรื่อง อินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ (Natural Indicators) ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3
อินดิเคเตอร์
(Indicator) คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนมีสมบัติเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อนแต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรดอ่อน
สมบัติของอินดิเคเตอร์
1. อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด
2. อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ให้สีแตกต่างกัน
3. สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง
อินดิเคเตอร์ที่พบในธรรมชาติ
นอกจากอินดิเคเตอร์กรด-เบส
ที่เป็นสารอินทรีย์แล้วในธรรมชาติยังมีสารหลายชนิดที่มีสมบัติเหมาะสมที่จะใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้
กล่าวคือ มีสีต่างกันที่ pH ต่างกันสารเหล่านี้พบในดอกไม้
ผลไม้ ผัก หรือรากไม้บางชนิด
วัตถุประสงค์ของการทดลอง
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเป็นอินดิเคเตอร์ของพืชแต่ละชนิดที่นำมาทดสอบ
2. เพื่อทดสอบค่า pH ของสารที่พบในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อสร้างอินดิเคเตอร์จากธรรมชาตินำมาใช้เอง
ในราคาถูก
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. เครื่องชั่ง 3
ตำแหน่ง 8. หลอดหยดสาร
2. บีกเกอร์ ขนาด 50,
100, 250 ml. 9. มีด
3. ขวดรูปชมพู 125 ml. 10. เขียง
4. โกร่งบด 11. น้ำกลั่น
5. กระบอกตวงขนาด 100
ml. 12. ตัวอย่างพืชที่นำมาทดลอง
6. กรวยกรอง 13. น้ำมะนาว
7. ผ้าขาวบาง 14. น้ำโซดา
ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน
จากกิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากนักเรียนได้พัฒนาองค์ความรู้
ได้ฝึกทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แล้ว นักเรียนยังได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ได้สร้างจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว ได้ประหยัดงบประมาณในการซื้ออินดิเคเตอร์ที่สามารถใช้ในการทดสอบความเป็นกรดเป็นเบสได้อีกด้วย
นับเป็นการพัฒนาผู้เรียนได้มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ในอนาคตต่อไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น