วันที่ 22 ธันวาคม 2562 เวลา 14.30 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวชัซวานี เปาะตองเซ็ง ครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา
ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Meiosis) จากอับเรณูดอกกุยช่าย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โดยมีนายอามัน
วีรภัทรษฎากร เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนคัมภีร์วิทยาและนางสาวมาซีเตาะห์ ปะดอแม เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
เป็นผู้ร่วมสอนในปฏิบัติการครั้งนี้
การแบ่งเซลล์
(CELL
DIVISION)
การเจริญเติบโต
และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์
ในการแบ่งเซลล์นั้นจะมีขบวนการ 2 ขบวนการ เกิดสลับกันไป คือ
การแบ่งตัวของนิวเคลียส (KARYOKINESIS) และการแบ่งตัวของไซโทพลาซึม
(CYTOPLASM) โดยปกติเมื่อสิ้นสุดการแบ่งตัวของนิวเคลียสแล้ว
ก็จะเริ่มการแบ่งตัวของไซโทพลาสซึมทันที การแบ่งตัวของนิวเคลียสมีอยู่ 2 แบบ คือ การแบ่งตัวแบบไมโทซิส และการแบ่งตัวแบบไมโอซิส
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์
ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต โดยพบในอัณฑะ (testes), รังไข่ (ovary), และเป็นการแบ่งเพื่อสร้างสปอร์ (spore)
ในพืช ซึ่งพบในอับละอองเรณู (pollen sac) และอับสปอร์
(sporangium) หรือโคน (cone) หรือในโอวุล
(ovule) มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่ง
ที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่ ในแต่ละสปีชีส์ ไม่ว่าจะเป็นโครโมโซม ในรุ่นพ่อ -
แม่ หรือรุ่นลูก – หลานก็ตาม
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสมี 2
ขั้นตอน คือ
ไมโอซิส I
(Meiosis - I) หรือ Reductional division ขั้นตอนนี้จะมีการแยก
homologous chromosome ออกจากกัน
ไมโอซิส II (Meiosis - II) หรือ Equational division ขั้นตอนนี้จะมีการแยกโครมาทิด
ออกจากกัน
เมื่อสิ้นสุดการแบ่งจะได้ 4
เซลล์ที่มีโครโมโซมเซลล์ละ n (Haploid) ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ตั้งต้น
และเซลล์ที่ได้เป็นผลลัพธ์ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน
![]() |
ดอกกุยช่าย |
วัตถุประสงค์
1. สามารถระบุระยะต่าง
ๆ ของเซลล์ที่กำลังแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้
2. สามารถเตรียมสไลด์
เพื่อใช้ในการศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. กล้องจุลทรรศน์ 7. ปากคีบ
2. สีย้อมจากข้าวเหนียวดำ 8. จานเพาะเชื้อ
3. HCl 9. กระดาษทิชชู
4. น้ำกลั่น 10. หลอดหยด
5. ดอกกุยช่าย 11. ตะเกียงแอลกอฮอล์
6. แผ่นสไลด์และกระจกปิดสไลด์ 12. แท่งแก้วคนสาร
ผลการทดลอง
![]() |
ระยะโพรเฟส ที่กำลังขยาย
100X
|
ระยะโพรเฟส ที่กำลังขยาย 40X
บรรยากาศการเรียนการสอน
จากผลการทดลองนักเรียนสามารถเตรียมสไลด์ตัวอย่างจากอับเรณูดอกกุยช่าย สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ และสามารถระบุระยะของเซลล์ที่พบที่กำลังแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น