จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองเพื่อหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทตรกรด-เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์บอกจุดยุติ
2. คำนวณความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง
การไทเทรตกรด-เบส (Acid-base titration)
การไทเทรตกรด-เบส หมายถึง กระบวนการหาปริมาณสาร โดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอนให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่างโดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาระหว่าสารละลายกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดีทำให้คำนวณหาความเข้มข้นหรือปริมาณของสารตัวอย่างดังกล่าวได้
วิธีการไทเทรตกรด-เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณมาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอนกล่าว คือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไปหรือทางตรงกันข้ามถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบสก็ต้องใช้สารละลามาตรฐานเป็นกรด
อินดิเคเตอร์กับการไทเทรตกรด-เบส
อินดิเคเตอร์กรด-เบส ที่เหมาะสมกับปฏิกิริยาการไทเทรตจะต้องมีค่า pH ที่จุดกึ่งกลางช่วงการเปลี่ยนสีใกล้เคียงหรือเท่ากับ pH ที่จุดสมมูลของปฏิกิริยา นอกจากนี้ การเลือกใช้อินดิเคเตอร์กรด-เบส ต้องพิจารณาสีที่ปรากฎจะต้องมีความเข้มมากพอที่จะมองเห็นได้ง่ายหรือเห็นการเปลี่ยนสีได้ชัดเจนช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ จะเกิดขึ้นในช่วง 2 หน่วย pH
1.อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
2.อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
3.อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน
กำหนดช่วง pH ของอินดิเคเตอร์ให้ดังนี้
-จุดยุติของอินดิเคเตอร์ 3 ชนิด
2. เมทิลเรด = เริ่มต้น สีแดง จุดยุติ สีเหลือง
ภาพประกอบการทดลอง
การไทเทตร
จากการทดลอง นักเรียนมีความเข้าใจในการเลือกใช้อินดิเคเตอร์มากขึ้นและสามารถคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น