วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเรื่อง ปฏิกิริยาการดูดความร้อนและการคายความร้อน

            วันที่ 23 ธันวาคม 2561 เวลา 11.05 - 14.20 น  ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง ปฏิกิริยาการดูดความร้อนและการคายความร้อน  โดยมีอาจารย์ วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ



           พลังงานเคมี (Chemical  energy ) เป็นพลังงานศักย์ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างของสาร เช่น อยู่ในรูปของนำ้มันเชื้อเพลิง ไขมันซึ่งเมือเกิดการเผาไหม้จะปล่อยพลังงานเคมีออกมาและนำมาใช้ประโยชน์ได้พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสำคัญกับสิ่งมีชีวิตมาในการเกิดปฏิกิริยาของสารแต่ละปฏิกิริยานั้น ต้องมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
         ขั้นที่ 1. เป็นขั้นที่ดูดพลังงานเข้าไปเพื่อสลายพันธะในสารตั้งต้น
         ขั้นที่ 2. เป็นขั้นที่คายพลังงานออกมาเมื่อมีการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์
         1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (Endothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะมากกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยในปฏิกิริยาดูดร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ จึงทำให้สิ่งแวดล้อมเย็นลง อุณหภูมิลดลง เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกเย็น

                            

    ตัวอย่าง การเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบคายความร้อน โดยการทดลองหยดกลีเซอรีนลงบนโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิมไว้สักครู่  จะทำให้เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนมีเปลวไฟลุกไหม้ขึ้น   
      ดังนี้

          2. ปฏิกิริยาคายความร้อน (Exothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะน้อยกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยในปฏิกิริยาคายความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าผลิตภัณฑ์จึงให้พลังงานความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อมทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกร้อน

                                                                     

ภาพประกอบการทดลอง







1 ความคิดเห็น: