วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

     

       เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม  2561 เวลา 09.20– 10.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง  ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน โดยมี อ.มูฮัมหมักซุกรี มาแจ  เป็นผู้สอน 
วัตถุประสงค์ของบทเรียน

  1.ทดลองและอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่พบทั่วไปได้
 2.อธิบายหลักการเลือกใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
 3.อธิบายและเขียนสมการเคมีจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้


      รอบๆตัวเราและในร่างกายเรามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาปฏิกิริยาเคมีเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารต่างๆ มีผลให้พลังงานของระบบเปลี่ยนไปและให้ผลิตภัณฑ์หรือสารใหม่เกิดขึ้นปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเกิดขึ้นเองแต่บางชนิดต้องได้รับพลังงานจำนวนหนึ่งก่อนจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้
  ปฏิกิริยาเคมีหลายชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรม เกษตรกรรมและทางการแพทย์ในขณะเดียวกันปฏิกิริยาบางชนิดก็ให้ผลลบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของมนุษย์เองปฏิกิริยาเคมีแต่ละชนิดมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 5 ประการ ได้แก่ ความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิ ตัวเร่งปฏิกิริยา และธรรมชาติของสาร ผลของปัจจัยดังกล่าวสามารถหาได้จากการทดลอง
   การที่มนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนและควบคุมปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้ ทำให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาได้อย่างกว้างขวาง สารต่างๆในโลก รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆล้วนแต่เป็นผลผลิตที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมีของสารที่มีอยู่บนพื้นโลกเกือบทั้งสิ้นเมื่อเราทราบวิธีการเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วเราก็สามารถนำความรู้มาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆและป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ไม่ต้องการกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาสภาพของสิ่งนั้นให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น
          ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน เช่น
  1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง
  2. ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก
  3. ปกกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจคาร์บอนเนตด้วยความร้อนให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ในการทำขนมปัง
  4. ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ใช้ฟอกสีผมและฆ่าเชื้อโรค
  5. ปฏิกิริยาในแบตเตอร์รี่ชนิดต่าง ๆ
  6. ปฏิกิริยาการสลายตัวของหินปูนด้วยความร้อน ได้ปูนขาวใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์
  7. ปฏกิริยาระหว่างปูนกับฝนกรด ทำให้สิ่งก่อสร้างด้วยหินปูนหรือหินอ่อนสึกกร่อน
  8. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
   ในการทดลองนักเรียนนำสารตั้งต้นที่แต่ละกลุ่มได้รับ มาทำปฏิกิริยากัน เพื่อให้ได้ได้สารตัวใหม่เกิดขึ้น เรียกกว่าสารผลิตภัณฑ์ โดยจะคำนึงถึงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน
เช่น  ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก 
สมการเคมี การเกิดสนิม 4Fe + 3O2 + 3H2O ----> 2Fe2O3.3H2O
เหล็ก + ออกซิเจน + น้ำ ----> เหล็กออกไซด์ (สนิมเหล็ก)

ปฏิกิริยาการสะเทิน 
ปฏิกิริยาการสะเทินเกิดจากการที่กรด เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว กรดซัลฟิวลิก และเบส เช่น เบกกิ้งโซดา สบู่ อะซีโตน เข้าทำปฏิกิริยากันได้พอดี เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เกลือและน้ำ ทั้งนี้เกลือที่ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์เสมอไป ขึ้นกับสารตั้งต้น ซึ่งอาจทำให้ได้เป็นเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งมีรสชาติเค็มเหมือนกันแต่อันตรายสำหรับผู้ป่วยโรคไตมากกว่าเกลือโซเดียมคลอไรด์สมการเคมีของปฏิกิริยาการสะเทิน
HCl + KOH ----> KCl + H2O
ไฮโดรเจนคลอไรด์ (กรด) + โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (เบส) ----> โพแทสเซียมคลอไรด์ (เกลือ) + น้ำ
ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือเบกกิ้งโซดา
     เวลาที่เราทำขนมประเภทเค้กหรือขนมปัง จำเป็นต้องมีเบกกิ้งโซดาหรือผงฟู (มีเบกกิ้งโซดาเป็นส่วนประกอบ) เป็นหนึ่งในส่วนผสม และ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เบกกิ้งโซดาซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอนเนตหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตจะเกิดปฏิกิริยาการสลายตัวและได้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งก๊าซนี้เองที่ทำให้ขนมฟูนุ่มน่ารับประทาน
สมการเคมีของปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือเบกกิ้งโซดา
NaHCO3 + heat ----> Na2CO3 + CO2 + H20
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (โซเดียมไบคาร์บอเนต) + ความร้อน ----> โซเดียมคาร์บอเนต

ปฎิกิริยาการสลายตัวของหินปูน
แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate, CaCO3) เป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ซึ่งรูปแบบที่พบมากคือ หินปูน การสลายตัวของหินปูนเกิดได้จากการสัมผัสกับความร้อน จะได้คาร์บอนไดออกไซด์และปูนขาวที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้หากหินปูนสัมผัสกับกรด เช่น ฝนกรด ก็จะเกิดการสลายตัวได้เป็นแคลเซียมซัลเฟต ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบของซีเมนต์หรือในทางเกษตรกรรมเป็นสารเคมีสำหรับปรับปรุงดินได้เนต + คาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ


นักเรียนจับคู่ภาพปฏิกิริยากับบัตรคำปฏิกิริยาในชีวิตประจำวัน
ภาพประกอบการทดลอง







     จากที่นักเรียนได้ทำกิจกรรม ทำให้ทราบและอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นจาการทดลองและปฏิกิริยาที่พบได้ทั้วไป ระบุผลิตภัณฑ์จากสารตั้งต้นที่กำหนดให้ได้  และสามารถนำเสนอ อภิปราย รวมทั้งเชือมโยงกับชีวิตประจำวันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น