เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00– 11.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางชีววิทยา เรื่อง การศึกษาโครงสร้างภายในใบ ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ โดยมีอาจารย์ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกส่วนประกอบของโครงสร้างภายในใบได้
2.เปรียบเทียบโครงสร้างภายในพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวได้
3.สามารถทำการทดลองและสรุปผลการทดลองได้
ใบพืชเป็นส่วนที่เจริญอยู่ข้างลำต้นมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์และอาจมีสารสีอื่นๆประกอบอยู่ด้วย เพื่อทำหน้าที่สร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและยังทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
โครงสร้างภายในของใบจากนอกสุดไปในสุด มีดังนี้
1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง บางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม
2. มีโซฟิลล์ เป็นเนื้อเยื่อระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิส แบ่งเป็น 2 ชั้น
2.1 แพลิเซดมีโซฟิลล์ มักอยู่ด้านบน ภายในมีคลอโรพลาสต์มาก
2.2 สปันจีมีโซฟิลล์ อยู่ถัดลงมาด้านล่างมีคลอโรพลาสต์น้อยกว่าชันบน
3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอม เรียงติดกันที่เส้นใบ บางชนิดล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท
วัสดุอุปกรณ์
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดเชิงประกอบ
2. ใบมีดโกน เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ หลอดหยด
3. ตัวอย่างใบพืช พืชใบเลี้ยงเดี่ยว : หญ้า ว่านสีทิศ หมาก เป็นต้น
พืชใบเลี้ยงคู่ : หมอน้อย บานไม่รู้โรย เป็นต้น
![]() |
โครงสร้างภายในใบ ของพืชใบเลี้ยงคู่ที่กำลังขยาย 100x |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น