วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี

   

  เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม  2561 เวลา 13.20– 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฎิบัติการ

วัตถุประสงค์การทดลอง
1. บอกวิธีการสังเกตการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารบางชนิดได้
2. ยกตัวอย่าง และเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาบางชนิดที่พบในชีวิตประจำวันได้
3. ทำการทดลองรวบรวมข้อมูล แปลความหมายขัอมูล และสรุปผลการทดลองได้

การเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ กระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสาร ใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ซึ่งสารผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติทางเคมีที่เปลี่ยนไปจากเดิม
    สารตั้งต้น + สารตั้งต้น → ผลิตภัณฑ์
   หลังจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีอะตอมทั้งหมดของสารตั้งต้นไม่มีการสูญหายไปไหนแต่เกิดการแลกเปลี่ยนจากสารหนึ่งไปสู่อีกสารหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากผลรวมของอะตอมของสารตั้งต้นจะเท่ากับผลรวมของอะตอมของผลิตภัณฑ์
ข้อสังเกตการเกิดปฏิกิริยา
สารใหม่ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาเคมี สังเกตได้ดังนี้
1. สี เช่น สารเดิมไม่มีสีเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี จะมีสีใหม่เกิดขึ้น (สารใหม่)
2. กลิ่น เช่น เกิดกลิ่นฉุน กลิ่นเหม็น กลิ่นหอม
3. ตะกอน เช่น สารละลายเลด (II) ไนเตรต และโพแทสเซียมไอโอไดด์ เป็นของเหลวใส ไม่มีสี เมื่อผสมกันแล้วเกิดตะกอนสีเหลือง
4. ฟองแก๊ส เช่น กรดไฮโดรคลอริก ผสมกับหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดฟองแก๊สขึ้น
5. เกิดการระเบิด หรือเกิดประกายไฟ เช่น ใส่โลหะโซเดียมลงในน้ำจะเกิดประกายไฟขึ้น
6. มีอุณหภูมิเปลี่ยน ซึ่งสารโดยทั่วไปเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเกิดการเปลี่ยนแปลง พลังงาน ความร้อนควบคู่ไปด้วยเสมอ
    การทดลองในครั้งนี้ได้ให้นักเรียนทดลองและสังเกตการเกิดปฏิิกิริยาเคมี 4 ปฏิกิริยาด้วยกัน
  1.  ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดไฮโดรคลอริก + ด่างทับทิม
  2. ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดไฮโดรคลอริก + สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
  3. ปฏิกิริยาระหว่างกรดอะซีติก + สารละลายไฮโดรเจนคาร์บอเนต
  4. ปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียม + สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 

ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดไฮโดรคลอริก + ด่างทับทิม  พบว่าสีม่วงของด่างทับทิมหายไป
ปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียม + สารละลายกรดไฮโดรคลอริก  เกิดฟองแก็สมากและเร็ว

ภาพประกอบการทดลอง
    จากการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเข้าใจ ทราบปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถสังเกต อธิบาย สรุปผลการทดลอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น