วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ศึกษาการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค


🔽เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 10.30 - 11.10 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ โดยนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  นำเสนอและทำการทดลอง เรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค ซึ่งมีอาจารย์รอฎียะ หวันมามะ เป็นอาจารย์ประจำวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการให้กับนักเรียน






🔽รอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Covergent plate boundary) เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นธรณีปะทะกันซึ่งเรียกว่า "เขตมุดตัว" (Subduction zone) ซึ่งมักจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในระดับลึก เนื่องจากแผ่นธรณีด้านหนึ่งมุดตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีแล้วหลอมละลาย หากแนวปะทะเกิดขึ้นใต้มหาสมุทร น้ำทะเลในบริเวณโดยรอบจะเคลื่อนที่จมเข้าหากันแล้วสะท้อนกลับ ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ  รอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากันมี 3 รูปแบบคือ แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป และแผ่นธรณีทวีปชนกัน 




🔽จากการนำเสนอและทำการทดลองของนักเรียน ทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการของการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคได้ดียิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น