วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการไทเทรตหาจุดยุติของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่

       

           เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 13.20 - 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี  เรื่องการไทเทรตหาจุดยุติของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีอาจารย์อุมีกัลซง จะปะกียา เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

จุดประสงค์          
          1. เพื่อศึกษาคุณสมบัติของอินดิเคเตอร์ที่ต่างชนิดกันในการหาจุดยุติจากการไทเทรตของกรดเบส
          2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสีของอินดิเคเตอร์ในช่วงค่า pH ที่ต่างกัน
          3. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเลือกใช้อินดิเคเตอร์ให้เหมาะสมกับการทดลอง

กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

     

       เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม  2561 เวลา 09.20– 10.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง  ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน โดยมี อ.มูฮัมหมักซุกรี มาแจ  เป็นผู้สอน 
วัตถุประสงค์ของบทเรียน

  1.ทดลองและอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่พบทั่วไปได้
 2.อธิบายหลักการเลือกใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
 3.อธิบายและเขียนสมการเคมีจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการทดลอง เรื่องการย่อยแป้ง


เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีการใช้งานเพื่อทดลอง เรื่อง การย่อยแป้ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นิฮามูนี นิกาจิ เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ

ศึกษาแบบจำลอง DNA

   เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 08.30– 09.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 smp เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง สารพันธุกรรม  โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอน

                    ภาพที่ 1  แบบจำลอง DNA                                  ภาพที่ 2.  สายพอลีนิวคลีโอไทด์                             
                                 

วัตถุประสงค์การทดลอง
      
        1. อธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA 
        2. สร้างแบบจำลอง DNA จากวัสดุต่างๆ

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

นักเรียนในโครงการ SMP เข้าร่วมงาน Betong Halal Intenational Fair 2018 (BHIF 2018)


นักเรียนในโครงการ SMP เข้าร่วมงาน Betong Halal Intenational Fair 2018 (BHIF 2018)
มหกรรมฮาลาลนานาชาติเบตง 
2018

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ณ ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ร่วมกับนักเรียนในชั้นมัธยมปลายโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา จำนวน 200 คน เข้าร่วมงาน “Betong Halal International Fair (BHIF 2018)มหกรรมฮาลาลนานาชาติเบตง 2018 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2561 จัดขึ้นโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา หน่วยงานราชการและภาคเอกชน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการทั้งไทยและมาเลเซีย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และคณะกรรมการประจำมัสยิด บุคลากรหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักเรียน/นักศึกษา เยาวชน ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย เข้าร่วมงานนี้

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการทดสอบสมบัติบางประการของสารละลาย และการวัด pH ของสารละลายเกลือโดยใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์


                     

             เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี  เรื่องการทดสอบสมบัติบางประการของสารละลาย และการวัด pH ของสารละลายเกลือโดยใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีอาจารย์อุมีกัลซง จะปะกียา เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

การทดสอบสมบัติบางประการของสารละลาย

วัตถุประสงค์
1. ทำการทดลองเพื่อศึกษาสมบัติบางประการของสารละลายได้
2. เปรียบเทียบสมบัติและระบุประเภทของสารละลายอิเล็กโทรไลต์กับสารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ได้

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท

     
        
        ระหว่างวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมกานเฉ่า ชั้น 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และครูประจำโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท ส่งเสริมครูและนักเรียน ด้านการแข่งขันเอแม็ทในงานวิชาการต่างๆ การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายปิยะวัฒน์ รักราวี ครูประจำโรงเรียนกันตังพิทยากร เป็นวิทยากร ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท

        เอแม็ท เป็นเกมกีฬาพัฒนาสมองการคิดคำนวณเป็นเกมต่อสมการทางคณิตศาสตร์ ทักษะของการเล่นคือ การต่อตัวเลขตามหลักการคำนวณคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณหาร ลงบนช่องตารางให้เกิดผลดีที่สุด เมื่อจบการแข่งขันผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ คะแนนจะเกิดจากค่าประจำตัวเบี้ยแต่ละตัวในการลงเล่นแต่ละครั้งรวมกับช่องตารางต่างๆ ที่มีค่าแตกต่างกันไป ผู้เล่นอาจจะเล่นแบบฝ่ายละ 1 คน หรือจับคู่เป็นทีมแข่งกันก็ได้

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการทดสอบสารละลายกรดและสารละลายเบสในชีวิตประจำวัน





       เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 - 16.00 น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 SMP ณ ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ในรายวิชาเคมี ปฏิบัติการเรื่องทดสอบสารละลายกรดและสารละลายเบสในชีวิตประจำวัน  โดยมีอาจารย์รุสนี สาแม เป็นผู้สอนและอธิบายการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แลปปฏิบัติการเรื่องการศึกษาโครงสร้างของพืชดอก



   เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้การเรียนการสอนปฏิบัติการในเรื่องการศึกษาโครงสร้างของพืชดอก โดยมีอาจารย์แวรอกีเยาะ บาแน็ง เป็นครูประจำชั้น และอธิบายการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์

ปฏิบัติการเรื่องปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน และเซลล์ไฟฟ้าเคมี

     เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.45 - 11. 55 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 SMP ปฏิบัติการเรื่องปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน และเซลล์ไฟฟ้าเคมี โดยอาจารย์อาตีกะ อาแด เป็นอาจารย์ผู้สอน และจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์



   

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบสารอาหารแป้ง น้ำตาล และโปรตีน

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบสารอาหารแป้ง น้ำตาล และโปรตีน 

         เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.50 - 12.00 น. และเวลา 13.15 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ได้ทำการทดลองปฏิบัติการเรื่อง การทดสอบสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และโปรตีน โดยมีครูผู้สอนประจำวิชา วิทยาศาสตร์ นางสาวซูไรดา กูวิง และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการทดลองในครั้งนี้ 
การทดลองในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อทดลอง และอธิบายวิธีการและผลการทดสอบแป้ง น้ำตาล และโปรตีน

การทดลองแรงเสียดทาน

     เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.00– 11.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง แรงเสียดทาน  โดยมี อ.นูรีดา กะลูแป อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ


วัตถุประสงค์การทดลอง
1.เพื่อศึกษาแรงต่างๆ ที่กระทำบนผิวสัมผัสของวัตถุ
2.เพื่อหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ

นักเรียน SMP ลงพื้นที่บริการวิชาการให้แก่ชุมชน ในงานอำเภอเคลื่อนที่ ณ มัสยิดบ้านเตี๊ยะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา


เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 – 12.00 น. ตัวแทนนักเรียน SMP และคณะครู โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีโอกาสลงพื้นที่บริการวิชาการในงานอำเภอ(บันนังสตา)เคลื่อนที่ ณ มัสยิดบ้านเตี๊ยะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยมีนายธราวุธ ช่วยเกิด นายอำเภอบันนังสตาเป็นประธานในพิธี และมีประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้มีหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมจัดบริการ อาทิเช่น หน่วยงานสาธารณสุข เข้าบริการด้านสุขภาพ หน่วยทหารกองทัพบก ให้บริการอาหาร วิทยาลัยสารพัดช่างบันนังสตาสอนการทำขนมพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งทาง ซึ่งในวันนี้ตัวแทนนักเรียน SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้สาธิตการทำสบู่สมุนไพร และมีการแจก EM ปุ๋ยหมักชีวภาพซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของนักเรียนแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงานสามารถนำกลับไปใช้ในการเกษตรและครัวเรือนได้ ตลอดจนมีการนำผลงานนักเรียน อาทิเช่น กระถางจากต้นไม้จากชานอ้อย มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้เยี่ยมชมและเห็นประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นต้น

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การศึกษาปฏิกิริยาเคมี

มื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.30– 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การศึกษาปฏิกิริยาเคมี โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย


วัตถุประสงค์การทดลอง
1.นักเรียนสมารถอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้
2.สามารถเขียนสมการเคมีที่เกิดขึ้นได้

กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนประทีปวิทยา



⏩เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.30 น. - 15.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดกิจกรรมแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เข้าสู่โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (Science Mathematics Program : SMP) ให้กับ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสและทางเลือกในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การศึกษาองค์ประกอบของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

   เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.00 – 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 33 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาองค์ประกอบของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอก โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย
ภาพที่ 1 สาหร่ายหางกระรอก
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชได้
2. สามารถเตรียมสไลด์สด เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเซลล์ได้

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการทดลองเรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีการใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนรายปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์กอรีเย๊าะ  มะนาฮา เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่ 1/2561



        วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561   ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่ 1/2561 โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าโครงการ SMP ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

        การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 อาทิ เช่น กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสนับสนุนวัสดุการศึกษาให้แก่นักเรียนโครงการ SMP ที่มีความสนใจเรียนคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ชี้แจงรูปแบบการจัดกิจกรรม กำหนดวันในปฏิทินการดำเนินกิจกรรมของโครงการ SMP ประจำปี พ.ศ. 2562 ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะของโรงเรียนเครือข่าย เพื่อให้โครงการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่โครงการวางไว้

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร


ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.40 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้มีการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โดยมีนางสาวมาเรียม สาแลแม เป็นครูผู้สอนปฏิบัติการในครั้งนี้

เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต

        เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำการทดลองภาคปฏิบัติรายวิชา เคมี เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต โดยมี อาจารย์ วนิดา  เหาะแอ เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี


         คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrates )  เป็นการที่ให้พลังงานและเป็นพลังงานสะสมในร่างกายอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ สารชนิดอื่น เช่น จำพวกสเตอรอยด์ คาร์โบไฮเดรตที่พบในกระแสโลหิต ได้แก่ กลูโคส กาแลคโตส ฟรุกโตส และเพนโตส แต่เนื่องจาก นำ้ตาลกลูโคสมีอยู่ในโลหิตมากกว่าชนิดอื่นๆ เมื่อกล่าวถึงนำ้ตาลในเลือด จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึง กลูโคสในเลือด เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน

คณะวิทย์ มรย.แนะแนวหลักสูตร แนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ทีมงานคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีคณะอาจารย์จากหลักสูตรต่าง ๆ และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ได้ลงพื้นที่แนะแนวหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในหลักสูตรต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น หลักสูตรฟิสิกส์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการธุรกิจสุขภาพ เกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

     
        ระหว่างวันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้กำหนดจัดสอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561ณ โรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนในแต่ละภาคการเรียน ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รายวิชาที่ใช้ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ประกอบด้วย วิชาฟิสิกส์ วิชาชีววิทยา วิชาเคมี วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น


        วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 2 (05-108) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประธานหลักสูตร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เพื่อวางแผนรูปแบบกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2561 และวางเงื่อนไขเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับการสนับสนุนวัสดุการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธี แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา


เมื่อวันที่  6 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.20 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 27 คน ได้มาใช้บริการจัดการเรียนการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ โดยมีอาจารย์ชัซวานี  เปาะตองเซ็ง เป็นผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้วิชา WBI บูรณาการกับการผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) โครงการ SMP

ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
   โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง  โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
 

 

 

 

   สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
   หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26  คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช โดยมี อาจารย์อับดุลเลาะ ลีลาตานา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลป


วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

พิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


        วันที่ 17 ตุลาคม 2561 ณ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) โดยมี นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นายอับดุลฟัตตะห์ ดอมอลอ สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอบันนังสตา พร้อมด้วยคณะ ผู้ปกครอง ชาวบ้านในชุมชนอำเภอบันนังสตา เข้าร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ด้วย

        โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ประจำโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดยะลา อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือข่าย ทั้งหมด 9 โรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มีการขยายโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา โรงเรียนประทีปวิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนานักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อรองรับอาชีพและการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งการเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับโรงเรียนคัมภีร์วิทยา โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 และโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเยาวชน และชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนในเมือง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู้

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเรื่อง การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer


เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้เรียนแลปปฏิบัติการเสริมช่วงปิดภาคเรียน โดยมีทีมงานนักวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP มาร่วมให้ความรู้และช่วยสอนแลปปฏิบัติการเรื่อง การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer ซึ่งจากกการทดลองในวันนี้นักเรียนให้ความสนใจ มีความตั้งใจในทดลอง ทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการทดลองได้ นักเรียนสามารถสกัดพืชและวัดค่าดูดกลืนแสงโดยใช้ เครื่อง Spectrophotometer และสามารถเปรียบเทียบ ความสามารถในการดูดกลื่นแสงของสารสีชนิดต่างๆได้


วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การไทเทรตกรด-เบส

   

    วันที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 09.20 - 10.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองเรื่อง  การไทเทรตกรด-เบส โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะ เป็นผุ้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ
   วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกความหมายของการไทเทรต สารละลายมาตรฐานและจุดสมมูลได้
2.ทำการไทเทรตเพื่อหาจุดสมมูลได้
3.คำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่างโดยใช้ข้อมูลจาการไทเทรตได้

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑


        วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น ๖ อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประธานหลักสูตรสาขาต่างๆในคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ รายงานผลการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปี พ.ศ.2561 ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สรรหาคณะกรรมการและวิธีคัดเลือกการสนับสนุนวัสดุการศึกษาให้แก่นักศึกคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากหน่ยวงานดำเนินงานโครงการ SMP ชี้แจงงบประมาณสนับสนุนให้หลักสูตรดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการให้แก่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 9 โรงเรียน ชี้แจง(ร่าง)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ SMP รายงานแผ่น(ร่าง)ปฏิทินการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปี พ.ศ. 2562 เรื่องเสนอให้ทราบ ประกอบด้วย หน้าที่และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ SMP ผลสอบนักเรียนโครงการ SMP ประจำปีการศึกษา 2561 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ประกอบด้วย การเพิ่มจำนวนโรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พิจารณากิจกรรมโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2563 และเรื่องอื่นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาวิธีการผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ

   วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 11.00 - 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาวิธีการผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป็นผุ้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ

กระบวนการกลั่นลำดับส่วน

วัตถุประสงค์การทดลอง

1.การศึกษาวิธีการผลิตพลังงานทดแทนโดยวิธีการกลั่นลำดับส่วน

2.นักเรียนสามารถอธิบายหลักการกลั่นลำดับส่วนได้

3.ศึกษาการผลิตแอลกอฮอล์จากกระบวนการทางธรรมชาติโดยการหมัก





ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง ศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน

วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 10.00 - 10.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบ

วัตถุประสงค์การทดลอง
1.สามารถอธิบายทิศทางการเคลื่อนทีของไส้เดือนดิน
2.เพื่อทราบโครงสร้างและอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปฎิบัติการเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุล และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

                  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุลและสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยมีอาจารย์เอกมาลย์ สาแลแม เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการทำการทดลองกับนักเรียน ซึ่งการทดลองนี้เป็นการทดลองที่ทางโครงการ SMP เคยจัดการอบรมให้กับคุณครูทางโรงเรียนเครือข่ายแล้วในกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลายและทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิก็ได้มาจัดการทดลองให้กับนักเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในการเรียนของนักเรียน

                  สารชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตนำไปใช้ในกระบวนการดำรงชีวิตสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก คือ คาโบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก โปรตีน และลิพิด สารทั้ง 4 กลุ่มนี้มีโครงสร้าง สมบัติ และการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จะเป็นการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ 

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การศึกษารูปร่างลักษณะทั่วไปของละอองเรณู

วันที่ 3 ตุลาคม 2561 เวลา 10.00 - 11.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษารูปร่างและลักษณะทั่วไปของละอองเรณู โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป็นผู้สอน

นักเรียนในโครงการ SMP เข้าร่วมค่ายพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

    เมื่อวันที่ 28 - 30 กันยายน 2561 ตัวแทนนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสมบุรณ์ศาสน์ได้เข้าร่วมค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชื้นงาน 3 มิติ ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา


   เป็นกิจกรรมค่ายที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสทางการศึกษาต่ออุดมศึกษาในอนาคต ในโควต้าพิเศษ

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อัตราส่วนตรีโกณมิติ

           เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561 เวลา 11.05 -12.10 น ณ.สนามบาสเกตบอล โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยาได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยมีอาจารย์ตอเละ  ยูโซะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน