วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง ศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน

วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 10.00 - 10.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบ

วัตถุประสงค์การทดลอง
1.สามารถอธิบายทิศทางการเคลื่อนทีของไส้เดือนดิน
2.เพื่อทราบโครงสร้างและอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่


การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน ( Earth worm)

ไส้เดือนดินมีกล้ามเนื้อ 2 ชุดคือ กล้ามเนื้อวงรอบตัว ( circular muscle) อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านใน นอกจากนี้ไส้เดือนดินยังใช้เดือย (setae) ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยื่นออกจากผนังลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย 


ขณะที่ไส้เดือนดินเคลื่อนที่จะใช้เดือยจิกไว้ และกล้ามเนื้อวง หดตัวส่วนกล้ามเนื้อตามยาวจะคลายตัว ทำให้ลำตัวยืดยาวออก เมื่อสุดแล้ว ส่วนหน้า คือปล้องแรกของไส้เดือนดินกับเดือยจะจิกดินแล้วกล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ดึงส่วนท้ายของลำตัวให้เคลื่อนที่มาข้างหน้า การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน เกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวง และกล้ามเนื้อตามยาว หดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลังทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้า

การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน

ภาพประกอบการทดลอง





  จากการทดลองนักเรียนสามารถอธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินและอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ รวมถึงประโยชน์ของไส้เดือนดินต่อระบบนิเวศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น