วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ บริการการวิชาการ ให้โรงเรียนบ้านบายอ
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 คณะครูวิทยาศาสตร์และนักเรียนโรงเรียนบ้านบ้านยอ ซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง ได้ขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนโดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
กิจกรรมบริการวิชาการ และแนะแนวหลักสูตรจุลชีววิทยา
กิจกรรมบริการวิชาการ และแนะแนวหลักสูตรจุลชีววิทยา
แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยาวิทยา ทางหลักสูตรจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย อาจารย์ซูไบด๊ะ หะยีวาเงาะ ประธานหลักสูตร และอาจารย์คอสียาห์ สาลี อาจารย์ประจำหลักสูตร
พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาจุลชีววิทยาชั้นปีที่ 3 จัดกิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อและฝึกปฏิบัติทางจุลชีววิทยาเบื้องต้น
ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การปฏิบัติการทดลองทางจุลชีววิทยา
ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแนะแนวการศึกษาต่อด้านศาสตร์ทางจุลชีววิทยา
กิจกรรมแนะแนวหลักสูตร และการทำปฏิบัติการด้านจุลชีีววิทยา
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30– 16.00 น. ณห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา หลักสูตรจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย อ.นุรอัยนี หะยียูโซะ อ.พูรกอนนี สาและ พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษาสาขาจุลชีววิทยาได้ลงพืี้นที่ประชาสัมพันธ์แนะแนวหลักสูตรจุลชีววิทยาและสอนเทคนิคการทำปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา
ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และกิจกรรมทดลองทางด้านจุลชีววิทยา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 11.00 – 13.00 น. ณ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ทางหลักสูตรวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาจุลชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดยอาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ
อาจารย์พูรกอนนี สาและ และตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรจุลชีววิทยาเข้ามาประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมการทดลองทางด้านจุลชีววิทยา
ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
แนวทางการดำเนินงานโครงการ SMP และกรอบงบประมาณประจำปี พ.ศ.2563
การดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science & Mathematics Program: SMP) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (รับผิดชอบจังหวัดยะลา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (รับผิดชอบจังหวัดปัตตานี) และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (รับผิดชอบจังหวัดนราธิวาส) เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง ร่วมกันพัฒนาแบบบูรณาการทั้งกับโรงเรียนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน
ในปีการศึกษา 2562 หรืองบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ จะมีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้นจำนวน 240 คน และจะสอบเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จชต. และนอกพื้นที่ โดยตามเป้าหมายโครงการกำหนดตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลสำเร็จของโครงการ จะได้เสนอในโอกาสต่อไป
สำหรับการดำเนินงานโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ มีการประชุมการพิจารณากรอบการของบประมาณเมื่อวันที่ 29-30 พ.ย. และ วันที่ 3-4 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร โดยมหาวิทยาลัยเครือข่ายในพื้นที่ จชต. นำได้เสนอของบประมาณสนับสนุนโครงการ SMP ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เสนอเพิ่มโรงเรียนใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยได้เสนอกรอบโครงการและกิจกรรมสำคัญแก่คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณางบประมาณ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุตรหลานของพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นการสร้างโอกาส ลดความเหลี่อมล้ำทางการศึกษา เป็นการพัฒนากำลังทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างความมั่นคงด้วยการศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาโครงการสำคัญ ๆ ในพื้นที่ จชต. ต่อไป ความคืบหน้าจะได้มีโอกาสนำมาเล่าต่อไป
โครงการ SMP ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินตามแนวทางการจัดสรรงบประมาณของ "แผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญเครือข่าย โดยพัฒนาห้องปฏิบัติการ จัดหาครุภัณฑ์และวัสดุ พัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน ในระดับ ม.4-6 โดยเริ่มรับนักเรียน ม.4 รุ่นแรกมาตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2559 โดยมีโรงเรียนร่วมโครงการรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2559 ทั้งหมด 6 โรงเรียน และรุ่นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2561 อีกจำนวน 3 โรงเรียน รวมทั้งหมด 9 โรงเรียน
ในปีการศึกษา 2562 หรืองบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ จะมีนักเรียน ม.6 รุ่นแรกสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้นจำนวน 240 คน และจะสอบเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จชต. และนอกพื้นที่ โดยตามเป้าหมายโครงการกำหนดตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลสำเร็จของโครงการ จะได้เสนอในโอกาสต่อไป
สำหรับการดำเนินงานโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ มีการประชุมการพิจารณากรอบการของบประมาณเมื่อวันที่ 29-30 พ.ย. และ วันที่ 3-4 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร โดยมหาวิทยาลัยเครือข่ายในพื้นที่ จชต. นำได้เสนอของบประมาณสนับสนุนโครงการ SMP ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เสนอเพิ่มโรงเรียนใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยได้เสนอกรอบโครงการและกิจกรรมสำคัญแก่คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณางบประมาณ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุตรหลานของพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นการสร้างโอกาส ลดความเหลี่อมล้ำทางการศึกษา เป็นการพัฒนากำลังทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างความมั่นคงด้วยการศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาโครงการสำคัญ ๆ ในพื้นที่ จชต. ต่อไป ความคืบหน้าจะได้มีโอกาสนำมาเล่าต่อไป
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการเคมี เรื่องการไทเทรตหาจุดยุติของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 13.20 - 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่องการไทเทรตหาจุดยุติของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีอาจารย์อุมีกัลซง จะปะกียา เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาคุณสมบัติของอินดิเคเตอร์ที่ต่างชนิดกันในการหาจุดยุติจากการไทเทรตของกรดเบส
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสีของอินดิเคเตอร์ในช่วงค่า pH ที่ต่างกัน
3. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเลือกใช้อินดิเคเตอร์ให้เหมาะสมกับการทดลอง
กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 09.20– 10.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน โดยมี อ.มูฮัมหมักซุกรี มาแจ เป็นผู้สอน
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
1.ทดลองและอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่พบทั่วไปได้
2.อธิบายหลักการเลือกใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
3.อธิบายและเขียนสมการเคมีจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการทดลอง เรื่องการย่อยแป้ง
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561
เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีการใช้งานเพื่อทดลอง เรื่อง การย่อยแป้ง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นิฮามูนี
นิกาจิ เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
ศึกษาแบบจำลอง DNA
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 08.30– 09.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 smp เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง สารพันธุกรรม โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอน
ภาพที่ 1 แบบจำลอง DNA ภาพที่ 2. สายพอลีนิวคลีโอไทด์
วัตถุประสงค์การทดลอง
1. อธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA
2. สร้างแบบจำลอง DNA จากวัสดุต่างๆ
|
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561
นักเรียนในโครงการ SMP เข้าร่วมงาน Betong Halal Intenational Fair 2018 (BHIF 2018)
นักเรียนในโครงการ
SMP
เข้าร่วมงาน Betong Halal Intenational Fair 2018 (BHIF 2018)
มหกรรมฮาลาลนานาชาติเบตง 2018
มหกรรมฮาลาลนานาชาติเบตง
เมื่อวันที่ 1
ธันวาคม 2561 ณ ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นักเรียนในโครงการ
SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6
ร่วมกับนักเรียนในชั้นมัธยมปลายโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา จำนวน 200 คน เข้าร่วมงาน “Betong
Halal International Fair (BHIF 2018)” มหกรรมฮาลาลนานาชาติเบตง
2018 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2561
จัดขึ้นโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับ
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา
หน่วยงานราชการและภาคเอกชน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการทั้งไทยและมาเลเซีย
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น
และคณะกรรมการประจำมัสยิด บุคลากรหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักเรียน/นักศึกษา เยาวชน
ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย เข้าร่วมงานนี้
ปฏิบัติการเคมี เรื่องการทดสอบสมบัติบางประการของสารละลาย และการวัด pH ของสารละลายเกลือโดยใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่องการทดสอบสมบัติบางประการของสารละลาย และการวัด pH ของสารละลายเกลือโดยใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีอาจารย์อุมีกัลซง จะปะกียา เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน
การทดสอบสมบัติบางประการของสารละลาย
วัตถุประสงค์
1. ทำการทดลองเพื่อศึกษาสมบัติบางประการของสารละลายได้
2. เปรียบเทียบสมบัติและระบุประเภทของสารละลายอิเล็กโทรไลต์กับสารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ได้
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท
ระหว่างวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมกานเฉ่า ชั้น 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดยะลา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และครูประจำโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท ส่งเสริมครูและนักเรียน ด้านการแข่งขันเอแม็ทในงานวิชาการต่างๆ การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายปิยะวัฒน์ รักราวี ครูประจำโรงเรียนกันตังพิทยากร เป็นวิทยากร ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการจัดการแข่งขันเอแม็ท
เอแม็ท เป็นเกมกีฬาพัฒนาสมองการคิดคำนวณเป็นเกมต่อสมการทางคณิตศาสตร์ ทักษะของการเล่นคือ การต่อตัวเลขตามหลักการคำนวณคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณหาร ลงบนช่องตารางให้เกิดผลดีที่สุด เมื่อจบการแข่งขันผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ คะแนนจะเกิดจากค่าประจำตัวเบี้ยแต่ละตัวในการลงเล่นแต่ละครั้งรวมกับช่องตารางต่างๆ ที่มีค่าแตกต่างกันไป ผู้เล่นอาจจะเล่นแบบฝ่ายละ 1 คน หรือจับคู่เป็นทีมแข่งกันก็ได้
เอแม็ท เป็นเกมกีฬาพัฒนาสมองการคิดคำนวณเป็นเกมต่อสมการทางคณิตศาสตร์ ทักษะของการเล่นคือ การต่อตัวเลขตามหลักการคำนวณคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณหาร ลงบนช่องตารางให้เกิดผลดีที่สุด เมื่อจบการแข่งขันผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ คะแนนจะเกิดจากค่าประจำตัวเบี้ยแต่ละตัวในการลงเล่นแต่ละครั้งรวมกับช่องตารางต่างๆ ที่มีค่าแตกต่างกันไป ผู้เล่นอาจจะเล่นแบบฝ่ายละ 1 คน หรือจับคู่เป็นทีมแข่งกันก็ได้
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการทดสอบสารละลายกรดและสารละลายเบสในชีวิตประจำวัน
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 - 16.00 น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 SMP ณ ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ในรายวิชาเคมี ปฏิบัติการเรื่องทดสอบสารละลายกรดและสารละลายเบสในชีวิตประจำวัน โดยมีอาจารย์รุสนี สาแม เป็นผู้สอนและอธิบายการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
แลปปฏิบัติการเรื่องการศึกษาโครงสร้างของพืชดอก
ปฏิบัติการเรื่องปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน และเซลล์ไฟฟ้าเคมี
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.45 - 11. 55 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 SMP ปฏิบัติการเรื่องปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน และเซลล์ไฟฟ้าเคมี โดยอาจารย์อาตีกะ อาแด เป็นอาจารย์ผู้สอน และจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบสารอาหารแป้ง น้ำตาล และโปรตีน
ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบสารอาหารแป้ง น้ำตาล และโปรตีน
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.50 -
12.00 น. และเวลา 13.15 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4
ได้ทำการทดลองปฏิบัติการเรื่อง การทดสอบสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และโปรตีน โดยมีครูผู้สอนประจำวิชา วิทยาศาสตร์ นางสาวซูไรดา กูวิง
และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการทดลองในครั้งนี้
การทดลองในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อทดลอง และอธิบายวิธีการและผลการทดสอบแป้ง
น้ำตาล และโปรตีน
การทดลองแรงเสียดทาน
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.00– 11.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง แรงเสียดทาน โดยมี อ.นูรีดา กะลูแป อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.เพื่อศึกษาแรงต่างๆ
ที่กระทำบนผิวสัมผัสของวัตถุ
2.เพื่อหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
นักเรียน SMP ลงพื้นที่บริการวิชาการให้แก่ชุมชน ในงานอำเภอเคลื่อนที่ ณ มัสยิดบ้านเตี๊ยะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
เมื่อวันที่
22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 – 12.00 น. ตัวแทนนักเรียน SMP
และคณะครู โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีโอกาสลงพื้นที่บริการวิชาการในงานอำเภอ(บันนังสตา)เคลื่อนที่ ณ มัสยิดบ้านเตี๊ยะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยมีนายธราวุธ ช่วยเกิด นายอำเภอบันนังสตาเป็นประธานในพิธี
และมีประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้มีหน่วยงานอื่น ๆ
เข้าร่วมจัดบริการ อาทิเช่น หน่วยงานสาธารณสุข เข้าบริการด้านสุขภาพ หน่วยทหารกองทัพบก
ให้บริการอาหาร วิทยาลัยสารพัดช่างบันนังสตาสอนการทำขนมพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งทาง ซึ่งในวันนี้ตัวแทนนักเรียน
SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้สาธิตการทำสบู่สมุนไพร และมีการแจก
EM ปุ๋ยหมักชีวภาพซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของนักเรียนแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงานสามารถนำกลับไปใช้ในการเกษตรและครัวเรือนได้
ตลอดจนมีการนำผลงานนักเรียน อาทิเช่น กระถางจากต้นไม้จากชานอ้อย มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้เยี่ยมชมและเห็นประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น
เป็นต้น
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การศึกษาปฏิกิริยาเคมี
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.30– 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การศึกษาปฏิกิริยาเคมี โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.นักเรียนสมารถอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้
2.สามารถเขียนสมการเคมีที่เกิดขึ้นได้
กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนประทีปวิทยา
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การศึกษาองค์ประกอบของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.00 – 14.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 33 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาองค์ประกอบของเซลล์พืชจากสาหร่ายหางกระรอก โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วย
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชได้
2. สามารถเตรียมสไลด์สด เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเซลล์ได้
ภาพที่ 1 สาหร่ายหางกระรอก |
1.บอกส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชได้
2. สามารถเตรียมสไลด์สด เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเซลล์ได้
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการทดลองเรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ได้มีการใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนรายปฏิบัติการเคมี
เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน นักเรียนในโครงการ
SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์กอรีเย๊าะ มะนาฮา เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่ 1/2561
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science
Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ
SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่
1/2561 โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี
รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีผู้อำนวยการโรงเรียน
หัวหน้าโครงการ SMP ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่โครงการ
SMP ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน
ประจำปีงบประมาณ 2562 อาทิ เช่น กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสนับสนุนวัสดุการศึกษาให้แก่นักเรียนโครงการ
SMP ที่มีความสนใจเรียนคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ชี้แจงรูปแบบการจัดกิจกรรม
กำหนดวันในปฏิทินการดำเนินกิจกรรมของโครงการ SMP ประจำปี
พ.ศ. 2562 ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนเครือข่ายโครงการ
SMP และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะของโรงเรียนเครือข่าย
เพื่อให้โครงการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่โครงการวางไว้
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร
ปฏิบัติการเคมี
เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.40 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้มีการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง
การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/4 โดยมีนางสาวมาเรียม สาแลแม เป็นครูผู้สอนปฏิบัติการในครั้งนี้
เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำการทดลองภาคปฏิบัติรายวิชา เคมี เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต โดยมี อาจารย์ วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrates ) เป็นการที่ให้พลังงานและเป็นพลังงานสะสมในร่างกายอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ สารชนิดอื่น เช่น จำพวกสเตอรอยด์ คาร์โบไฮเดรตที่พบในกระแสโลหิต ได้แก่ กลูโคส กาแลคโตส ฟรุกโตส และเพนโตส แต่เนื่องจาก นำ้ตาลกลูโคสมีอยู่ในโลหิตมากกว่าชนิดอื่นๆ เมื่อกล่าวถึงนำ้ตาลในเลือด จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึง กลูโคสในเลือด เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน
คณะวิทย์ มรย.แนะแนวหลักสูตร แนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ทีมงานคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีคณะอาจารย์จากหลักสูตรต่าง
ๆ และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ได้ลงพื้นที่แนะแนวหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในหลักสูตรต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์
อาทิเช่น หลักสูตรฟิสิกส์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการธุรกิจสุขภาพ เกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
สอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ระหว่างวันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้กำหนดจัดสอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561ณ โรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนในแต่ละภาคการเรียน ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รายวิชาที่ใช้ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ประกอบด้วย วิชาฟิสิกส์ วิชาชีววิทยา วิชาเคมี วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 2 (05-108) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประธานหลักสูตร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เพื่อวางแผนรูปแบบกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2561 และวางเงื่อนไขเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับการสนับสนุนวัสดุการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธี แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนรู้วิชา WBI บูรณาการกับการผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) โครงการ SMP
ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช โดยมี อาจารย์อับดุลเลาะ ลีลาตานา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)