ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช โดยมี อาจารย์อับดุลเลาะ ลีลาตานา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลป
วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา
วันที่ 17 ตุลาคม 2561 ณ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) โดยมี นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นายอับดุลฟัตตะห์ ดอมอลอ สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอบันนังสตา พร้อมด้วยคณะ ผู้ปกครอง ชาวบ้านในชุมชนอำเภอบันนังสตา เข้าร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ด้วย
โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ประจำโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดยะลา อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือข่าย ทั้งหมด 9 โรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มีการขยายโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา โรงเรียนประทีปวิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนานักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อรองรับอาชีพและการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งการเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับโรงเรียนคัมภีร์วิทยา โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 และโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเยาวชน และชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนในเมือง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู้
วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการเรื่อง การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer
เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้เรียนแลปปฏิบัติการเสริมช่วงปิดภาคเรียน
โดยมีทีมงานนักวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP มาร่วมให้ความรู้และช่วยสอนแลปปฏิบัติการเรื่อง
การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrophotometer ซึ่งจากกการทดลองในวันนี้นักเรียนให้ความสนใจ
มีความตั้งใจในทดลอง ทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการทดลองได้
นักเรียนสามารถสกัดพืชและวัดค่าดูดกลืนแสงโดยใช้ เครื่อง Spectrophotometer และสามารถเปรียบเทียบ
ความสามารถในการดูดกลื่นแสงของสารสีชนิดต่างๆได้
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การไทเทรตกรด-เบส
วันที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 09.20 - 10.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองเรื่อง การไทเทรตกรด-เบส โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะ เป็นผุ้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกความหมายของการไทเทรต สารละลายมาตรฐานและจุดสมมูลได้
2.ทำการไทเทรตเพื่อหาจุดสมมูลได้
3.คำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่างโดยใช้ข้อมูลจาการไทเทรตได้
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑
วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น ๖ อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประธานหลักสูตรสาขาต่างๆในคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ รายงานผลการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปี พ.ศ.2561 ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สรรหาคณะกรรมการและวิธีคัดเลือกการสนับสนุนวัสดุการศึกษาให้แก่นักศึกคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากหน่ยวงานดำเนินงานโครงการ SMP ชี้แจงงบประมาณสนับสนุนให้หลักสูตรดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการให้แก่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 9 โรงเรียน ชี้แจง(ร่าง)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ SMP รายงานแผ่น(ร่าง)ปฏิทินการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปี พ.ศ. 2562 เรื่องเสนอให้ทราบ ประกอบด้วย หน้าที่และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการ SMP ผลสอบนักเรียนโครงการ SMP ประจำปีการศึกษา 2561 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ประกอบด้วย การเพิ่มจำนวนโรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พิจารณากิจกรรมโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2563 และเรื่องอื่นๆ
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การศึกษาวิธีการผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 11.00 - 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาวิธีการผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป็นผุ้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ
ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง ศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 10.00 - 10.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ศึกษาการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบ
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.สามารถอธิบายทิศทางการเคลื่อนทีของไส้เดือนดิน
2.เพื่อทราบโครงสร้างและอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.สามารถอธิบายทิศทางการเคลื่อนทีของไส้เดือนดิน
2.เพื่อทราบโครงสร้างและอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่
วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ปฎิบัติการเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุล และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุลและสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยมีอาจารย์เอกมาลย์ สาแลแม เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการทำการทดลองกับนักเรียน ซึ่งการทดลองนี้เป็นการทดลองที่ทางโครงการ SMP เคยจัดการอบรมให้กับคุณครูทางโรงเรียนเครือข่ายแล้วในกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลายและทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิก็ได้มาจัดการทดลองให้กับนักเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในการเรียนของนักเรียน
สารชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตนำไปใช้ในกระบวนการดำรงชีวิตสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก คือ คาโบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก โปรตีน และลิพิด สารทั้ง 4 กลุ่มนี้มีโครงสร้าง สมบัติ และการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จะเป็นการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ
สารชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตนำไปใช้ในกระบวนการดำรงชีวิตสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก คือ คาโบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก โปรตีน และลิพิด สารทั้ง 4 กลุ่มนี้มีโครงสร้าง สมบัติ และการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จะเป็นการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การศึกษารูปร่างลักษณะทั่วไปของละอองเรณู
วันที่ 3 ตุลาคม 2561 เวลา 10.00 - 11.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษารูปร่างและลักษณะทั่วไปของละอองเรณู โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป็นผู้สอน
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.เพื่อศึกษารูปร่างและลักษณะต่างๆของละอองเรณูภายใต้กล้องจุลทรรศน์
2.เปรียบเทียบละอองเรณูจากดอกไม้ต่างชนิด
นักเรียนในโครงการ SMP เข้าร่วมค่ายพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เมื่อวันที่ 28 - 30 กันยายน 2561 ตัวแทนนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสมบุรณ์ศาสน์ได้เข้าร่วมค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชื้นงาน 3 มิติ ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
เป็นกิจกรรมค่ายที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสทางการศึกษาต่ออุดมศึกษาในอนาคต ในโควต้าพิเศษ
เป็นกิจกรรมค่ายที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสทางการศึกษาต่ออุดมศึกษาในอนาคต ในโควต้าพิเศษ
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
อัตราส่วนตรีโกณมิติ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561 เวลา 11.05 -12.10 น ณ.สนามบาสเกตบอล โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยาได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยมีอาจารย์ตอเละ ยูโซะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561
ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนโครงการ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
ที่สอบผ่านการคัดเลือกนักเรียนเข้าอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) ประจำปีการศึกษา 2561
ด้วยศูนย์ สอวน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นศูนย์ส่วนภูมิภาคของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน) ดำเนินการสอบในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พัทลุง เพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1 รุ่นที่ 19 ประจำปีการศึกษา 2561 ในวันอาทิตย์ ที่ 26 สิงหาคม 2561 นั้น โดยจัดค่ายฝึกอบรมใน 5 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ม.ต้น และ ดาราศาสตร์ม.ปลาย
ที่สอบผ่านการคัดเลือกนักเรียนเข้าอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) ประจำปีการศึกษา 2561
ด้วยศูนย์ สอวน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นศูนย์ส่วนภูมิภาคของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน) ดำเนินการสอบในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พัทลุง เพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ ค่าย 1 รุ่นที่ 19 ประจำปีการศึกษา 2561 ในวันอาทิตย์ ที่ 26 สิงหาคม 2561 นั้น โดยจัดค่ายฝึกอบรมใน 5 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ม.ต้น และ ดาราศาสตร์ม.ปลาย
มีการกำหนดให้ฝึกอบรม ณ ศูนย์โอลิมปิกสอวน.มหาวิทยาลัย ศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน.โรงเรียน และโรงเรียนขยายผล เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้แก่ครูผู้สอนในระดับโรงเรียน ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ สอวน. โดยได้กำหนดวันสอบการคัดเลือกในวันที่ 26 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา และได้ประกาศผลการคัดเลือกเป็นที่เรียบร้อย วันที่ 21 กันยายน 2561 ทาง http://www.posn.sci.tsu.ac.th.
ซึ่งในปีนี้นักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ มีผู้ผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 12 คน และหนึ่งในจำนวนนั้นมีนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ที่ได้สร้างผลงานให้กับโรงเรียนและโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ผ่านเข้ารอบการคัดเลือกสู่ค่าย 1 จำนวน 10 คน โดยมีนักเรียน SMP ทั้งนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 และมัธยมปีที่ 5 ในทั้งหมด 5 สาขาวิชาด้วยกัน
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561
การทดลองเรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ
วันที่ 27 กันยายน 2561 เวลา 11.05-12.25 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ โดยมีอาจารย์วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561
การทดลองเรื่อง การละลายน้ำของสารประกอบของธาตุหมู่ lA และ llA
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ smp โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยาวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาเคมี เรื่อง การละลายน้ำของสารประกอบของธาตุหมู่ lA และ llA
โดยมี อ.อับดุลมาซิ เจ๊ะเลาะ เป็นผู้สอน
โดยมี อ.อับดุลมาซิ เจ๊ะเลาะ เป็นผู้สอน
การทดลองเรื่อง การละลายน้ำของสารประกอบของธาตุหมู่ lA และ llA |
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง ศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะของแป้งข้าวเหนี่ยวและแป้งข้าวเจ้า
วันที่ 25 กันยายน 2561 เวลา 16.30 - 17.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะของแป้งข้าวเหนี่ยวและแป้งข้าวเจ้า ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 SMP โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนแลบ
การทดลองเรื่อง การทดสอบสารละลายกรด - เบส
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561
อบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการและเทคนิคการใช้เครื่องแก้ว
วันที่ 24 กันยายน 2561 เวลา 16.30 - 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการและเทคนิคการใช้เครื่องแก้ว แก่นักเรียนในโครงการ SMP โดยมีนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นวิทยากร
ห้องปฏิบัติการ
(laboratory)
เรียกสั้น
ๆ ว่า ห้องแล็บ
(lab)
คือสถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุม
และเป็นที่สำหรับการวิจัย การทดลอง และการวัดทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค ดั้งนั้นเพื่อ ให้ การ ทด ลองได้ ผล ดี หรือ มี ความ ผิด พลาด น้อย ที่ สุด และ เกิด ความ ปลอด ภัย ต่อ ผู้ ทด ลองเอง ผู้ทดลองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตน เช่น รู้ระเบียบข้อบังคับหรือข้อแนะนำในการเข้าห้องปฏิบัติการ รู้ถึงอันตรายที่แอบแฝงที่อยู่ในสารเคมี รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง เช่น การตวงสาร การอ่านฉลากสารเคมี การไทรเทรต และเทคนิคการใช้ปิเปตเป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561
แลปปฏิบัติการเรื่อง การวัดค่าดูดกลืนแสงของพืช โดยใช้เครื่อง Spectrometer
กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ ห้องประชุม 4 อาคารอาหรับ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัด "กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมปีที่ 5" นักเรียนรุ่นที่ 2 ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอให้กับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประกวดโครงานในเวทีต่างๆ และในครั้งนี้เป็นปีที่ 2 ในการจัดกิจกรรมการนำเสนอโครงงาน โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
ซึ่งการจัดกิจกรรมการนำเสนอโครงงานครั้งนี้ทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิได้เรียนเชิญคณะอาจารย์จากทางสาขาฟิสิกส์และสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มาเป็นเกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินการให้คะแนนและข้อเสนอแนะต่างๆให้กับนักเรียนในการนำเสนอโครงงานของนักเรียน SMP ครั้งนี้ด้วย โดยมีอาจารย์อดุลย์สมาน สุขแก้ว อาจารย์สาขาฟิสิกส์, อาจารย์ ผศ.อีลีหย๊ะ สนิโช อาจารย์สาขาฟิสิกส์, อาจารย์ ดร.วาริศา วาแม อาจารย์สาขาฟิสิกส์, และอาจารย์อัชมาน อาแด อาจารย์สาขาเคมี ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำโครงงานและงานวิจัย ทำให้นักเรียนได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆจากทางคณะการกรรม เพื่อนำไปปรับปรุงและต่อยอดผลงานของนักเรียน และยังมีคณะอาจารย์จากทางโรงเรียนมาร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะกับนักเรียน
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561
ขอแสดงความยินดีกับนักเรียน SMP โรงเรียนดำรงวิทยา สอบผ่านคัดเลือกโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ค่าย 1 ประจำปีการศึกษา 2561
ศูนย์
สอวน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ซึ่งเป็นศูนย์ส่วนภูมิภาคของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ
และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน)
ดำเนินการสอบในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พัทลุง เพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ
ค่าย 1 ประจำปีการศึกษา 2561 ในวันอาทิตย์
ที่ 26 สิงหาคม 2561 นั้น
โดยจัดค่ายฝึกอบรมใน 5 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์
ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ม.ต้น และ ดาราศาสตร์ม.ปลาย
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการเคมี เรื่อง เครื่องแก้วพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
⇏วันที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 11.05-12.25 น ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง เครื่องแก้วพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยมีอาจารย์วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักอุปกรณ์เครื่องแก้วชนิดต่างๆที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี สามารถแยกประเภทและใช้อุปกรณ์เครื่องแก้วต่างๆได้ถูกต้องและเหมาะสม
2. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เทคนิคเบื้องต้นในปฏิบัติการเคมี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักอุปกรณ์เครื่องแก้วชนิดต่างๆที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี สามารถแยกประเภทและใช้อุปกรณ์เครื่องแก้วต่างๆได้ถูกต้องและเหมาะสม
2. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เทคนิคเบื้องต้นในปฏิบัติการเคมี
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้องของคลื่นเสียง
วันที่ 19 กันยายน 2561 เวลา 10.25-11.15 น ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำการทดลองภาคปฏิบัติรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้องของคลื่นเสียง (Sound Resonance) โดยมี อาจารย์นายอสุรินทร์ มะเด็ง เป็นผู้สอน
การทดสอบวิตามินซีในน้ำผลไม้
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ได้ขออนุญาติใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแลปปฏิบัติการ รายวิชาชีววิทยา เรื่องการทดสอบวิตามินซีในในน้ำผลไม้ โดยมีอาจารย์นุรีซา สาแมเป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ปฏิบัติการ
1. น้ำผลไม้ คือ น้ำมะเขือเทศ น้ำส้ม น้ำสัปปรด น้ำมะนาว และน้ำมะละกอสุก
2. น้ำแป้งสุก
3. สารละลายไอโอดีน
4. หลอดทดลอง.หลอดฉีดยา
5. Dropper(หลอดหยด)
ทำได้โดยหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุกจะได้สารผสมสีน้ำเงิน จากนั้นนำสารที่สงสัยว่ามีวิตามินซีมาหยดในสารผสมดังกล่าว ถ้าสีน้ำเงินในสารผสมระหว่างน้ำแป้งสุกและสารละลายไอโอดีนจางหายไป แสดงว่าสารที่สงสัยมีวิตามินซี ในกรณีนี้ถ้าใช้สารที่สงสัยจำนวนน้อยหยด แล้วสามารถทำให้สีน้ำเงินในน้ำแป้งจางหายไปหมด แสดงว่าสารที่สงสัยมีปริมาณวิตามินซีมาก
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบน้ำผลไม้ในน้ำผลไม้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
1. น้ำผลไม้ คือ น้ำมะเขือเทศ น้ำส้ม น้ำสัปปรด น้ำมะนาว และน้ำมะละกอสุก
2. น้ำแป้งสุก
3. สารละลายไอโอดีน
4. หลอดทดลอง.หลอดฉีดยา
5. Dropper(หลอดหยด)
การทดสอบวิตามินซี
ทำได้โดยหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุกจะได้สารผสมสีน้ำเงิน จากนั้นนำสารที่สงสัยว่ามีวิตามินซีมาหยดในสารผสมดังกล่าว ถ้าสีน้ำเงินในสารผสมระหว่างน้ำแป้งสุกและสารละลายไอโอดีนจางหายไป แสดงว่าสารที่สงสัยมีวิตามินซี ในกรณีนี้ถ้าใช้สารที่สงสัยจำนวนน้อยหยด แล้วสามารถทำให้สีน้ำเงินในน้ำแป้งจางหายไปหมด แสดงว่าสารที่สงสัยมีปริมาณวิตามินซีมาก
การทดลองเรื่อง การแยกสารละลาย NaCl ด้วยกระแสไฟฟ้า
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561
กิจกรรม“วัยหรอย วัย Learn” ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-6) โรงเรียนดำรงวิทยา
เมื่อวันที่ 17
กันยายน 2561
เวลา 13.00-16.00 น. ทางบริษัท ทรูดิสทริบิวชั่นส์แอนด์เซลส์ จำกัด มาจัดกิจกกรม “วัยหรอย
วัย Learn” ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)
โรงเรียนดำรงวิทยา ณ ห้องประชุม อาคารหะยีรอมลี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งมั่นในการให้ความรู้และความเข้าใจ
ด้านเทคโนโลยีพื้นฐานทางโทรคมนาคม และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี 4G
และ 3G การใช้งานสื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมทางด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชนในทางที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับกิจกรรมปลูกปัญญาที่ทางบริษัทฯ
สนับสนุนโดยตลอด
แลปปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้องของเสียง
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 SMP ได้ทำการเรียนการสอนในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้องของเสียง โดยมีอาจารย์นูซีลา จินตรา ครูผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์
🎵 การทดลองเรื่องการสั่นพ้องของเสียง (Sound Resonance)
หมายถึงการที่ทำให้อากาศที่อยู่ในกล่องหรือในท่อสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติ อากาศก็จะสั่นด้วยแอมปลิจูดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดเสียงดังมากขึ้นกว่าปกติ เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “การสั่นพ้องของเสียง” หรือการที่เราให้ความถี่เสียงที่มีค่าเท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่งก็สามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยแอมปลิจูดมากขึ้นเรื่อยๆ
ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นนิ่งในเส้นเชือก และการสั่นพ้องของคลื่นเสียง
วันที่ 18 กันยายน 2561 เวลา 15.00
– 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาฟิสิกส์
เรื่อง คลื่นนิ่งในเส้นเชือก (Standing wave) และการสั่นพ้องของคลื่นเสียง (Sound Resonance) ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โดยมีอาจารย์ซากียะ วาเงาะ เป็นผู้ฝึกสอน
และมีนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการทำการทดลองในครั้งนี้
การทดลองเรื่อง การสั่นพ้องของคลื่นเสียง
|
แลปปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเอ็นเออย่างง่าย
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เรียนแลปปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเออย่างง่าย จากผักผลไม้ด้วยวิธีอย่างง่าย โดยใช้น้ำยาล้างจาน เกลือแกง และแอลกอฮอล์ อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์และควบคุมการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์
ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง ความหนืดของของเหลว
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 เวลา 13.20 - 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ความหนืดของของไหล ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นายีบะห์ ลือแบซา เป็นอาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ ทำการทดลองกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาสัมประสิทธิ์ความหนืดของของเหลวที่กำหนดโดยการวัดความเร็วปลายของวัตถุทรงกลม
วัตถุประสงค์
1.อธิบายความหนืดและแรงหนืดในของเหลวได้
2.อธิบายได้ว่า แรงหนืดของเหลวที่กระทำต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ในของเหลวขึ้นอยู่กับขนาดความเร็ว ของวัตถุ
3.นำสมบัติควาหนืดของของเหลวไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
วัตถุประสงค์
1.อธิบายความหนืดและแรงหนืดในของเหลวได้
2.อธิบายได้ว่า แรงหนืดของเหลวที่กระทำต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ในของเหลวขึ้นอยู่กับขนาดความเร็ว ของวัตถุ
3.นำสมบัติควาหนืดของของเหลวไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การศึกษาลักษณะของปากใบ
วันที่ 17 กันยายน 2561 เวลา 13.00 –
13.40 น. และ 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการ SMP
โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ปากใบของว่านกาบหอย ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โดยมีอาจารย์ซูไรดา กูวิง เป็นผู้ฝึกสอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการในครั้งนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)