วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การศึกษาลักษณะของปากใบ


        วันที่ 17 กันยายน 2561 เวลา 13.00 – 13.40 น. และ 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ปากใบของว่านกาบหอย ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โดยมีอาจารย์ซูไรดา กูวิง เป็นผู้ฝึกสอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการในครั้งนี้


stoma หรือปากใบ
        ปากใบของพืช (Stomata) คือรูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุม (Guard cell) ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ และมีหน้าที่สำคัญคือเป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศของพืชโดยตรง ซึ่งปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างผิวใบของพืช เพราะเป็นที่รู้จักกันคือพืชต่างๆจะสังเคราะห์แสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างของพืช และผิวใบด้านบนของพืชก็จะมีสารคิวทินเคลือบอยู่หนา ซึ่งก็จะช่วยลดการคายน้ำออกทางปากใบพืชได้อีกทางหนึ่ง
จุดประสงค์ของการทดลอง
      1. ศึกษาลักษณะปากใบของว่านกาบหอย
      2. รู้วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

รูปภาพระหว่างทำการทดลอง


ผลการทดลอง
ต้นว่านกาบหอย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น