วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลอง เรื่อง ถุงมือทนไฟ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์


วันที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 10.00 - 11.30 น. ณ ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ครุผู้สอน นางสาวสุณีย์ ตอแลมา นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน ได้ทำการทดลองเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ถุงมือทนไฟ เป็นองค์ประกอบของการติดไฟแล้วเห็นเป็นเปลวไฟ คือ เชื้อเพลิง (Fuel) กับความร้อน (Heat) และตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) นั่นก็คือออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งในอากาศมีประมาณ 21% เมื่อวัสดุใดก็ตามได้รับความร้อนถึงจุดวาบไฟ (Flash point) ซึ่งเป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่สารนั้นลุกติดไฟได้ และเมื่ออุณหภูมิของสารนั้นสูงกว่าจุดวาบไฟประมาณ 10–20℃ ก็ถึงจุดไหม้ไฟ (Fire point) เนื่องจากแอลกอฮอล์ Ethanol เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขั้วเช่นเดียวกับน้ำสารละลายจะซึมเข้าไปในถุงมือเมื่อจุดไฟก็จะติด

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


            วันที่ 26 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU


         เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 14.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมกลาดี ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ (อาคาร 20) โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุมในครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ SMP YRU จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายละเอียด ดังนี้

    แนวทางการดำเนินงานโครงการ SMP YRU 

            - ติดตามการปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 โรงเรียน

            - การลงพื้นที่ติดตามนิเทศผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนของโรงเรียนเครือข่าย พร้อมแผนพัฒนาครูและนักเรียนในโครงการ SMP YRU

            - รายงานผลการวิจัย โครงการ SMP YRU เพื่อส่งเข้าประกวดประเภทรางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม)

            - การทดลองใช้บทเรียน E-learning (บทปฏิบัติการเคมี ม.4)

            - การขยายผลและการพัฒนาเว็บไซต์ให้แก่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียน

            - โครงการวิจัยพัฒนาบทเรียน จำนวน 3 โครงการ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา ทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา

         วันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 12.30 น. คณะครูและเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP-YRU) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา ได้เข้าทัศนศึกษาดูงานพร้อมศึกษาแนวทางในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในด้านการเกษตร ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โดยการทัศนศึกษาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายศุกร์ เก็บไว้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ได้กล่าวต้อนรับพร้อมให้กำลังใจและข้อคิดในการใช้ชีวิต พร้อมด้วยนักวิชาการและบุคลากรของศูนย์วิจัยฯ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้นำเสนอข้อมูล พร้อมได้แนะแนวและให้แนวทางในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในอนาคตต่อไป

ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้อง

             เมื่อวันที่ 21 มกราคม  2564 เวลา 14.45-16.05 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การสั่นพ้อง โดยมีอาจารย์อสุรินทร์  มะเด็ง เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรีย

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ

                                             
                                

        เมื่อวันที่ 19 เดือนมกราคม 2564 เวลา 12.00 - 13.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเรื่อง การแยกสารมีสีด้วยวิธีโครมาโทกราฟี โดยใช้ตัวทำละลายน้ำ เอทานอล และสารละลายโซเดียมคลอไรด์

             เมื่อวันที่ 19 เดือนมกราคม 2564 เวลา 10.40 - 12.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การแยกสารมีสีด้วยวิธีโครมาโทกราฟี โดยใช้ตัวทำละลายน้ำ เอทานอล  และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีอาจารย์อาแอเสาะ  มะตารี เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

ความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 19 มกราคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวนูรีดา เจ๊ะเงาะ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ได้ทำการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โดยให้นักเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง เป็นรูปแบบเกมส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้และเกิดความสนุกสนานในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564

กิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา

 


        เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ทางโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาจัดกิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์โครงการ แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นทางเลือกในการศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองสมบัติกรด – เบสของสารละลายเกลือ โรงเรียนดำรงวิทยา

         

          วันที่ 18 มกราคม 2564 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองสมบัติกรด – เบสของสารละลายเกลือ ให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมและอำนวยความสะดวกในการเรียนปฏิบัติการในครั้งนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

บริการวิชาการและการทำปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยา

         

       
       เมื่อวันที่ 17 เดือน มกราคม พ.ศ. 2564  เวลา 09.30 - 16.00 น  ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดยอาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ และ อาจารย์ ดร.สุธิมา ปรีเปรม และอาจารย์ ดร.หัสลินดา บินมะแอ พร้อมด้วยตัวแทนนักศึกษาสาขาจุลชีววิทยาได้ลงพื้นที่บริการวิชาการหลักสูตรจุลชีววิทยาและสอนการทำปฏิบัติการทางด้านจุลชีววิทยาให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 (SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ

ปฏิบัติการเรื่อง การแยกสารโดยวิธีการกรองและการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยใช้เอทานอลและน้ำ


         เมื่อวันที่ 17 เดือนมกราคม 2564 เวลา 10.40 - 12.20  น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การแยกสารโดยวิธีการกรองและการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยใช้เอทานอลและน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีอาจารย์อาแอเสาะ มะตารี  เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

การทดลองปฏิบัติการเคมี ม.4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  ร่วมทดลองเรียนปฏิบัติการเคมี จำนวน 5 บท ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ตามโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี

      สำหรับเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง 5 บทปฏิบัติการ คณะครูผู้สอนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU ร่วมกันตอบแบบสำรวจ เห็นว่าเนื้อหาบทปฏิบัติการที่สำคัญในระดับชั้น ม.4 รายวิชาปฏิบัติการเคมี จำนวน 10 บทเรียนที่ควรให้นักเรียนทดลองใน 1 ปีการศึกษา โดยใน 1 ภาคเรียนสำหรับการทดลองครั้งนี้ ได้คัดเลือกมาจำนวน 5 บทเรียนปฏิบัติการดังนี้


 

  • บทปฏิบัติการที่ 1 การทดลองวัดปริมาตรโดยใช้อุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ และการวัดมวลโดยใช้เครื่องชั่ง
  • บทปฏิบัติการที่ 2 การออกแบบและทดลองเปรียบเทียบความแม่นในการวัดปริมาตรน้ำด้วยกระบอกตวงที่มีขนาดต่างกัน
  • บทปฏิบัติการที่ 5 การทดลองการศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุ
  • บทปฏิบัติการที่ 6 สีของสารประกอบ
  • บทปฏิบัติการที่ 7 การทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ
 
 
 
     
คาดว่าผลการวิจัยจะได้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SMP-YRU ซึ่งได้มีการพัฒนาความพร้อมของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุการทดลองไว้พร้อมแล้ว และที่สำคัญเป็นการสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนในโครงการ ได้ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อย่างคุ้มค่า เปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองได้ด้วยตนเอง 

นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา เข้าร่วมโครงการ “Education for Change” การศึกษานำมาสู่การเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 27

        ระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2564 ตัวแทนนักเรียนในโครงการ SMP - YRU โรงเรียนดำรงวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 14 คน ได้เข้าร่วม โครงการ “Education for Change” การศึกษานำมาสู่การเปลี่ยนแปลง “EC Camp รุ่นที่ 27” เพื่อพัฒนาเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างสันติสุข เปิดประตูสู่อารยธรรม ณ สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 จังหวัดยะลา

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมพิธีเปิดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP-YRU

    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (Yala Rajabhat University: YRU) "มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานดำเนินงานในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยร่วมงานและให้เกียรติเป็นประธานเปิดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง ณ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ตั้งอยู่ที่ ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา โดยมีนายมูหะมัดนาเซร์   โซ๊ะซูบ๊ะ เป็นผู้อำนวยการ     

     สำหรับการเปิดห้องปฏิบัติการของโรงเรียนดารุล
ฮูดาห์วิทยา เป็นกิจกรรมหนึ่งในการพัฒนาโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU ในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาห้องปฏิบัติการ การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือทดลอง การพัฒนาเจตคติและทักษะครูสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิชาการ ด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะไอที ทักษะในศตวรรษที่ 21 และเจตคติที่ดีต่อสถาบันหลักให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 รวมถึงการสร้างกิจกรรมสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ทั้งนี้ เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของเครือข่ายในพื้นที่ผ่านการทำ MoU ทั้งโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ศูนย์สันติวิธี กอ.มรม.ภาค 4 ส่วนหน้า ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นหน่วยบูรณาการหลักในการดำเนินงานโครงการนี้   

 สำหรับโรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา นับเป็นโรงเรียนลำดับที่ 12 ตามเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจำนวน 19 โรงเรียน มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามแนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง โดยใช้งบประมาณแผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ มหาวิทายาลัยราชภัฏยะลาได้ดำเนินงานโครงการ SMP-YRU มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน  มีเป้าหมายยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น ม.4 - ม.6 และยังสนุบสนุนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในระดับชั้นอื่น ๆ ของโรงเรียนอีกด้วย ทั้งนี้ เน้นการเรียนรู้โดยการทดลอง ให้นักเรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (Lab) ให้มากที่สุด โดยใช้โจทย์ปัญหาในพื้นที่ทำโครงงาน โครงการ SMP-YRU นับเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ จชต. ที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

    ส่วนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีนักเรียนผ่านการพัฒนาในโครงการ SMP-YRU ระดับชั้น ม.4-ม.6 แล้ว กว่า 1,500 คน สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 ไปแล้วจำนวน 2 รุ่น สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและที่เกี่ยวข้องกว่าร้อยละ 40 จากผู้ศึกษาต่อทั้งหมด ในจำนวนนี้ มีนักเรียนสอบเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ วิศกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และเกี่ยวข้องจำนวนมาก นับเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ในบทบาท "สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ในพันธกิจบริการวิชาการอย่างยั่งยืนและมีผลกระทบเชิงพื้นที่ในวงกว้าง เป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา จชต. แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนต่อไป 

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการฟิสิกส์เรื่อง การทดลองการวัดความยาวคลื่นเสียง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา

         เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 13.00 – 13.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์เรื่อง การสั่นพ้องของอากาศในหลอดเรโซแนนซ์ (Resonance Frequency) ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

ปฏิบัติการทดลองการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำและสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

         วันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำและสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564

ห้องเรียนอีเลิร์นนิ่ง http://e-smp.yru.ac.th สำหรับเรียนรู้ในสถานการณ์ COVID-19

 

เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th

          โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ SMP-YRU มีการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนในโครงการทั้ง 12 โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 จนถึงปัจจุบัน  ในโครงการดังกล่าวมีการพัฒนานักเรียนในระดับชั้น ม.4 - ม.6 ในทุกมิติ ตั้งแต่การพัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุการทดลอง การพัฒนานักเรียนทั้งด้านวิชาการและทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 หรือ Soft Skill การพัฒนาทักษะการทำโครงงาน การจัดค่ายพัฒนาด้านไอที  ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และค่ายปรับพื้นฐาน ค่ายสอนเสริมเพื่อความเป็นเลิศ รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 

      สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) ได้รับงบประมาณดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะให้นักเรียนหลายกิจกรรม แต่ด้วยการระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  จึงไม่สามารถดำเนินงานตามปกติได้  โครงการ SMP-YRU จึงดำเนินการในรูปแบบออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาด้านวิชาการ จึงพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อสอนเสริม เพิ่มความรู้พื้นฐานให้แก่นักเรียนในรายวิชาภาาาอังกฤา ภาษาไทย ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบออนไล์ในรูปแบบระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเรียบร้อย 

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการทดลองสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ

             วันที่ 6 มกราคม 2564 เวลา 10.25-11.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ  โดยมีอาจารย์คอลิบ หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำเคมี และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ


จุดประสงค์การทดลอง
1. ทดลองเพื่อศึกษาสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ
2. ระบุสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือจากอินดิเคเตอร์
3. ระบุชนิดของไอออนที่ส่งผลต่อสมบัติกรด – เบสของสารละลาย

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ บอกจุดยุติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 5 มกราคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ บอกจุดยุติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564

โครงการศิษย์เก่าเพื่อน้อง โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


            วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เวลา 08.00– 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ได้จัดโครงการศิษย์เก่าเพื่อน้อง ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ทางโรงเรียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมดีดีให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นโครงการแนะแนวที่มีพี่ที่เป็นศิษย์เก่ามาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในรูปแบบไหน ทำไมถึงเลือกสาขาวิชานั้น ให้น้อง ๆได้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกคณะ/วิชาเอก/มหาวิทยาลัยที่ตนเองสนใจ  รวมถึงการใช้ชีวิต/วิถีชีวิต ค่าใช้จ่าย ระบบการเรียนการสอน และอื่น ๆ 

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจากรากหัวหอม ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดำรงวิทยา

         วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.20 น. และเวลา 14.20 - 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวชัซวานี เปาะตองเซ็ง ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่องการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจากรากหัวหอม ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1   และ 4/2 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ควบคุมการทดลอง

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 


      วันที่ 29 ธันวาคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พิธีเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP YRU) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา

         วันที่ 27 ธันวาคม 2563 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP YRU) เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา โดยมีนายคอเหล็ด  หะยีสาอิ ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยคุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่โครงการ SMP YRU เข้าร่วมในพิธีเปิดเรียนครั้งนี้ เนื่องด้วยโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาได้เข้าร่วมโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งโครงการฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2559 - จนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนในเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 12 โรงเรียน เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนานักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อรองรับอาชีพ ซึ่งการเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับ โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่ และโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเยาวชน และชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนในเมือง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าให้บริการวิชาการและแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียนโรงเรียนดำรงวิทยา

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 - 15.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม (Industrial Physics Program) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เข้ามาบริการวิชาการและแนะแนวการศึกษาต่อ ให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 นำทีมโดย อาจารย์ ผศ.อาบีดีน ดะแซสาเมาะ ประธานประจำหลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่และนักศึกษาชั้นปีที่ 2

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียนโรงเรียนดำรงวิทยา

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 - 15.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนดำรงวิทยา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เข้ามาแนะแนวการศึกษาต่อให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา ซึ่งนำทีมโดย อาจารย์ ผศ.ดร. อีลีหย๊ะ สนิโซ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา อาจารย์ ดร.ยาสมี เลาหสกุล ประธานหลักสูตรชีววิทยาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจารย์ ดร.อรวรรณ ทิพท์มณี อาจารย์ประจำหลักสูตรเคมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจารย์สุวรรณา ทองดอนคำ ประธานหลักสูตร และนางสาวไมซาเราะห์ สะมะแอ อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์และธุรกิจปศุสัตว์ อาจารย์มูฮำมัดคอยรี หะยีบากา อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พร้อมด้วยนางธัญรัตน์ ละอองอ่อน นักวิชาการศึกษาและเจ้าหน้าที่จากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาของกรดกับโลหะและเบสกับโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


            วันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30– 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นายมูฮัมหมัดซุกรี มาแจ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาของกรดกับโลหะและเบสกับโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563

นักเรียนโครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา เข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 16


          เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP-YRU) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดำรงวิทยา ได้เข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 16 (Science Film Festival 2020) ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาปัตตานี

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง เลนส์และอุปกรณ์ทางเลนส์

 

         

เมื่อวันที่ 12 เดือนธันวาคม 2563 เวลา 13.20 - 14.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เลนส์และอุปกรณ์ทางเลนส์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์อุหมาด เดชอรัญ เป็นอาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ และมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน