วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563
บทปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การศึกษาอุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563
อบรมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา
เมื่อวันพุธที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 - 15.30 น. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการประจำโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้จัดกิจกรรมอบรมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ห้องปฏบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษSMP มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้แก่ กล้องจุลทรรศ์ เครื่องชั่งสาร เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ตู้ดูดควัน เครื่องมือทางฟิสิกส์ เป็นต้น
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
วันที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยมีอาจารย์คอลิด หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ
ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
วัตถุประสงค์
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีอาจารย์คอลิบ หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ
โครงสร้างภายในของราก
การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก
กิจกรรมการทดลองผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล
2.อธิบายการเปลี่ยนแปลงสมดุล เมื่อมีการเพิ่มหรือลดความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์
ผลการทดลอง
หลอดที่
|
สารที่เติม |
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ |
|
หลังเติมสาร |
วางไว้
1
นาที |
||
1 |
น้ำกลั่น |
สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีม่วงน้ำเงิน |
สารละลายมีสีม่วงน้ำเงิน |
2 |
HCl |
สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีม่วงน้ำเงิน |
สารละลายมีสีม่วงแดง |
3 |
NaOH |
สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีน้ำเงิน |
สารละลายมีสีน้ำเงิน |
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563
กิจกรรม "สัมมนาโครงงานวิทยาศาสตร์ "
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2563 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ ห้องประชุม โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้จัด กิจกรรม "สัมมนาโครงงานวิทยาศาสตร์ " โดยนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมปีที่ 6 นักเรียนรุ่นที่ 3 ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอ โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563
การใช้และดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 เวลา11.05-12.25 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การใช้และดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์ โดยมีอาจารย์
คณะกรรมการโครงการ SMP-YRU ประชุมเตรียมดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันพุธที่ 30 กันยายน 2563 คณะกรรมการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานคณะทำงานประชุมเพื่อเตรียมการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งดำเนินการในโครงการ SMP-YRU มาเป็นปีที่ 6 อย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับงบประมาณตามแผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นงบลงทุนและสิ่งก่อสร้างเพื่อการปรับปรุงห้องปฏิบัติการในโรงเรียนเดิมรุ่นแรก จำนวน 6 โรงเรียน เน้นการปรับปรุงให้ห้องปฏิบัติการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใน 6 โรงเรียนเดิม ในรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ 2559 ทั้งนี้ ให้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนชั้น ม.4-ม.6 สร้างโอกาสทางการศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นกำลังสำคัญของ Thailand 4.0
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดพัฒนาห้องเรียน SMP-YRU อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในฐานะมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง จะดำเนินการสนับสนุนการพัฒนานักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีข้อจำกัดงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ เน้นการจัดกิจกรรมค่ายพัฒนานักเรียนที่มหาวิทยาลัย ได้แก่ ค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายไอที เป็นต้น
วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563
บทปฏิบัติการที่ 4 สีของสารประกอบ และกิจกรรมที่ 2.5 การทดลองการเกิดปฏิกริยาเคมีกับน้ำ
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563
โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบลและเครือข่ายพลังงานชุมชน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์พลังงาน
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมลุตฟีย์ อาคารลุตฟีย์ ชั้น 2 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา สำนักงานพลังงานจังหวัดยะลา ได้จัดโครงการเพิ่มสมรรถนะด้านบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบลและเครือข่ายพลังงานชุมชน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์พลังงาน(ประเภทโรงเรียนพลังงานชุมชน) โดยมีนายนิเซะ กาเดร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานพลังงานจังหวัดยะลา เป็นวิทยากร ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP โดยรูแบบกิจกรรมนันทนาการ นำเสนอข้อมูลการพลังงานในโรงเรียน เทคโนโลยีทดแทนระดับชุมชน
วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563
กิจกรรม "จิตอาสา พัฒนาศาสนสถาน "
เมื่อวันที่ 22 เดือนกันยายน พ.ศ.2563 โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี6 (SMP) จัดกิจกรรม "จิตกรรมพัฒนาศาสนสถาน ณ มัสยิมอัล-มูตตาหีดาตูลอีสลามียะห์ โปโหนมาจัง (จืองา) "
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563
ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ
วัตถุประสงค์
วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563
กิจกรรม "ทัศนศึกษาศูนย์การเรียนรู้ กฟพ จะนะ"
เมื่อวันที่ 18 เดือนกันยายน 2563 โรงเรียนตาร์เบีตตุลวาตันมูลนิธิ ได้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (SMP) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 (mini smp) ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟพ จะนะ โดยตั้งอยู่ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (โรงไฟฟ้า จะนะ)
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563
โครงการ '' ประดิษฐ์สายคล้องหูหน้ากากอนามัย" จัดโดย : วิศกรสังคม มรย. ประจำตำบลบันนังสาเรง
โครงการแนะแนวศึกษาต่อสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMP) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา จัดโดย : วิศกรสังคม มรย. ประจำตำบลบาโงยซิแน
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563
นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Robolnnovator Challenge 2020 by Software park Thailand
ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2563 นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิได้เข้าร่วมแข่งขัน การแข่งขัน Robolnnovator Challenge 2020 by Software park Thailand ทีมระดับมัธยมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปฏิบัติการ เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาของโลหะกับน้ำ
วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563
นักเรียนโครงการห้องเรียน SMP เข้าร่วมนำเสนองานโครงงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
โครงการ '' ถังขยะจากขวดพลาสติก" จัดโดย : วิศกรสังคม มรย. ประจำตำบลวังพญา
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ทีมงานวิศกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำตำบลวังพญา ได้จัดโครงการ'' ถังขยะจากขวดพลาสติก" ณ ห้องประชุมฟิรดาวซ์ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ห้องเรียนพิเศษ SMP เข้าร่วมโครงการจำนวน 36 คน
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563
กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ ในโครงการ SMP YRU โรงเรียนดำรงวิทยา
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563
บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร
โครงการ SMP-YRU พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการ SMP-YRU ซึ่งเริ่มดำเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในแนวทางการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการร่วมกับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ในพื้นที่ 12 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการ โต๊ะเก้าอี้ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ เครื่องมือทดลอง วัสดุการทดลอง สื่อโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงการพัฒนาทักษะการสอนที่เน้นการปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) ให้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งด้านความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการพัฒนาผ่านกระบวนการของค่ายพัฒนาในแต่ละด้าน
รูปแบบการพัฒนานักเรียนในโครงการ SMP-YRU มุ่งเน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ให้โอกาสผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทดลอง การทำโครงงาน (Project) ด้านวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในโครงการยังคงมีปัญหาของการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการ (Lab) ไม่ครบถ้วน เนื่องจากครูมีเวลาไม่เพียงพอ ครูขาดทักษะในการทดลอง นักเรียนมีเวลาในห้องปฏิบัติการน้อย จากการสำรวจครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นว่า การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งออนไลน์ ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาการทดลอง ขั้นตอนการทดลองมาก่อนโดยการศึกษาด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ ก็จะทำให้สามารถลดเวลาในการใช้ห้องปฏิบัติ สามารถทดลองและรายงานผลการทดลองได้ทันเวลา โดยส่งรายงานผ่านทางออนไลน์ในระบบอิเลิร์นนิ่ง ผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รายวิชาที่ผู้สอนเห็นว่ามีความจำเป็น เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ที่ควรพัฒนาเป็นรายวิชาในระบบอีเลิร์นนิ่งได้แก่ รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกเนื้อหาปฏิบัติการทดลอง จำนวน 10 เรื่อง ตามที่ผู้สอนเห็นว่ามีความสำคัญมากสุดตามลำดับ ซึ่งทีมงาน SMP-YRU โดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะทำงานได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำคลิปวิดีโอมาผนวกเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (Courseware) เพื่อให้นักเรียนระดับชั้น ม.4 หรือครูผู้สอนเข้ามาเรียนรู้ ก่อนทำการทดลองในห้องปฏิบัติการต่อไป