วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 08.45 – 10.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวซอปียะห์ มะบูมิ่ง ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
มอสส์ เป็นพืชขนาดเล็ก พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4–4 นิ้ว ) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ดโดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็ก ๆ คล้ายแคปซูล
มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชย์ และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา ในไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน
ในทางพฤกษศาสตร์ มอสส์เป็นพืชจำพวกมอสหรือพืชไม่มีท่อลำเลียง มีลักษณะแตกต่างจากลิเวอร์เวิร์ตที่คล้ายคลึงกับมันคือส่วนคล้ายรากมีหลายเซลล์ นอกจากนี้ลำต้นและใบยังแสดงถึงความแตกต่างได้ ถ้าใบไม่เป็นแฉกลึกหรือเป็นข้อบ่งบอกถึงพืชชนิดนี้เป็นมอสส์ ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ นั้นไม่สามารถแยกมอสส์และลิเวอร์เวิร์ตออกจากกันได้
มอสส์เป็นพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ทำให้ส่วนเพิ่มเติมขึ้นมานั่นคือมีแกมีโทไฟต์ ที่เด่นชัดในวงจรชีวิต คือเซลล์ของพืชมีโครโมโซมหนึ่งชุด (haploid) ส่วนสปอโรไฟต์ (คือมีโครโมโซมสองชุด (diploid)) มีชีวิตที่สั้นกว่าและขึ้นกับแกมีโทไฟต์ ถ้าจะเปรียบกับพืชชั้นสูงก็คือ ในพืชมีเมล็ด โครโมโซมหนึ่งชุดที่ใช้สืบพันธุ์ก็คือเกสรและออวุล ขณะที่โครโมโซมสองชุดเป็นพืชดอกทั้งต้น
จุดประสงค์ของการทดลอง
ศึกษาสิ่งมีชีวิตืที่สังเกตเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงและบันทึกลักษณะที่สังเกตได้
วัสดุอุปกรณ์
1. พืชตัวอย่าง คือ มอส
วัสดุอุปกรณ์
1. พืชตัวอย่าง คือ มอส
2. กล้องจุลทรรศน์
3. ที่คีบ
4. แผ่นสไลด์
5. จานเพาะเชื้อ
วิธีการทดลอง
1. นำมอส 1 ต้น ลงที่แผ่นสไลด์ที่สมบูรณ์ โดยมอสต้องมีระยแกรมีโตไฟต์ และสปอร์โรไฟต์
2. บันทึกภาพ และชี้ตำแหน่งแกรมีโตไฟต์ และสปอร์โรไฟต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น