เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 เวลา 14.30-15.15 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง สมดุลของแรง 3 แรง โดยมีอาจารย์นูรีดา กะลูแป เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ
สมดุล
สมดุล หมายถึง การไม่เปลี่ยนสภาพของการเคลื่อนที่ คือถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็จะอยู่นิ่งต่อไปหรือถ้าเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงทีลักษณะการสมดุลมี 3 ประเภท คือ
1.สมดุลเสถียร (Stable Equilibrium) หมายถึงวัตถุอยู่ในสภาพมั่นคงเมื่อถูกแรงกระทำก็ไม่เปลี่ยนสภาพจุดศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำทำให้แนวน้ำหนักออกจากฐานยาก เช่น กรวยคว่ำบนพื้น ตุ๊กตาล้มลุก เป็นต้น
2.สมดุลไม่เสถียร (Unstable Equilibrium) หมายถึง ถ้าวัตถุถูกแรงกระทำจะเปลี่ยนสภาพทันที จุดศูนย์ถ่วงอยู่สูงและฐานแคบ แนวน้ำหนักจึงพร้อมที่จะออกจากฐานทันที เช่น รูปกรวยที่เอายอดลง เหรียญบาทที่เอาขอบตั้งขึ้น เป็นต้น
3.สมดุลสะเทิน (Neutral Equilibrium) หมายถึง เมื่อวัตถุถูกแรงกระทำจะเปลี่ยนตำแหน่งแต่ยังมีลักษณะเหมือนเดิม จุดศูนย์ถ่วงอยู่ในแนวระดับเมื่อวัตถุเปลี่ยนตำแหน่งไปก็ยังคงสภาพเดิมได้ เช่น รูปกรวยที่เอาข้างลง ทรงกระบอกที่วางตามแนวนอน เป็นต้นสมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่งสมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง หมายถึง สภาพสมดุลของวัตถุที่เกิดขึ้นเมื่อแรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ ทำให้วัตถุรักษาสภาพการอยู่นิ่งของวัตถุหรือ สภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยความเร็วคงที่ไว้ – กรณีวัตถุอยู่นิ่งเรียกว่า สมดุลสถิต เช่น แรงที่กระทำต่อวัตถุตัดกันที่จุดเดียว – กรณีที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เรียกว่า สมดุลจลน์ เช่น รถยนต์วิ่งด้วยความเร็วคงที่ ลิฟท์ขึ้นด้วยความเร็วคงที่โมเมนต์และสมดุลต่อการหมุนโมเมนต์ คือ ผลของการกระทำของแรงที่ทำให้เกิดการหมุน กำหนดให้มีค่าเท่ากับแรงคูณกับระยะทางตั้งฉากจากแนวแรงไปยังจุดหมุน เป็นปริมาณเวกเตอร์ ที่มีทั้งขนาดและทิศทาง หน่วยของโมเมนต์ คือ นิวตัน.เมตร เขียนเป็นสูตรได้ว่า
โมเมนต์มี 2 ชนิด คือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น