วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

การปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

      
     เมื่อวันที่ 2 - 4 มีนาคม 2564 ผู้รับเหมาก่อสร้าง จากบริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้น แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ลงพื้นที่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ให้เป็นไปตามแบบแผนการก่อสร้างให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของโรงเรียน
      ในการลงพื้นที่ปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างครั้งนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จัดทำโต๊ะปฏิบัติการ อ่างล้างเครื่องแก้ว ระบบไฟฟ้าและระบบน้ำ เพื่อให้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกในการใช้บริการสำหรับคุณครูและนักเรียนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564

แลปปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การหาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ

            ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนสุขสวัสวัสดิ์วิทยา ได้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบััติการฟิสิกส์ เรื่อง การหาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ลีซาวาตี สาเมาะแม อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์เป็นผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติการ

แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จัดทำ MoU เพื่อร่วมกันพัฒนา PLC

  วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU (http://smp-yru.blogspot.com) ในการร่วมจัดดำเนินงานตามแผนการวิจัย โดยมีโรงเรียน SMP-YRU เป็นเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้

  
  

            สำหรับโรงเรียนที่ร่วมโครงการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในคร้ังนี้ ประกอบด้วย 12 โรงเรียน ได้แก่  1) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ  ต.สะเตง อ.เมือง  2) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง 3) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ต.ปะแต.ยะหา 4) โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 5) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน 6) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา อ.บ้านแหร อ.ธารโต 7) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง  8) โรงเรียนประทีปวิทยา ต.ลิดล อ.เมือง  9) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 10) โรงเรียนสตรีอิสลามมูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง  11) โรงเรียนดารูลฮูดาวิทยา ต.วังพญา อ.รามัน  12) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา .บาโงยซิแน อ.ยะหา ซึ่งทั้ง 12 โรงเรียน มีการจัดทำ MoU ในโครงการจัดตั้งห้องเรียน SMP-YRU มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ดั้งนั้น การจัดทำแผนการวิจัยและโครงการวิจัยในครั้งนี้ นับเป็นการต่อยอดและขยายผล เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยการยกระดับด้วยการวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสามเรื่องหลักผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Coummunities: PLC) ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ด้วย STEM Education การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) และการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)


การดำเนินงานตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วย 3 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่ 

1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย

2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย 

3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ

   ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากแผนงานวิจัยข้างต้น โรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและการพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย โครงการห้องเรียน SMP-YRU และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต.  

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564

โครงการ SMP-YRU ต่อยอดลงนาม MoU กับแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

 ในวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน SMP-YRU เป็นการต่อยอดโครงการด้วยการวิจัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU

ในการดำเนินการวิจัยใน 3 โครงการวิจัย ตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วยด้วยโครงการวิจัย ดังนี้ 

   1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย  อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย

2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย 

    3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยนี้ คาดว่าโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างทีมนักวิจัยและผู้บริหาร ครู ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต. ในจังหวัดยะลา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา 


โครงการ SMP-YRU ขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง (https://e-smp.yru.ac.th) ติวออนไลน์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย 12 โรงเรียน

   


วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564  เวลา 13.00-16.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ซึ่งมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีเป็นที่ปรึกษาโครงการ และ อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน รวมถึงคณะกรรมการดำเนินเนินงานโครงการจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) และเครือข่ายโรงเรียน SMP-YRU จำนวน 12 โรงเรียน จัด "โครงการขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์"  รวมทั้งวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษในระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งจากมหาวิทยาลัย โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์  http://e-smp.yru.ac.th  ทั้งจากการปรับเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ในปีงบประมาณตามแผนบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีพ.ศ. 2563 จากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 จากกิจกรรมเข้าค่าย เป็นกิจกรรมการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ในรายวิชาสำหรับการสอบวัดความรู้ PAT1, PAT2 และ GAT  ในรายวิชาเคมี  ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม 12 รายวิชา เน้นนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดีทัศน์ (Clip Video) มีการโต้ตอบระหว่างเรียน แบบทดสอบทบทวนเนื้อหา





   สำหรับการจัดทำและพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะการสอนเสริม (Tutorial) ด้วยวีดีทัศน์แบบโต้ตอบได้ เผยแพร่ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ผ่านเว็บไซต์การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ที่เว็บไซต์  https://e-smp.yru.ac.th ในครั้งนี้ นับเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVIE-19 ที่ทางโครงการฯ มองเห็นวิกฤติปรับให้เป็นโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และระบบจัดการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองการศึกษายุค 4.0 และสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในยุค Gen Z ซึ่งผู้เรียนอยู่ในยุคของการเรียนรู้อยู่ด้วยดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงนับเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. อย่างต่อเนื่อง

    การดำเนินการในระยะต่อไป จะเป็นขยายผลให้โอกาสแก่นักเรียนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือทั่วประเทศเข้ามาใช้ระบบและสื่อการเรียนรู้ในระบบ http://e-smp.yru.ac.th ต่อไป

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเรื่อง การทดลองวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เคมีไฟฟ้า

      

         เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 10.25 - 12.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การทดลองวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 5/1 (SMP)  โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก

       
 
        เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา  10.45 - 12.00 น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มาใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในการเรียนการสอนรายวิชา เคมี เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีอาจารย์อิลฮาม อับดุลเลาะห์ อาจารย์ประจำวิชาเคมีเป็นผู้สอน

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลาย

    

            วันที่  28 กุมภาพันธ์  2564 เวลา 08.45-10.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การเตรียมสารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์วนิดา  เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์และอุตสาหกรรม มรย. จัดกิจกรรมแนะแนวหลักสูตร และกิจกรรมทดลองทางด้านจุลชีววิทยา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา

            

        วันที่
25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ทางสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์และอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูไบด๊ะ หะยีวาเงาะ และอาจารย์ ดร.หัสลินดา บินมะแอ อาจารย์ประจำสาขาพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ประจำสาขา ได้จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาเบื้องต้น ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการการทดลองทางด้านจุลชีววิทยา ได้แลกเปลี่ยนพร้อมทั้งแนะแนวการศึกษาต่อในศาสตร์เกี่ยวกับจุลินทรีย์และการประยุกต์ใช้ประโยชน์

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย โรงเรียนประทีปวิทยา

 

วันที่ 24  กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.40 – 12.20 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย โดยมีอาจารย์อาบีเดาะ เจะอามะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี ซึ่งในการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย รวมทั้งบอกความแตกต่างระหว่างจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำละลาย โดยในการทดลองครั้งนี้ใช้เอทานอลเป็นสารบริสุทธิ์ และใช้สารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลเข้มข้น 2 mol/kg เป็นสารละลาย จากผลการทดลองทำให้นักเรียนสามารถศึกษาสมบัติบางประการของสารละลาย เช่น จุดเดือด เปรียบเทียบคุณสมบัติของสารบริสุทธิ์และสารละลายได้

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เข้าร่วมการอบรมปฏิบัติการออกแบบเค้าโครงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาในท้องถิ่น

               เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ตัวแทนนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้าร่วมการอบรมปฏิบัติการออกแบบเค้าโครงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาในท้องถิ่น

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง กายวิภาคของกบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 


        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16.30 – 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ทำการทดลองวิชาชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคของกบ โดยมี อ.ซอฟียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการเตรียมสารละลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 

        
        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30– 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บทปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจากรากหัวหอม

     

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP-YRU โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจากรากหัวหอม ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP -YRU ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีอาจารย์สุไวบะ บือราเฮง เป็นอาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้ไปศึกษาเรียนรู้ ณ ศูนย์กาารเรียนรู้ SMART FARM มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิทยาเขตแม่ลาน จังหวัดปัตตานี


            เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ 2564 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้จัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยเน้นการปฏิบัติจริง ด้านวิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน SMART FARM มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP-YRU) เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารสมัยใหม่ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จริงจากฐานการเรียนรู้ทั้งทางเกษตรและสัตวศาสตร์ สามารถไปต่อยอดทำโครงการต่อไป 
        ทั้งนี้ทางโรงเรียนก็ต้องขอขอบคุณคณะอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร สาขาเกษตรศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์ ที่บริการให้ความรู้และจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้สนุกๆให้กับนักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทีปวิทยา



วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.20 – 11.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนประทีปวิทยา นางสาวอาบีเดาะ เจะอามะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประทีปวิทยา

วัตถุประสงค์

          เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารที่สามารถสังเกตได้

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ

ปริมาณ/กลุ่ม

1. ที่ตั้งหลอดทดลอง

1 อัน

2. หลอดทดลองขนาดกลาง

7 หลอด

3. สารละลายเลด(II)ไนเตรต 0.1 mol/dm3

5 ml

4. สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.1 mol/dm3

5 ml

5. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 mol/dm3

5 ml

6. แผ่นโลหะแมกนีเซียม ขนาดประมาณ 0.3×2.0 cm2

1 ชิ้น

7. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3 mol/dm3

5 ml

8. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 mol/dm3

5 ml

9. สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง

5 ml


วิธีการทดลอง

1. นำสารละลายเลด(II)ไนเตรต ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล

2. นำแผ่นโลหะแมกนีเซียม ใส่ลงไปในหลอดทดลองที่บรรจุสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

3. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร เขย่าให้เข้ากันแล้วใช้มือจับบริเวณก้นหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล

4. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 3 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการเปลี่ยนแปลง


 
  

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด

     วันที่ 18  กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.25 – 14.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลายบริสุทธิ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย

     

     เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19.20 - 20.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1