วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา สนับสนุนและส่งนักเรียนเข้าร่วมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2565 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา



    เมื่อวันที่17-19 สิงหาคม 2565 นักเรียนโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้เข้าร่วมการแข่งขันวิชาการในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นผลจากการได้รับการสนับสนุนให้โรงเรียนมีโอกาสเข้าร่วมโครงการ SMP-YRU จึงนับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียน ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามา ณ โอกาสนี้






วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

นักเรียนในโครงการ SMP – YRU โรงเรียนดำรงวิทยา ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา



      เมื่อวันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2565 นักเรียนโรงเรียนดำรงวิทยา ได้เข้าร่วมการแข่งขันวิชาการและการบริการวิชาการในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ปี 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ ส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นผลจากการได้รับการสนับสนุนให้โรงเรียนมีโอกาสเข้าร่วมโครงการ SMP-YRU จึงนับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียน โดยกิจกรรมที่นักเรียนได้เข้าร่วมทั้งหมด มี 8 กิจกรรมด้วยกัน คือ

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิอบรมการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)

       

        เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ ห้องสะเต็มศึกษา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดอบรมการใช้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ด้วยโปรแกรมออกแบบ Tinkercad ให้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 (SMP)  โดยมี อาจารย์ อสุรินทร์ มะเด็ง เป็นผู้สอน


          3D Printer หรือ Rapid Prototype (RP) หรือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คือ นวัตกรรมการพิมพ์ที่ทำให้งานที่คุณคิดหรือออกแบบไว้ถูกผลิตออกมาได้อย่างสมจริงมีรูปลักษณ์ สามารถจับต้องได้ รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น ถ้าคุณออกแบบลูกบอล แล้วสั่งพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ คุณจะได้ลูกบอลทรงกลมตามที่ออกแบบไว้

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ปฏิบัติการเรียนการสอนเรื่อง การระเหยแห้ง โรงเรียนดำรงวิทยา

             วันที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การระเหยแห้ง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติในครั้งนี้

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำหรับครูในโรงเรียนเครือข่าย SMP-YRU

          วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ทางโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program Yala Rajabhat University (SMP-YRU) โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/ผู้รับผิดชอบโครงการฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ กล่าวรายงานโดยอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย คณะกรรมการดำเนินงานฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำหรับครูในโครงการ SMP-YRU โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้พื้นฐานด้านเทคนิคการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) มีผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ได้รับเชิญวิทยากรจากบริษัท ออฟฟิเซียล อีควิปเม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี.อี.จี. ซายน์ แอนด์ เซอร์วิส จำนวน 6 คน เพื่อบรรยายและสาธิตการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มีโรงเรียนเข้าร่วมอบรมฯ ดังนี้ 1.โรงเรียนผดุงศิลวิทยา 2. โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา 3. โรงเรียนพัฒนาวิทยากร 4. โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา 5. โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา และ 6. โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ พร้อมส่งมอบครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จำนวน 28 รายการให้กับ 3 โรงเรียนเครือข่ายที่ขยายเพิ่มในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานระดับหนึ่ง และเป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้สอนทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาโครงงานด้านวิทยาศาสตร์หรือโครงการด้านคณิตศาสตร์ต่อไปณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP-YRU (ชั้น 1 ห้อง 09-115) ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา



วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ปฏิบัติการเรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร โรงเรียนดำรงวิทยา

               วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.20 – 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์อาหารและยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ในการทดลอง

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ขอเชิญโรงเรียน SMP-YRU เข้าร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

   มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอเชิญโรงเรียน SMP-YRU และเครือข่าย เข้าร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565  ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดังรายละเอียด


วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565

กิจกรรมค่ายชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ปีที่ 4

          ระหว่างวันที่ 8-11 มิถุนายน 2565 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาได้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมค่ายชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ปีที่ 4 โดยมุ่งเน้นให้เกิดทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และสามารถหาแนวทางใหม่ๆสำหรับการจัดกิจกรรมในชมรมดาราศาสตร์ของโรงเรียนได้ ภายในค่ายฯ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้สัมผัสกับการเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่เพื่อน ๆ รวมถึงฝึกการสังเกตการณ์และถ่ายภาพทางดาราศาสตร์จาก ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประสบการณ์ที่ได้รับ ทั้งนี้กิจกรรมตลอดระยะเวลา 4 วัน 3 คืน ณ โรงแรมคุ้มไทรงาม แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จัดขึ้นโดยหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

กิจกรรมภาคบรรยายและกิจกรรมภาคปฎิบัติ โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. แนวทางการสื่อสารวิทยาศาสตร์ต่อสาธารณะชน 
2. บรรยายและกิจกรรม เรื่อง "รู้จัก ลม ฟ้า อากาศ และก้อนเมฆ"
3. การสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงเบื้องต้นด้วยตาเปล่า กล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตา
4. กิจกรรมสันทนาการ โดยชุมนุมดาราศาสตร์
5 บรรยายเรื่อง "การดูดาวเบื้องต้น"
6. บรรยายเรื่อง "ทรงกลมท้องฟ้า ระบบพิกัดท้องฟ้า และการใช้แผนที่ดาว" 
7. บรรยายเรื่อง "โครงานและกิจกรรมสำหรับชุมนุมดาราศาสตร์"
8. บรรยายเรื่อง "การติดตั้งใช้งานกล้องโทรทรรศน์"
9. การฝึกปฏิบัติตั้งกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า
10. กิจกรรมสังเกตการณ์ท้องฟ้าและกลุ่มดาวช่วงเช้ามืด และศึกษาดวงอาทิตย์ขชึ้น
11. กิจกรรมทัศนศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตย่านเมืองเก่า
12. เยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
13. กิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์
14. กิจกรรม "การใช้แผนที่ดาว"
15. กิจกรรมการสืบค้น โปรแกรม, Application ดาราศาสตร์





 

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU เข้าร่วมการประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

         วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร  มูหะมัด คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นเครือข่ายการพัฒนาโดยใช้แนวทางการศึกษาเพื่อความมั่นคง ได้เข้าร่วมประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจัดโดยศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System) ด้วยโดยแกรม Zoom Meeting ในการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายการุณ สกุลประดิษฐุ์ กรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดประชุมในนี้

          สำหรับการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน "โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือโครงการ SMP-YRU โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีกิจกรรมหลักดำเนินการคือ กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และการจัดสรรหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์ วัสดุสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ 1 โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา  2 โรงเรียนผดุงศิลวิทยา ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา  และ 3 โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี) ต.จ๊ะกว๊ะ อ.รามัน จังหวัดยะลา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และจัดหา ติดตั้งครุภัณฑ์เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ ในส่วนของผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย และห้องปฏิบัติการเสร็จทันใช้ก่อนการเปิดใช้ในการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้อย่างแน่นอน โครงการ SMP-YRU ยังได้เสนอให้พิจารณาขยายผลของโครงการต้นแบบ SMP-YRU ให้เป็นโครงการยุทธศาสตร์สำคัญตามพันธกิจของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาในพื้นที่ในระดับมัธยมศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการเชิงบูรณาการในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. และใช้การพัฒนาด้วยการศึกษา สนับสนุนการแก้ปัญหาในพื้นที่เพื่อสันติสุขต่อไป

          นอกจากนั้น โครงการ SMP-YRU ยังส่งเสริมกิจกรรมให้กับนักเรียน บุคลากรการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมรอบรมพัฒนาศักยภาพของนักเรียนด้านเทคโนโลยี กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพครู้สอนการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นร่วมกันพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย  SMP-YRU ร่วมกันทั้ง 15 โรงเรียน โดยในปีการศึกษา 2565 จะมีนักเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.4-6 ได้รับโอกาส ลดช่องว่างทางการศึกษา โดยเน้นลงมือปฏิบัติการในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ และการฝึกฝนให้มีทักษะและความสนใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรโครงการ SMP-YRU รายวิชาคณิตศาสตร์

        วันที่ 20 พฤษภาคม 256ถ เวลา 09.00-11.00 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU นำโดนผู้ช่วยศาสตราจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ และอาจารย์สาธินี วารศรี ประจำหลักสูตรคณิตศาสตร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ตัวแทนคุณครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ จากโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 14 โรงเรียน เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงโครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรโครงการ SMP-YRU รายวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meeting) ทั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดลำดับเนื้อหาในรายวิชาคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับหลักสูตร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4-6 ในโครงการ SMP-YRU ขอขอบคุณความร่วมมือจากคุณครูทุกท่านในวันนี้




วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กรรมการโครงการ SMP - YRU ลงพื้นที่ตรวจรับครุภัณฑ์ประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน


           วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ทางคณะกรรมการโครงการ SMP-YRU นำโดยอาจารย์ปฏิพัทธ์   ชุมเกศ พร้อมคณะกรรมการตรวจรับครุภัณฑ์ (ผู้รับเหมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี.อี.จี.ซายน์ แอนด์เซอร์วิส) ลงพื้นที่ โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา (ปอเนาะกาสังบน) ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ โรงเรียนผดุงศิลวิทยา ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา และโรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี) ตำบลจ๊ะกว๊ะ อำเภอรามัน เพื่อตรวจรับงานครุัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 รายการ ได้แก่  ตู้ดูดควันแบบ Mobile Hood ให้สามารถใช้งานได้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้ คาดว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานระดับหนึ่ง และเป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้สอนทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ หรือโครงการด้านคณิตศาสตร์ต่อไป ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งและจัดครุภัณฑ์ประจำห้อง ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บเครื่องมืออุปกรณ์ Projector และกระดานไวท์บอร์ดขนาดมาตรฐาน รวมทั้งการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ในแต่ละห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ทางโครงการ SMP-YRU ขอขอบคุณผู้บริหาร คุณครูที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การต้อนรับ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้กับโครงการเป็นอย่างดี ขอบคุณครับ