วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.20 – 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์อาหารและยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ในการทดลอง
ตอนที่ 1 วิธีตรวจสอบสารอาหาร
จุดประสงค์ของการทดลอง
1.
ทดสอบและสรุปสมบัติของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน
และไขมันได้
อุปกรณ์และสารเคมี
(ต่อ1 กลุ่ม)
1.
หลอดทดลองขนาดกลาง 6 หลอด
2.
บีกเกอร์ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
3.
หลอดหยด 4 หลอด
4.
แท่งแก้ว 2
อัน
5.
ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
6.
ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
7.
ที่จับหลอดทดลอง 1 อัน
8.
ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
9.
ไข่ขาวดิบ 1 ฟอง
10.
น้ำมันพืช 5 ลูกบาศก์เชนติเมตร
11.
แป้งมัน 1 กรัม
12.
สารละลายน้ำตาลกลูโคส 1 เปอร์เซ็นต์ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
13.
สารละลายไอโอดีน 1 เปอร์เซ็นต์ 5 ลูกบาศก์เชนติเมตร
14.
สารละลายเบเนดิกต์ 10 ลูกบาศก์เชนติเมตร
15.
สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร
5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
16.
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 โมลต่อลิตร 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
17.
น้ำกลั่น 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีการทดลอง
การตรวจสอบแป้งและน้ำตาล
1.
เตรียมหลอดทดลองขนาดกลางจำนวน 6 หลอด
นำมาติดหมายเลข และชื่อสารทั้ง 3 ชนิด ใส่น้ำแป้งสุก 0.1 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ลงในหลอดทดลองที่ 1
2. ใส่สารละลายน้ำตาลกลูโคส 1 เปอร์เซ็นต์จำนวน 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดที่ 3 และ 4 และใส่น้ำจำนวน 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดที่ 5 และ 6
3.
หยดสารละลายไอโอดีน 1 เปอร์เซ็นต์ลงในหลอดทดลองที่
1, 3 และ 5 หลอดละ
2-3 หยด
เขย่าให้เข้ากัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
4.
หยดสารละลายเบเนดิกต์ลงในหลอดทดลองที่ 2, 4
และ 6 หลอดละ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เขย่าให้เข้ากัน แล้วนำไปต้มในบีกเกอร์ที่มีน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที สังเกต
การเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
2. วิธีตรวจสอบโปรตีน
1.
ใส่ใข่ขาวดิบลงในหลอดทดลองขนาดกลางจำนวน 2
ลูกบาศก์เซนติเมตร เติมน้ำลงไปในหลอดทดลองจำนวน 1 ลูกบาศก์เชนติเมตรเพื่อให้เจือจาง
เขย่าให้เข้ากัน
2.
หยดสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต 0.1 โมลต่อลิตร
จำนวน 5 หยด แลสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 โมลต่อลิตร จำนวน 3 หยดลงในหลอดทดลอง
เขย่าให้เข้ากันสังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
3.
ดำเนินการตรวจสอบเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 2 แต่ใช้น้ำแทนไข่ขาว
ยิดเยี่ยมเลยครับ ทั้งเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอน Lab
ตอบลบ