วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิอบรมการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)

       

        เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ ห้องสะเต็มศึกษา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดอบรมการใช้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ด้วยโปรแกรมออกแบบ Tinkercad ให้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 (SMP)  โดยมี อาจารย์ อสุรินทร์ มะเด็ง เป็นผู้สอน


          3D Printer หรือ Rapid Prototype (RP) หรือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คือ นวัตกรรมการพิมพ์ที่ทำให้งานที่คุณคิดหรือออกแบบไว้ถูกผลิตออกมาได้อย่างสมจริงมีรูปลักษณ์ สามารถจับต้องได้ รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น ถ้าคุณออกแบบลูกบอล แล้วสั่งพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ คุณจะได้ลูกบอลทรงกลมตามที่ออกแบบไว้
        เครื่องพิมพ์ 3 มิติส่วนใหญ่ใช้หลักการทำงานเหมือนกันคือ พิมพ์แต่ละชั้นในแนวระนาบกับพื้นโลกแบบแกน XY หรือแนวตัดขวาง (Cross Section) ก่อน หลังจากนั้นเครื่องพิมพ์จะเลื่อนฐานไปพิมพ์ในชั้นถัดไป ทับไปเรื่อยๆ จนออกมาเป็นรูปร่าง 3 มิติ โดยการอบรมครั้งนี้จะใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ  ระบบฉีดเส้นพลาสติก ( FDM หรือ FFF)

ระบบฉีดเส้นพลาสติก (FDM หรือ FFF)
         เครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบ FDM (Fused Deposition Modeling) หรือ FFF เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน มีหลักการพิมพ์คือ การหลอมเส้นพลาสติกให้กลายเป็นของเหลวแล้วฉีดออกมาเป็นเส้น ด้วยหัวฉีด (Nozzle) ที่มีลักษณะคล้ายกับปืนกาว โดยเครื่องพิมพ์ FDM จะวาดเส้นพลาสติกที่ถูกฉีดออกมา เริ่มจากในแกนระนาบเป็นชั้นไปเรื่อยๆ จนได้ชิ้นงานที่ต้องการ
         โปรแกรม Tinkercad เป็นโปรแกรมออกแบบอีกหนึ่งตัวอันน่าสนใจ และได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ เป็นโปรแกรมที่ทำงานบน Web Browser โดยข้อดีของโปรแกรม Tinkercad คือ FREE!! และใช้งานง่ายมาก นอกจากความสามารถในการออกแบบแล้ว คุณก็ยัง Save เก็บไว้เพื่อนำไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ 3D Printer ได้อีกด้วย 
                        รูป เครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบ FDM (Fused Deposition Modeling) หรือ FFF 

ผลงานของนักเรียนที่เข้าอบรม










      จากการอบรมครั้งนี้ ทำให้นักเรียนรู้หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และสามารถออกแบบผลงานเป็นของตัวเองได้

2 ความคิดเห็น:

  1. ยอดเยี่ยมมากครับ สำหรับโอกาสดี ๆ ของโรงเรียนในเครือข่าย SMP-YRU

    ตอบลบ
  2. เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาห้องปฏิบัติการ STEAM ในโครงการ SMP-YRU ซึ่งได้งบประมาณสนับสนุนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

    ตอบลบ