วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ซึ่งมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีเป็นที่ปรึกษาโครงการ และ อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน รวมถึงคณะกรรมการดำเนินเนินงานโครงการจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) และเครือข่ายโรงเรียน SMP-YRU จำนวน 12 โรงเรียน จัด "โครงการขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์" รวมทั้งวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษในระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งจากมหาวิทยาลัย โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th ทั้งจากการปรับเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ในปีงบประมาณตามแผนบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีพ.ศ. 2563 จากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 จากกิจกรรมเข้าค่าย เป็นกิจกรรมการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ในรายวิชาสำหรับการสอบวัดความรู้ PAT1, PAT2 และ GAT ในรายวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม 12 รายวิชา เน้นนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดีทัศน์ (Clip Video) มีการโต้ตอบระหว่างเรียน แบบทดสอบทบทวนเนื้อหา
สำหรับการจัดทำและพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะการสอนเสริม (Tutorial) ด้วยวีดีทัศน์แบบโต้ตอบได้ เผยแพร่ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ผ่านเว็บไซต์การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://e-smp.yru.ac.th ในครั้งนี้ นับเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVIE-19 ที่ทางโครงการฯ มองเห็นวิกฤติปรับให้เป็นโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และระบบจัดการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองการศึกษายุค 4.0 และสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในยุค Gen Z ซึ่งผู้เรียนอยู่ในยุคของการเรียนรู้อยู่ด้วยดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงนับเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการในระยะต่อไป จะเป็นขยายผลให้โอกาสแก่นักเรียนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือทั่วประเทศเข้ามาใช้ระบบและสื่อการเรียนรู้ในระบบ http://e-smp.yru.ac.th ต่อไป