เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 เวลา 10.00– 11.20
น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียน พิเศษ smp โรงเรียนคัมภีร์วิทยา
มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนต์ของแรง แก่นักเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โดยมี อ.นูรีดา กะลูแป เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฎิบัติการ
มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนต์ของแรง แก่นักเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โดยมี อ.นูรีดา กะลูแป เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฎิบัติการ
วัตถุประสงค์การทดลอง
1.อธิบายสมดุลกลของวัตถุ
โมเมนต์ของแรงและผลรวมของโมเมนต์ที่มีต่อการหมุ่น
2.คำนวนโมเมนต์ของแรง
และผลรวมของโมเมนต์ของแรงที่มีต่อการหมุ่น
โมเมนต์ของแรง
โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์
(moment) หมายถึง
ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น
โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร
ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ
1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์
จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2
(นิวตัน-เมตร)
โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1
(นิวตัน-เมตร)
****ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง
แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา =
ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
คาน
หลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever)
หรือคานดีดคานงัด
คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum)
มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์
รูปแสดงลักษณะของคาน
ส่วนประกอบของคาน
ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน
คือ
1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum)
F
2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ
3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคาน
ภาพประกอบการทดลอง
จาการลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตัวเองของนักเรียนทำให้สามารถทดลองและอธิบายโมเมนต์ของแรงและสมดุลคาน สามารถสรุปและสังเกตได้ว่า ถ้าคานเป็นคานที่มีน้ำหนักสม่ำเสมอ นำ้หนักของคานจะตกตรงจุดกึ่งกลางของคาน ถ้าต้องการใหคานช่วยผ่อนแรงจะต้องให้ระยะตั้งฉากจากแรงความพยายามไปยังจุดหมุนยาวกว่าระยะตั้งฉากจากแรงความต้านทานไปยังจุดหมุน และสามารถเชื่อมโยงความรู้ แนวคิดของนักเรียนกับชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำหลักการโมเมนต์มาช่วยให้เราออกแรงน้อยๆ แต่สามารถยกนำ้หนักมากๆได้
นักเรียนมีความสุขกับการได้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ สร้างทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ตอบลบ