วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างสัตว์

            วันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 16.05 - 17.00 น  ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง โครงสร้างสัตว์ โดยมีอาจารย์ อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา


วัตถุประสงค์
          1.  เพื่อศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในต่างๆของสัตว์
             2.  เพื่อศึกษาลักษณะหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างในสัตว์


ลักษณะโครงสร้างการผ่ากบ


ลักษณะการผ่าใส้เดือน


       
                                  ลักษณะการผ่าปลาไหล                                        ลักษณะการผ่าปลาทับทิม

กบ (Rana rugulosa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ลำตัวค่อนข้างกลมรี มีขา 2คู่ คู่หน้าสั้น คู่หลังยาว หัวมีส่วนกว้างมากกว่าความยาวจะงอยปากสั้นทูจมูกตั้งอยู่บริเวณโค้งตอนปลายของจะงอยปากนัยน์ ตาโต และ มีหนังตาปิด - เปิดได้ ปากกว้างมีฟันเป็นแผ่น ๆ อยู่บนกระดูกเพดาน ตัวผู้มีถุงเสียงอยู่ใต้คางและจะมีขนาด เล็กกว่าตัวเมีย ขาคู่สั้นมีนิ้ว 4 นิ้ว ปลายนิ้วเป็นตุ่มกลม ขาคู่หลังยาวมี 5 นิ้ว ระหว่างนิ้วมีหนังเป็นพังผืด สี ของลำตัวด้านหลังเป็นสีเขียวปนน้ำาตาลมีจุดสีดำกระจายเป็นประอยู่ทั่วตัว ตามธรรมชาติกบจะหากินอยู่ตาม ลำห้วย หนอง บึง และท้องนา กบจะกินปลา กุ้ง แมลงและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
 ไส้เดือนดินหรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่าไส้เดือน(Earthworm)เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดาในอันดับย่อยLumbricinaมีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องพบได้ทั่วไปในดินใต้กองใบไม้หรือใต้มูลสัตว์เป็นสัตว์ที่มี2เพศในตัวเดียวกัน แต่มีการสืบพันธุ์แบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ 
 ปลา (Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็นหายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัวบางชนิดมีเกล็ด ปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่นๆหรือแผ่นกระดูกมีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจําพวกปลาฉลาม
      จากการทดลองนักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาโครงสร้างสัตว์ต่างๆทั้งภายในและภายนอกมากขึ้น  
                                                                                                          













1 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมากครับ การเรียนรู้ด้วยการลงมือทดลองทำจริง ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นตลอดเวลา

    ตอบลบ