วันที่ 7 มกราคม 2562 เวลา 14.30– 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองวิชาเคมีเรื่องเรื่องการไทเทรกรดอ่อนกับเบสแก่ โดยมี อ.สูไวนะ เบ็ญดาโอะ อาจารย์ประจำวิชาเคมี เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1.ทดลองเพื่อหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทตรกรด-เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์บอกจุดยุติ
2.เพื่อทราบอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการไทเทรตกรดอ่อนกับเบสแก่
การไทเทรตกรด-เบส หมายถึง กระบวนการหาปริมาณสาร โดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน ให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดี ทำให้คำนวณหาความเข้มข้นหรือปริมาณของสารตัวอย่างดังกล่าวได้ วิธีการไทเทรตกรด-เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน กล่าวคือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไป หรือทางตรงกันข้าม ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด
อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
การเลือกอินดิเคเตอร์สำหรับการไทเทรตกรดอ่อน เช่น กรดแอซิติก กับเบสแก่ เช่น NaOH จะมีข้อจำกัดมากกว่าที่จุดสมมูลของการไทเทรต สารละลายจะมีโซเดียมแอซิเตต ทำให้สารละลายเป็นเบส มี pH มากกว่า 7
อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
การเลือกอินดิเคเตอร์สำหรับการไทเทรตกรดอ่อน เช่น กรดแอซิติก กับเบสแก่ เช่น NaOH จะมีข้อจำกัดมากกว่าที่จุดสมมูลของการไทเทรต สารละลายจะมีโซเดียมแอซิเตต ทำให้สารละลายเป็นเบส มี pH มากกว่า 7
ภาพกราฟแสดงการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่และอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสม |
สารเคมีที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้
1. กรดแอซิติก
2. 0.100 M NaOH
3.ฟีนอล์ฟทาลีน
4.โบรโมไทมอลบลู
ผลการไทเทรตเทรตระหว่างกรดอ่อน (กรดแอซิติก) กับเบสแก่ (NaOH)
ที่จุดยุติ เมือใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ พบว่า ซ้าย= ก่อนจุดยุติ (สีใส) กลาง= ที่จุดยุติ (สีชมพูอ่อน) ขวา=เกินจุตยุติ (สีชมพูเข้ม) |
ที่จุดยุติ เมือใช้โบรโมไทมอลบลู เป็นอินดิเคเตอร์ พบว่า ซ้าย= เกินจุดยุติ (สีนำ้เงินเข้ม) กลาง= ที่จุดยุติ (สีฟ้า) ขวา=ก่อนจุตยุติ (สีเหลื่อง) |
ภาพประกอบการทดลอง
วิดีโอแสดงการไทเทรต
จากการทดลองในครั้งนี้ทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการไทเทรตมากขึ้นและสามารถบอกได้ว่าอินเดอร์ที่เหมาะสมในการไทเทรตกรดอ่อนกับเบสแก่ คือ ฟีนอล์ฟทาลีน เพราะฟีนอล์ฟทาลีนจะเปลี่ยนสีที่จุดสมมูลพอดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น