วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการไทเทรตกรดอ่อนกับเบสแก่


       เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 เวลา 14.30– 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองวิชาเคมีเรื่องเรื่องการไทเทรกรดอ่อนกับเบสแก่ โดยมี อ.รุสนี สาแม อาจารย์ประจำวิชาเคมี เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการไทเทรต
      ในการวัดปริมาตรของสารละลายในการไทเทรต จะต้องใช้อุปกรณ์ที่วัดปริมาตรได้ละเอียด ได้แก่
 บิวเรต ปิเปตต์ ดังรูป

วัตถุประสงค์
      1.ทดลองเพื่อหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทตรกรด-เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์บอกจุดยุติ
      2.เพื่อทราบอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการไทเทรตกรดอ่อนกับเบสแก่

การไทเทรตกรด-เบส 
       หมายถึง กระบวนการหาปริมาณสาร โดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน ให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดี ทำให้คำนวณหาความเข้มข้นหรือปริมาณของสารตัวอย่างดังกล่าวได้ วิธีการไทเทรตกรด-เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน กล่าวคือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไป หรือทางตรงกันข้าม ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด

จุดยุติ (End point)
         จุดยุติ (End point) คือ จุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีขณะไทเทรตกรด-เบสอยู่ หรือจะเรียกว่าเป็นจุดที่หยุดการไทเทรตก็ได้นะ โดยที่จุดยุติจะใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้นั้นต้องเลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับในทางปฏิบัติแล้วถือว่าจุดยุติเป็นจุดเดียวกับจุดสมมูล

อินดิเคเตอร์กับการไทเทรตกรด-เบส
        อินดิเคเตอร์กรด-เบสที่เหมาะสมกับปฏิกิริยาการไทเทรตจะต้องมีค่าpHที่จุดกึ่งกลางช่วงการเปลี่ยนสีใกล้เคียงหรือเท่ากับ pHที่จุดสมมูลของปฏิกิริยา นอกจากนี้การเลือกใช้อินดิเคเตอร์กรด-เบสต้องพิจารณาสีที่ปรากฎ จะต้องมีความเข้มมากพอที่จะมองเห็นได้ง่าย หรือเห็นการเปลี่ยนสีได้ชัดเจน ช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์จะเกิดขึ้นในช่วง 2 หน่วยpH  การเลือกอินดิเคเตอร์มันก็ขึ้นอยู่กับชนิดของปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส เพราะที่จุดสมมูลของแต่ละปฏิกิริยานั้น มีค่า pH ที่ต่างกัน






1 ความคิดเห็น:

  1. ดูแต่ละคนมีความสุขในการลงมือทำมาก ๆ ครับ อนาคตนักวิทยาศาสตร์ครับ

    ตอบลบ