วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลาย

            วันที่ 12 มกราคม  2562 เวลา 11.05-12.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การเตรียมสารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์วนิดา  เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ


การเตรียมสารละลาย
การเตรียมสารละลายต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นตามที่ต้องการสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
1. การเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์
2. การเตรียมสารละลายจากสารละลายเข้มข้น

1. การเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์ ทำได้โดยละลายสารบริสุทธิ์ตามปริมาณที่ต้องการในตัวทำละลายปริมาณเล็กน้อย แล้วปรับ ปริมาตรของสารละลายให้ได้ตามที่ต้องการเตรียม 
2. การเตรียมสารละลายจากสารละลายเข้มข้น เป็นการเตรียมสารละลายโดยใช้สารละลายเดิมซึ่งมีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายที่จะเตรียมมาเติมน้ำให้เจือจางลงจนมีความเข้มข้นตามที่ต้องการในการทำให้สารละลายเข้มข้นเจือจางลงนั้นความเข้มข้นของสารละลายจะถูกต้องเพียงใดขึ้นอยู่กับการวัดปริมาตร อุปกรณ์ที่นิยมใช้วัดปริมาตรของสารละลายเดิม คือ ปิเปตต์ หรือกระบอกตวง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรของสารละลายใหม่ คือ ขวดวัดปริมาตร อุปกรณ์วัดปริมาตรจะใช้ขนาดใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาตรของสารละลาย คือ จะต้องเลือกใช้ปิเปตต์หรือกระบอกตวง และขวดวัดปริมาตรที่มีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของสารละลาย การเตรียมสารละลายโดยวิธีนี้มีลำดับขั้นการเตรียมดังนี้
                                                              
                                                                       โดยใช้สูตร M1V1 = M2V2
กำหนดให้ M= เป็นความเข้มข้นสารละลายก่อนเจือจางV= เป็นปริมาตรสารละลายก่อนเจือจางM= เป็นความเข้มข้นสารละลายหลังเจือจางV= เป็นปริมาตรสารละลายหลังเจือจาง

ภาพประกอบการทดลอง













 วีดีโอการทดลอง


         จากการทดลอง นักเรียนมีทักษะการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งรู้วิธีการเตรียมสารละลายซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นของการเรียนวิทยาศาสตร์






























1 ความคิดเห็น: