วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

สื่อประกอบการเรียนการสอนแบบจำลองโมเลกุล

      วันที่ 14 กันยายน 2562 เวลา 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ แบบจำลองโมเลกุล  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์ วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี


รูปร่างโมเลกุลโคเวลนต์
การจัดเรียงอะตอมต่าง ๆ ในโมเลกุลโคเวเลนต์มีตำแหน่งและทิศทางที่แน่นอนจึงทำให้โมเลกุลโคเวเลนต์ของสารต่าง ๆ มีรูปร่างแตกต่างกัน สิ่งที่ใช้บอกรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ คือ การจัดเวเลนต์อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางของธาตุในโมเลกุลโคเวเลนต์ นอกจากนั้นความยาวพันธะและมุมระหว่างพันธะยังสามารถใช้บอกรูปร่างโมเลกุลได้ด้วย
ความยาวพันธะ(Bond length)  คือ ระยะทางระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่หนึ่งที่มีพันธะต่อกัน 
มุมระหว่างพันธะ(Bond angle)  คือ มุมที่เกิดจากอะตอมสองอะตอมทำกับอะตอมกลางหรือมุมที่เกิดระหว่างพันธะสองพันธะ เช่น 

มุม เป็นมุมระหว่างพันธะในโมเลกุล yx2และมุมระหว่างพันธะจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะรอบ ๆ อะตอมกลาง โดยถือหลักว่าโมเลกุลที่เสถียรจะต้องมีพลังงานต่ำนั่นคือ อะตอมในโมเลกุลต้องจัดเรียงตัวกันเพื่อให้มแรงผลักของคู่อิเล็กตรอนให้น้อยที่สุด
การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ 
โมเลกุลโคเวเลนต์จะมีรูปร่างเป็นอย่างไร พิจารณาจาก 
1. จำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะรอบอะตอมกลาง (bonding electron)
2. จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง (non bonding electron)
ดังนั้น การทำนายรูปร่างโมเลกุลให้เลือกอะตอมกลาง ซึ่งเป็นอะตอมที่สร้างพันธะได้มากที่สุดก่อน และนับจำนวนพันธะที่อะตอมกลางสร้างได้ และจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางนั้น แรงผลักทั้งหมดของคู่อิเล็กตรอนที่เกิดจากการสร้างพันธะและไม่ได้สร้างพันธะจะทำให้เกิดรูปร่างโมเลกุลที่แตกต่างกันดังนี้
1. รูปร่างเส้นตรง ( Linear

 2. รูปร่างสามเหลี่ยมแบนราบ (Trigonal plana) 

3. รูปร่างทรงสี่หน้า (Tetarhedral)

4. รูปร่างพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม (Trigonal bipyramiddal)

ภาพประกอบการเรียนการสอน






  ➧จากการเรียนโดยใช้สื่อแบบจำลองโมเลกุลครั้งนี้ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในโครงสร้างของโมเลกุลมากขึ้นและสามารถอธิบายสมบัติ โครงสร้างต่างๆที่พบได้ 




1 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมมากครับ เป็นการใช้ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

    ตอบลบ