วันที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 10.30 - 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ smp โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
โดยมี อ.นูรซีลา สะเต๊ะ เป้นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ
➤ เซลล์ คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตเซลล์(Cell)มีอยู่หลายชนิดซึ่งมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์(cell)และหน้าที่การทำงานของเซลล์(cell) แต่เซลล์(cell)มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน ที่มีเหมือนกัน คือ เยื่อหุ้มเซลล์(cell membrane) ไซโตพลาซึม(cytoplasm)และนิวเคลียส(nucleus) โดยเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์(cell)และกั้นเซลล์(cell)จากสิ่งแวดล้อมภายนอก ภายในเซลล์(cell)มีโครงสร้างเล็ก ๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) ล่องลอยอยู่ในส่วนของเหลวที่เรียกว่า ไซโตซอล (cytosol) ออร์แกเนลล์เหล่านี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันมีนิวเคลียส เป็นศูนย์กลางควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม(metabolism)ต่าง ๆและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
➤ กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่สำคัญในการศึกษาทางด้านชีววิทยา ช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตหรือส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้สามารถมองเห็นวัตถุขนาดเล็กนั้นได้เนื่องจากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องจุลทรรศน์มีราคาแพง ซึ่งถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะทาให้เกิดความเสียหายได้ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรรู้จักวิธีการใช้และการดูแลเก็บรักษากล้องจุลทรรศน์
1.นักเรียนสามารถบอกชื่อและอธิบายการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้อง
2.นักเรียนสามารถเตรียมสไลด์สด wet mount
3.ศึกษาสิ่งมีชีวิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น เซลล์พืช เซลล์สัตว์ เป็นต้น
(ซ้าย) เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม ที่กำลังขยาย 10 X (ขวา) เซลล์หอมแดง ที่กำลังขยาย 10x |
จากการทดลองครั้งนี้ทำให้นักเรียนทราบวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างเซลล์สัตว์กับเซลล์พืช แยกองค์ประกอบของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ คลอโรพลาส และสามารถต่อยอดความรู้นำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการเรียนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น