วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาโครงสร้างภายในของรากพืช




มื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562  เวลา 08.00 - 09.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาโครงสร้างภายในของรากพืช สำหรับกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 SMP โดยมี อ.ซอฟียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน



วัตถุประสงค์
1. นักเรียนสามารถทำสไลด์สดของราก และลำต้นพืชได้
2.นักเรียนสามารถใช้งานกล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง

เนื้อเยื่อพืช(Plant tissue)
      เนื้อเยื่อพืช คือ กลุ่มของเซลล์พืชชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันที่มาทำงานร่วมกันภายใต้โครงสร้างหรืออวัยวะต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ เนื้อเยื่อพืชสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) และ เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue)

โครงสร้างภายในของรากพืช
     รากของพืชมีหน้าที่สำคัญ คือ ยึดลำต้นให้ติดอยู่กับพื้นดิน ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ ๆ จากดิน ส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้น รากของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร รากเช่นนี้จะมีลักษณะเป็นหัว เช่น หัวไชเท้า
 แครอท มันเทศ มันแกว ต้อยติ่ง กระชาย ถั่วพู เป็นต้น รากพืชบางชนิดมีสีเขียว จึงสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น
 รากกล้วยไม้ รากบางชนิดทำหน้าที่ค้ำจุน (Prop root) เช่นไทรย้อย เตย ลำเจียก โกงกาง รากบางชนิดทำหน้าที่เกาะ (Climbing root) เช่น รากพลู พลูด่าง พริกไทย กล้วยไม้ เป็นต้น


วัสดุและอุปกรณ์
1.กล้องจุลทรรศน์
2.สีย้อมซาฟรานิน
3.ตัวอย่างพืช เช่น รากถั่ว รากกล้วยไม้ รากแก้วมังกร
4.ใบมีดโกน
5.จานเพาะเชื้อ
6.เข็มเขี่ยปลายแหลม
7.สไลด์และกระจกปิดสไลด์
8.หลอดหยดสาร
9.กระดาษทิชชู

โครงสร้างภายในรากถั่ว ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ที่กำลังขยาย 40x


ภาพประกอบการทดลอง



จาการทดลองและลงมือปฏิบัติในครั้งนี้ทำให้นักเรียนสามารถอธิบายโครงสร้างภายในรากของพืชและเปรียบเทียบโครงสร้างดังกล่าวของพืชใบเลียงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มทักษะและประสบการณ์ในการทำปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน เพื่อสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น