วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คณะกรรมการ SMP-YRU ลงพื้นที่ให้กำลังใจนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

            วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. นำโดย ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้รับผิดชอบโครงการฯ  ได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ระดับนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าศึกษาดูงานด้านการเกษตรสมัยใหม่ และด้านพลังงานทดแทน ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จำนวน 111 คน มีโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วม จำนวน 2 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ และ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม เพื่อเพิ่มทักษะ เจตคติที่ดี และเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากฐานการเรียนรู้ สามารถนำมาบูรณาการในรายวิชา เพื่อต่อยอดและสร้างสรรค์ด้านวิชาการต่อไป รวมถึงการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ไปต่อยอด และการตัดสินใจศึกษาต่อ ของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับวิทยากรจากหลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (https://science.yru.ac.th/agriculture2016/) หลักสูตรสัตวศาสตร์และธุรกิจปศุสัตว์ (https://science.yru.ac.th/animalsci2016/) หลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานทดแทน (https://science.yru.ac.th/energy/) หลักสูตรสาขาวิชาการประกอบอาหารฮาลาล (https://science.yru.ac.th/halalculinary/) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม (https://science.yru.ac.th/cosmetic/)  ทั้งนี้ นับเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาแกนในสาขา โดยมีนักศึกษาร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากร โดยนำทักษะและความรู้จากชั้นเรียนสู่การปฏิบัติ





วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คณะกรรมการโครงการ SMP-YRU และสมาคมศิษย์เก่าไทยอินโดนีเซียลงพื้นที่โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ และโรงเรียนดารูลฮูดาห์วิทยา

คณะผู้บริหารโรงเรียนดารูลฮูดาห์วิทยา
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น. ที่ผ่านมาคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานดำเนินงานโครงการ อาจารย์ ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยวิจัย ลงพื้นที่โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา และโรงเรียนดารูลฮูดาห์วิทยา ต.วังพญา อ.รามัญ จ.ยะลา เพื่อพบปะผู้บริหารโรงเรียน คณะครูโครงการ SMP-YRU ของโรงเรียน เป็นกิจกรรมติดตามผลดำเนินงานของโรงเรียนทุกปีและร่วมกันดำเนินการตรวจรับวัสดุครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ประจำปีของโรงเรียน
คณะผู้บริหารโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์

       พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้แทนจากสมาคมศิษย์เก่าไทยอินโดนีเซีย ร่วมลงพื้นที่ทั้งสองโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการ เพื่อประชาสัมพันธ์การสมัครขอรับทุนศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียหลายแห่ง ที่เสนอให้ทุนการศึกษาแบบให้เปล่า นับว่าเป็นการสร้างเครือข่ายแหล่งทุนสนับสนุนให้นักเรียนในโครงการ SMP-YRU และเป็นการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีบริบท สภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับบริบทในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จะเป็นช่วงรับสมัครและเสนอข้อมูลประกอบ นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ทุกโรงเรียน ที่สนใจศึกษาต่อประเทศอินโดนีเซีย ติดตามและติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ Fan Page ของสมาคมศิษย์เก่าไทยอินโดนีเซียได้ที่ https://www.facebook.com/people/Persatuan-Alumni-Indonesia-Thai-Persait/100063499305577

 

  



วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สอบคัดเลือก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566 ณ โรงเรียนเครือข่าย

        
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00 - 16.30 น. ทางโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ได้กำหนดจัดสอบคัดเลือก นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 (รุ่นที่ 7)  ประจำปีการศึกษา 2566 ณ โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 14 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ภายใต้กำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยทำการสอบ 4 วิชา ดังนี้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ :ซึ่งในปีนี้มีนักเรียนที่สนใจสมัครสอบคัดเลือก จำนวนทั้งหมด 818 คน จากโรงเรียนในเครือข่าย โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นผู้ออกข้อสอบ เพื่อกำหนดมาตรฐานในการสอบเข้าเรียนต่อในโครงการ SMP-YRU ในครั้งนี้




วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

งานมหกรรมวิชาการโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ภายใต้โครงการอุทยานความคิด



>>> โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ยะลา <<<
    นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้ร่วมจัดกิจกรรมในงานมหกรรมวิชาการโรงเรียน ภายใต้โครงการอุทยานความคิด โดยเปิดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐานกิจกรรมมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นักเรียนในโครงการ SMP-YRU โรงเรียนดำรงวิทยา ไปทัศนศึกษา ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดสงขลา


        เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (SMP - YRU) โรงเรียนดำรงวิทยา ได้ไปทัศนศึกษา ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดสงขลา โดยมีกิจกรรมการเยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์ และการแสดง Science Show เพื่อเปิดโลกทัศน์ เปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้นอกห้องเรียน และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ของนักเรียน เพื่อต่อยอด รังสรรค์ และประยุกต์ใช้ในรายวิชาในอนาคตต่อไป

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำ portfolio ด้วย Canva สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

          วันที่ 3 กุมภา 2565 เวลา 09.00-16.00 น. จัด"อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ด้วยแอปพลิเคชัน  Canva.com สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จำนวน 29 คน และโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ตำบลบาโงบซิแน อำเภอยะหา จำนวน 35 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบกลาง (TCAS) ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (25 - 605) อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี เป็นประธานฯ โดยมีนายไฮดี แวเด็ง เป็นวิทยากร พร้อมด้วย นางสาวสุณีย์ ตอแลมา และนางสาวฮาลีเมาะ เลาะแม เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในครั้งนี้


ตัวอย่างผลงาน


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านปฏิบัติการเคมี เรื่อง การไทเทรตหาจุดยุติ ด้วยฟีนอล์ฟทาลีน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพัฒนาวิทยากร


เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ณ ห้องปฏิบัติการ SMP - YRU โรงเรียนพัฒนาวิทยากร นางอามีเนาะ ดีปาตี ครูผู้สอนรายวิชา เคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง การไทเทรตหาจุดยุติ ด้วยฟีนอล์ฟทาลีน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและเป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการในครั้งนี้

จุดประสงค์การทดลอง

       1. เพื่อเพิ่มทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การไทเทรต

       2. ทำการทดลอง เพื่อศึกษาการหาจุดยุติโดยวิธีการไทเทรตได้

อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง

       1. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์                    6. ขวดรูปชมพู่

       2. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก                         7. บีกเกอร์

       3. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน                              8. หลอดหยด

       5. บิวเรตต์                                                     10. ขาตั้งพร้อมที่จับ

    

             


วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP-YRU) ณ โรงเรียนพัฒนาวิทยากร

        วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์อับดุลรอซะ วรรณอาลี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี ให้เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี อาจารย์และผู้รับผิดชอบโครงการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด อาจารย์ฐิติรัตน์ นิลวิจตร คณะกรรมการดำเนินงานฯ นางหวันสะปีเยาะ กอระ ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอรามัน ตัวแทน ฉก.ในพื้นที่รามัน รวมถึงชุมชนเครือข่ายในพื้นที่เป็นสักขีพยานร่วมกัน "เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (Science and Mathematics Program Yala Rajabhat University: SMP YRU) ในวันนี้ ณ โรงเรียนพัฒนาวิทยากร ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา  เป็นโรงเรียนลำดับที่ 15" เพื่อการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยมีการแสดงจากนักเรียน ดังนี้ 1) การอ่านคัมภีร์อัล-กรุอาน 2) การแสดง Science Show และ 3) กิจกรรมเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

        โครงการ SMP-YRU ได้ดำเนินการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 - จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินงานอย่างเนื่อง ซึ่งมีโรงเรียนเครือข่ายทั้งหมด 15 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2665 ได้ขยายโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนผดุงศีลวิทยา โรงเรียนเจริญศาสน์วิทยา และโรงเรียนพัฒนาวิทยากร เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเยาวชน และชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนในเมือง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาสร้างความเสมอภาคในการเรียนรู้  สังเกตเห็นแววตาความดีใจของนักเรียนและครู ที่มีโอกาสใช้ห้องปฏิบัติการวิทย์และอุปกรณ์ทดลองแล้ว ทีม มรย. มีกำลังใจอีกโขที่จะขับเคลื่อน SMP-YRU ต่อไปครับ