วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง กายวิภาคของกบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 


        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16.30 – 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ทำการทดลองวิชาชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคของกบ โดยมี อ.ซอฟียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของกบ
2.เพื่อศึกษาลักษณะหน้าที่การทำงานของอวัยวะกบ
3.เพื่อศึกษาระบบทางเดินอาหารของกบ

ลักษณะทั่วไปของกบ (Frog)

    กบเป็นสัตว์ที่แพร่กระจายทั่วโลกแต่มีมากในเขตร้อน กบมีลักษณะผิวหนังเรียบลื่นและเปียกชื้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ทั้งในน้ำและบนบก และบนบกและสามารถปรับสีผิวให้กลืนไปกับธรรมชาติ เพื่อป้องกันตัวกบบางชนิดตัวใหญ่มาก เช่น Bullfrog ตัวยาวจากหัวไปถึงปลายขาประมาณ 20 ซม. กระโดดได้ไกล 2-3 เมตร และมีเสียงร้องที่ดังมาก กบมีการแลกเปลี่ยนแก๊สทางผิวหนัง โดยออกซิเจนละลายกับน้ำที่เคลือบบนผิวหนัง ดังนั้นถ้าผิวแห้งกบจะตาย กบมีด้านต่าง ๆ คือ ด้านหัว หรือด้านหน้า (anterior) และด้านท้าย (posterior) ด้านที่หันเข้าทางพื้นดินเป็นด้านท้อง (ventral) ด้านบนสีเข้มเป็นด้านหลัง (dorsal) ดังนั้นถ้าจับขาหน้าสองข้างและหันด้านท้องออกไปข้างหน้าตัวเรา กบจะตั้งตัวอยู่ในลักษณะเดียวกับเรา ซีกที่มือขวาจับจึงเป็นซีกขวา และซีกที่มือซ้ายจับเป็นซีกซ้าย

วัสดุและอุปกรณ์
1. กบ
2. ถาดผ่าตัด
3. ชุดอุปกรณ์ผ่าตัด (มีดผ่าตัด กรรไกร เข็มเขี่ย ปากคีบ ฯ)
4. เข็มหมุด5.ถุงมือ

วิธีการทดลอง
1.ทำให้กบสลบ โดยการดมอีเทอร์/ ทำลายสมองโดยใช้เข็มหมุด หรือใช้การน็อคน้ำแข็ง
2.นำกบมาวางบนถาด ผ่ากบโดยใช้มีดกรีดและกรรไกร ให้เป็นรูปตัว T/ I ผ่าทีละชั้น
3.ศึกษาโครงสร้างต่างๆ วาดภาพ และชี้ส่วนประกอบ


















1 ความคิดเห็น:

  1. อนาคตแพทย์แน่ๆ ขอให้นักเรียน SMP-YRU ทุกคน ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเรียนต่อในสาขาที่ชอบและที่ใช่นะครับ

    ตอบลบ