วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลาย

    

            วันที่  28 กุมภาพันธ์  2564 เวลา 08.45-10.25 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การเตรียมสารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์วนิดา  เหาะแอ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์และอุตสาหกรรม มรย. จัดกิจกรรมแนะแนวหลักสูตร และกิจกรรมทดลองทางด้านจุลชีววิทยา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา

            

        วันที่
25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ทางสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์และอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูไบด๊ะ หะยีวาเงาะ และอาจารย์ ดร.หัสลินดา บินมะแอ อาจารย์ประจำสาขาพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ประจำสาขา ได้จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาเบื้องต้น ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการการทดลองทางด้านจุลชีววิทยา ได้แลกเปลี่ยนพร้อมทั้งแนะแนวการศึกษาต่อในศาสตร์เกี่ยวกับจุลินทรีย์และการประยุกต์ใช้ประโยชน์

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย โรงเรียนประทีปวิทยา

 

วันที่ 24  กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.40 – 12.20 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย โดยมีอาจารย์อาบีเดาะ เจะอามะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี ซึ่งในการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย รวมทั้งบอกความแตกต่างระหว่างจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำละลาย โดยในการทดลองครั้งนี้ใช้เอทานอลเป็นสารบริสุทธิ์ และใช้สารละลายกลีเซอรอลในเอทานอลเข้มข้น 2 mol/kg เป็นสารละลาย จากผลการทดลองทำให้นักเรียนสามารถศึกษาสมบัติบางประการของสารละลาย เช่น จุดเดือด เปรียบเทียบคุณสมบัติของสารบริสุทธิ์และสารละลายได้

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เข้าร่วมการอบรมปฏิบัติการออกแบบเค้าโครงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาในท้องถิ่น

               เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ตัวแทนนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้าร่วมการอบรมปฏิบัติการออกแบบเค้าโครงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาในท้องถิ่น

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง กายวิภาคของกบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 


        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16.30 – 17.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ทำการทดลองวิชาชีววิทยา เรื่อง กายวิภาคของกบ โดยมี อ.ซอฟียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่องการเตรียมสารละลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 

        
        วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30– 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บทปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจากรากหัวหอม

     

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP-YRU โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจากรากหัวหอม ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP -YRU ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีอาจารย์สุไวบะ บือราเฮง เป็นอาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้ไปศึกษาเรียนรู้ ณ ศูนย์กาารเรียนรู้ SMART FARM มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิทยาเขตแม่ลาน จังหวัดปัตตานี


            เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ 2564 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้จัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยเน้นการปฏิบัติจริง ด้านวิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน SMART FARM มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP-YRU) เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารสมัยใหม่ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จริงจากฐานการเรียนรู้ทั้งทางเกษตรและสัตวศาสตร์ สามารถไปต่อยอดทำโครงการต่อไป 
        ทั้งนี้ทางโรงเรียนก็ต้องขอขอบคุณคณะอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร สาขาเกษตรศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์ ที่บริการให้ความรู้และจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้สนุกๆให้กับนักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประทีปวิทยา



วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.20 – 11.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนประทีปวิทยา นางสาวอาบีเดาะ เจะอามะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนประทีปวิทยา

วัตถุประสงค์

          เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารที่สามารถสังเกตได้

วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี

รายการ

ปริมาณ/กลุ่ม

1. ที่ตั้งหลอดทดลอง

1 อัน

2. หลอดทดลองขนาดกลาง

7 หลอด

3. สารละลายเลด(II)ไนเตรต 0.1 mol/dm3

5 ml

4. สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.1 mol/dm3

5 ml

5. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 mol/dm3

5 ml

6. แผ่นโลหะแมกนีเซียม ขนาดประมาณ 0.3×2.0 cm2

1 ชิ้น

7. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3 mol/dm3

5 ml

8. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 mol/dm3

5 ml

9. สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง

5 ml


วิธีการทดลอง

1. นำสารละลายเลด(II)ไนเตรต ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ ที่มีความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล

2. นำแผ่นโลหะแมกนีเซียม ใส่ลงไปในหลอดทดลองที่บรรจุสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

3. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร เขย่าให้เข้ากันแล้วใช้มือจับบริเวณก้นหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล

4. นำสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ที่มีความเข้มข้น 3 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จำนวน 5 มิลลลิตร ผสมกับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเจือจาง จำนวน 5 มิลลลิตร สังเกตการเปลี่ยนแปลง


 
  

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด

     วันที่ 18  กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.25 – 14.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมสารละลายบริสุทธิ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บทปฏิบัติการเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย

     

     เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19.20 - 20.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การเตรียมสารละลาย ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP-YRU โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

สอบคัดเลือกนักเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2564



          เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564  เวลา 09.00 - 16.30 น. ณ โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (SMP YRU) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กำหนดการสอบคัดเลือกนักเรียนใหม่ (รุ่นที่ 6) ประจำปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประส่งค์เพื่อสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะสอบ 4 วิชา ดังนี้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในปีนี้มีนักเรียนที่สนใจสมัครสอบคัดเลือก จำนวนทั้งหมด 823 คน จากโรงเรียนในเครือข่าย โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นผู้ออกข้อสอบในครั้งนี้





วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย 

          เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

         ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


          โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน เรื่อง การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์ ในครั้งนี้ด้วย
 

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ และตัวออกซิไดส์ของโลหะและไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ และตัวออกซิไดส์ของโลหะและไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

จัดบูทมหกรรมวิชาการงานพิธีมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียน

      

       วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เวลา 08.00 - 16.30 น.โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ เข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงผลงานนักเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การแสดง Science Show ณ โรงเรียนศรีชีวันวิทยา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยนาวาอากาศเอก(พิเศษ)คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ ประธานบริษัท เมืองเศรษฐกิจพอเพียง จำกัดและพล.ท.ม.ร.ว.วโรรส บริพัตร คณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนางสาวนุรฮาฟีซา สามะแม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการ SMP YRU โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์