วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ


                   เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ ห้องประชุม 4 อาคารอาหรับ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัด "กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนโครงการห้ห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมปีที่ 5 " นักเรียนรุ่นที่ 3 ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอให้กับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประกวดโครงานในเวทีต่างๆ และในครั้งนี้เป็นปีที่ 2 ในการจัดกิจกรรมการนำเสนอโครงงาน โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป 

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองการเปลี่ยนแปลง pH ของนำ้และสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต

        เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี  เรื่อง การทดลองการเปลี่ยนแปลง pH ของนำ้และสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 5/1 (SMP)  โดยมีอาจารย์คอลิบ  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

ติดตามการรับสมัครนักเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563 และประชาสัมพันธ์แนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ณ โรงเรียนสุขสวสดิ์วิทยา

 
     วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30 - 11.30 น. นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เข้าโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาเพื่อติดตามกาารรับสมัครคัดเลือกนักเรียนใหม่โครงการ SMP ประจำปีการศึกษา 2563 และได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์แนะแนวโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ณ ห้องประชุมโรงเรียนสุขสวิสดิ์วิทยา

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

นักเรียน Top 3 ชมการแสดงท้องฟ้าจำลอง(กรุงเทพ)

วันที่ 28 มกราคม 2563 เวลา 13.30-14.30 น. นักเรียน Top 3 จาก 6 โรงเรียนเครือข่าย(รุ่นแรก) โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนจำนวน 24 คน เข้าชมการแสดงท้องฟ้าจำลอง (กรุงเทพ) ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ตลอดระยะเวลา 1 ชั่วโมง นักวิชาการศึกษาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศ และจัดฉายภาพยนตร์จากเครื่องฉายและสื่อมัลติมีเดียเพื่อแสดงดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และวัตถุบนท้องฟ้าต่างๆ ทำให้เห็นการเคลื่อนที่ของดวงดาวบนท้องฟ้าหรือในจักวาลอันซับซ้อนได้อย่างสมจริง บริเวณรอบๆโดมมีการจัดแสดงนิทรรศการด้านดาราศาสตร์และอวกาศให้ได้สัมผัสและเรียนรู้ ทำให้นักเรียนได้เห็นถึงปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้าและเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆในการนำไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโลก ดาราศาสตร์และอวกาศมากยิ่งขึ้น

นักเรียน Top 3 เข้าชมพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์

วันที่ 28 มกราคม 2563 เวลา 10.00-11.30 น. นักเรียน Top 3 จาก 6 โรงเรียนเครือข่าย(รุ่นแรก) โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนจำนวน 24 คน เข้าชมพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ ณ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมรับฟังการบรรยายความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ฯ  โดยมี อาจารย์ ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ อาจารย์ภาควิชากายภาคศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยายและพาชมภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ที่มีการจัดแสดงร่างกายมนุษย์ โชว์อวัยวะที่แตกต่างกันตามอาจารย์ใหญ่แต่ละคน บางท่านโชว์กล้ามเนื้อ บางท่านโชว์ระบบการทำงานของลำไส้ สมอง และยังมีตู้โชว์อวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ ที่จัดแสดงแยกออกมาแต่ละส่วน เช่น หัวใจ ปอด ตับ เป็นต้น สามารถดูได้ใกล้ๆ แต่ห้ามจับ

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

งานวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา




       เมื่อวันที่ 26 -27 มกราคม 2563 นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ร่วมจัดนิทรรศการ ในงานวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ประจำปีการศึกษา 2562 เพื่อต้องการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการของนักเรียนในชุมนมโดยรอบโรงเรียน เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้นักเรียนแสดงความสามารถที่เป็นเลิศทางวิชาการ ณ ลานกิจกรรมโรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีนายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีเปิด
       

กิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อคณิตศาสตร์เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอน

           
              เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 เวลา 13.30 - 16.00 น.อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตสื่อคณิตศาสตร์เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนการสอนให้กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ณ ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูนิธิ

นักเรียน Top 3 ทัศนศึกษา ณ สำนักงานปรมณูเพื่อสันติ

วันที่ 27 มกราคม 2563 เวลา 13.30-16.30 น. นักเรียน Top 3 จาก 6 โรงเรียนเครือข่าย(รุ่นแรก) โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนจำนวน 24 คน เข้าเยี่ยมชมภารกิจของสำนักงานปรมณูเพื่อสันติ พร้อมรับฟังการบรรยาย เรื่อง ภารกิจของ ปส.และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสี โดย ดร. กิตติ์กวิน อรามรุญ นักฟิสิกส์รังสีชำนาญการพิเศษเป็นวิทยากรบรรยาย  และอธิบายวิธีการใช้งานเครื่องวัดรังสีที่ถูกต้องและแนวทางในการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสธาตุรังสีชนิดต่างๆ พร้อมทั้งได้เข้าเยี่ยมชมภารกิจของสำนักงานปรมณูเพื่อสันติในส่วนของห้องปฏิบัติการมาตรฐานการวัดรังสีทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติการการเตรียมตัวอย่างทางกายภาพ ศูยน์ข้อมูลสถานีเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสี นอกจากนี้วิทยากรได้แนะแนวทางการศึกษาต่อและการเตรียมตัวสำหรับนักเรียนที่สนในด้านพลังงานนิวเคลียร์ วิทยาศาสตร์นิวเคลยร์หรือสนใจอยากเข้ามาทำงานในสำนักงานปรมณูพื่อสันติ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป็นหนึ่งทางเลือกในการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนต่อไป

กิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน ณ กรุงเทพมหานคร


วันที่ 27 มกราคม 2563 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้โอวาทแก่นักเรียน Top 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก  6 โรงเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ที่มีผลการสอบวัดระดับและนักเรียนกิจกรรมเด่น สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและโครงการ จำนวน โรงเรียนละ 3 คน  จาก  6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน ได้รางวัลพิเศษไปทัศนศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีกำหนดการระหว่างวันที่ 27-30 มกราคม 2563 ณ หน่วยงานต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น สำนักงานปรมณูเพื่อสันติ พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์(คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง) กรุงเทพ และบริษัทไมโครซอฟแวร์ (ประเทศไทย)จำกัด เป็นต้น เพื่อทราบถึงแหล่งงานที่รองรับด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแนวทางการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศต่อไป  

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาต่อห้องเรียนพิเศษ SMP


  เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 09.00 น. - 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดกิจกรรมแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เข้าสู่โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (Science Mathematics Program : SMP) ให้กับ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสและทางเลือกในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

ศึกษาดูงาน กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงานเป็นฐาน (Project – based Learning : PBL)

        
        
        เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา  รายวิชาการจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา จำนวน 34 คน   ศึกษาดูงาน  กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงานเป็นฐาน (Project – based Learning : PBL) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ วิเคราะห์ปัญหา และพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศในโรงเรียน  

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มรภ.ยะลา ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัล “บุคคลตัวอย่างแห่งปี” พุทธศักราช 2563 สาขาการพัฒนาการศึกษาและเยาวชน


        เมื่อวันนี้ (17ม.ค.63) อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้รับผิดชอบโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัล “บุคคลตัวอย่างแห่งปี” พุทธศักราช 2563 สาขาการพัฒนาการศึกษาและเยาวชน จาก พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรีและเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส ในโครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน โดยมูลนิธิเพื่อสังคมไทย และได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการมีความเห็นพ้องกันว่าเป็น “บุคคล” ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นผู้ที่มีความสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริง มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานกิจการต่างๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่นเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม ซึ่งสมควรยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและสาธารณชนสืบไป ณ หอประชุมกองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร