วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ขอแสดงความยินดีแก่นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564
กิจกรรมการนำเสนอและประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนโครงการห้ห้องเรียนพิเศษ SMP รุ่นที่ 4 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ สัมมนา 1 อาคาร 4 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัด "กิจกรรมการนำเสนอและประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รุ่นที่ 4 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ" เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอให้กับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประกวดโครงานในเวทีต่างๆ และในครั้งนี้เป็นปีที่ 4 ในการจัดกิจกรรมการนำเสนอโครงงาน โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564
บทปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นนิ่งและการสะท้อนของหน้าคลื่น
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 เวลา 19.00 - 20.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นนิ่งและการสะท้อนของหน้าคลื่น ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีอาจารย์ลุตฟี การัตน์ เป็นอาจารย์สาขาวิชาฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564
ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่องการศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และโครงสร้างของไตสัตว์มีกระดูกสันหลัง โรงเรียนประทีปวิทยา
วันที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 11.00 – 11.40 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและโครงสร้างของไตโดยมีอาจารย์รอฏียะห์ หวันมามะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา ซึ่งในการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสรุปโครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บอกความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของหัวใจแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจ ศึกษาทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจและศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของไตสัตว์มีกระดูกสันหลัง
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2564
ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 08.00 -16.30 น. โดยมี อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์อลภา ทองไชย เป็นคณะกรรมการตรวจรับ เจ้าหน้าที่ช่างออกแบบ วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า และผู้รับเหมาจาก บริษัท ออฟฟิเซียล อีควิปเม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย งวดที่ 1 จำนวน 2 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ตำบลบ้านแหร และโรงเรียนดำรงวิทยา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตาเมือง ได้มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โต๊ะ เก้าอี้ งานระบบไฟ และงานระบบน้ำ เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564
อบรมการใช้งาน SMP E - Learning ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการ SMP - YRU โรงเรียนดำรงวิทยา
เมื่อวันที่ 17
มีนาคม 2564 เวลา 15.00 – 15.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โรงเรียนดำรงวิทยา นายซุลกิฟลี มามะ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ได้จัดอบรมการเข้าระบบใช้งาน SMP E - Learning
ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในครั้งนี้
จากการอบรมในครั้งนี้ ทำให้นักเรียนได้รู้จักสื่อการเรียนการสอนเสริมในระบบออนไลน์ ได้เรียนรู้วิธีการเข้าระบบและเรียนรู้ฟังก์ชั่นที่มีเพื่อนำไปศึกษาด้วยตนเองต่อไปได้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเข้าศึกษาข้อมูล เพื่อเตรียมตัวในการเข้าสอบในระดับอุมศึกษาต่อไป
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564
กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมสถานศึกษา COLAB-SCHOOLS ให้กับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564
ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย
ความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา
เมื่อวันที่ 4 - 6 มีนาคม 2564 ผู้รับเหมาก่อสร้าง จากบริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้น แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้ลงพื้นที่โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็น 1 ใน 6 โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ SMP - YRU ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ให้เป็นไปตามแบบแผนการก่อสร้างและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของโรงเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564
ความคืบหน้าการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา
เมื่อวันที่ 6 - 8 มีนาคม
2564 ผู้รับเหมาก่อสร้าง
จากบริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้น แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้ลงพื้นที่โรงเรียนดำรงวิทยา
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็น 1 ใน 6 โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ
SMP - YRU
ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
เพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ให้เป็นไปตามแบบแผนการก่อสร้างและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของโรงเรียน
ในการลงพื้นที่ปรับปรุงซ่อมแซมในครั้งนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จัดทำโต๊ะปฏิบัติการพร้อมเก้าอี้ อ่างล้างเครื่องแก้ว ระบบไฟฟ้าและระบบน้ำ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ ที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนสำหรับคุณครูและนักเรียน และเป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบในการบริการวิชาการให้กับชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ต่อไป
วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564
สาขาชีววิทยาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มรย. จัดกิจกรรมแนะแนวหลักสูตรแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP - YRU โรงเรียนดำรงวิทยา ทางสาขาชีววิทยาเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย อาจารย์อลภา ทองไชย อาจารย์ประจำสาขา และนางสาวลักขณา รักขพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ประจำสาขา พร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ พร้อมด้วยการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการศึกษาสิ่งมีชีวิตภายใต้กล้องโดยใช้เทคโนโลยีมิวอาย ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักและฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีมิวอาย ฝึกปฏิบัติการทดลองทางด้านชีววิทยา ได้แลกเปลี่ยนพร้อมทั้งแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
กิจกรรมพัฒนานักเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (SMP-YRU) โรงเรียนประทีปวิทยา ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
การปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2564
แลปปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การหาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ
ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนสุขสวัสวัสดิ์วิทยา ได้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบััติการฟิสิกส์ เรื่อง การหาศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงของวัตถุ ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ลีซาวาตี สาเมาะแม อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์เป็นผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติการ
แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จัดทำ MoU เพื่อร่วมกันพัฒนา PLC
สำหรับโรงเรียนที่ร่วมโครงการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในคร้ังนี้ ประกอบด้วย 12 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง 2) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง 3) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ต.ปะแตอ.ยะหา 4) โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 5) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน 6) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา อ.บ้านแหร อ.ธารโต 7) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง 8) โรงเรียนประทีปวิทยา ต.ลิดล อ.เมือง 9) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 10) โรงเรียนสตรีอิสลามมูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง 11) โรงเรียนดารูลฮูดาวิทยา ต.วังพญา อ.รามัน 12) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา ซึ่งทั้ง 12 โรงเรียน มีการจัดทำ MoU ในโครงการจัดตั้งห้องเรียน SMP-YRU มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ดั้งนั้น การจัดทำแผนการวิจัยและโครงการวิจัยในครั้งนี้ นับเป็นการต่อยอดและขยายผล เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยการยกระดับด้วยการวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสามเรื่องหลักผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Coummunities: PLC) ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ด้วย STEM Education การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) และการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)
1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย
2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย
3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากแผนงานวิจัยข้างต้น โรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและการพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย โครงการห้องเรียน SMP-YRU และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต.
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564
โครงการ SMP-YRU ต่อยอดลงนาม MoU กับแผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ในวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ แผนงานวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนสาธิต (OPEN CLASS) ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร/หัวหน้าแผนงานวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน SMP-YRU เป็นการต่อยอดโครงการด้วยการวิจัย จำนวน 3 โครงการย่อย จัดกิจกรรมร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ/ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU
ในการดำเนินการวิจัยใน 3 โครงการวิจัย ตามแผนการวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วยด้วยโครงการวิจัย ดังนี้
1) โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีอาจารย์อลภา ทองไชย อาจารย์ ดร.วารุณี หะยีมะสาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย
2) โครงการวิจัยที่ 2 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมี อาจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และ อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และอาจารย์พูรกอนนี สาและ เป็นผู้ร่วมวิจัย
3) โครงการวิจัยที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) ในรายวิชาเคมี ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยนี้ คาดว่าโรงเรียนในโครงการ SMP-YRU จะได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสร้างเป็นชุมชนหรือสังคมแฟน่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC สามารถนำมาเป็นต้นแบบขยายผลไปยังเนื้อหา รายวิชาอื่น ๆ และโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งโครงการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย ดำเนินการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างทีมนักวิจัยและผู้บริหาร ครู ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปพร้อมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนในโครงการห้องเรียน SMP-YRU นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ จชต. ในจังหวัดยะลา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา
โครงการ SMP-YRU ขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง (https://e-smp.yru.ac.th) ติวออนไลน์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย 12 โรงเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการดำเนินงาน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ซึ่งมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีเป็นที่ปรึกษาโครงการ และ อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน รวมถึงคณะกรรมการดำเนินเนินงานโครงการจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) และเครือข่ายโรงเรียน SMP-YRU จำนวน 12 โรงเรียน จัด "โครงการขยายผลการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์" รวมทั้งวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษในระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งจากมหาวิทยาลัย โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th ทั้งจากการปรับเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเสริมความรู้ในปีงบประมาณตามแผนบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีพ.ศ. 2563 จากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 จากกิจกรรมเข้าค่าย เป็นกิจกรรมการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ในรายวิชาสำหรับการสอบวัดความรู้ PAT1, PAT2 และ GAT ในรายวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม 12 รายวิชา เน้นนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดีทัศน์ (Clip Video) มีการโต้ตอบระหว่างเรียน แบบทดสอบทบทวนเนื้อหา
สำหรับการจัดทำและพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะการสอนเสริม (Tutorial) ด้วยวีดีทัศน์แบบโต้ตอบได้ เผยแพร่ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ผ่านเว็บไซต์การจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://e-smp.yru.ac.th ในครั้งนี้ นับเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVIE-19 ที่ทางโครงการฯ มองเห็นวิกฤติปรับให้เป็นโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และระบบจัดการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองการศึกษายุค 4.0 และสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในยุค Gen Z ซึ่งผู้เรียนอยู่ในยุคของการเรียนรู้อยู่ด้วยดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงนับเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการในระยะต่อไป จะเป็นขยายผลให้โอกาสแก่นักเรียนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือทั่วประเทศเข้ามาใช้ระบบและสื่อการเรียนรู้ในระบบ http://e-smp.yru.ac.th ต่อไป