วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ปฏิบัติการชีววิทยาเรื่องอุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา โรงเรียนดำรงวิทยา

      วันที่ 4 มิถุนายน 2566 เวลา 14.20 - 15.35 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวมารีแย กาเดร์ ครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่องอุณหภูมิกับการรักษาดุลยภาพของปลา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ออกแบบ และทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการรักษาดุลยภาพของปลา


วัสดุและอุปกรณ์

1. ปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียนขนาดเล็ก ปลาสอด ปลาเงินปลาทอง หรือปลาอื่นๆ

ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

2. น้ำ

3. น้ำแข็ง

4. น้ำร้อน

5. เทอร์มอมิเตอร์

6. บีกเกอร์ขนาด 100 mL. และขนาด 250 mL


วิธีการทำกิจกรรม

1. เตรียมปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด 2 ตัว เลี้ยงไว้ในอ่าง

2. เตรียมน้ำใส่บีกเกอร์ขนาด 100 mL จำนวน 2 ใบ วัดอุณหภูมิน้ำให้ได้ประมาณ 25 องศาเซลเซียส นำ

ปลาใส่ลงในบีกเกอร์ ใบละ 1 ตัว ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที นับจำนวนครั้งของการขยับ

แผ่นปิดเหงือก (operculum) ต่อนาทีของปลาในแต่ละบีกเกอร์ แล้วหาค่าเฉลี่ย ทิ้งไว้

ประมาณ 5 นาที

3. เตรียมน้ำใส่บีกเกอร์ขนาด 250 mL จำนวน 2 ใบ วัดอุณหภูมิน้ำให้ได้ประมาณ 15 องศาเซลเซียส (ใช้

การปรับอุณหภูมิของน้ำโดยการเติมน้ำแข็ง 1-2 ก้อน) จากนั้นนำบีกเกอร์ในข้อ 2 ที่มีปลา

อยู่ ใส่ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 mL. ปรับอุณหภูมิแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที นับจำนวน

ครั้งของการขยับแผ่นปิดเหงือก ต่อนาทีของปลาในแต่ละบีกเกอร์ แล้วหาค่าเฉลี่ย ทิ้งไว้

ประมาณ 5 นาที

4. ทำซ้ำข้อ 3 แต่เปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำเป็น 40 องศาเซลเซียส (ใช้การปรับอุณหภูมิของน้ำโดยการเดิม

น้ำอุ่นลงไป)


ข้อควรปฏิบัติ

หลังจากทำการทดลอง ควรนำปลาไปปล่อยในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

1 ความคิดเห็น:

  1. ตื่นเต้นแทนเลยครับ เห็นลูก ๆ นักเรียนสนใจการทดลองวิทยาศาสตร์

    ตอบลบ