วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเตรียมสารละลายที่ตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลว ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
จุดประสงค์ของการทดลอง
เพื่อเตรียมสารละลายที่มีตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลว
วัสดุอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด
100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 4. กรวยกรอง
2. ขวดวัดปริมาตรขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 5. น้ำกลั่น
3.
แท่งแก้วคนสาร 6.
น้ำหวาน (สีแดงหรือสีเขียว)
วิธีการทดลอง
1.
ตวงน้ำหวานปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. ตวงน้ำกลั่นปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในบีกเกอร์ในข้อ 1.
ใช้แท่งแก้วคนสารคนให้เข้ากัน แล้วเทลงในขวดวัดปริมาตร ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. ตวงน้ำกลั่น 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในบีกเกอร์ในข้อ 1. เพื่อล้างสารละลายที่ตกค้างในบีกเกอร์
แล้วเทลงในขวดวัดปริมาตรในข้อ 2. ทำซ้ำอีก 2 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารละลายเหลืออยู่ในบีกเกอร์
4. เติมน้ำกลั่นลงในขวดวัดปริมาตรจนสารละลายทั้งหมดมีปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
แล้วเทลงในบีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์ก็เซนติเมตร สังเกตสีของสารละลาย และบันทึกผล
5. ทำการทดลองซ้ำข้อ
1. - 4. โดยเปลี่ยนปริมาตรของน้ำหวานเป็น 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ สังเกตสีของสารละลาย บันทึกผล
และเปรียบเทียบกับสารละลายที่เตรียมได้ในครั้งแรก
อภิปรายผลการทดลอง
จากกิจกรรม พบว่าสารละลายที่เตรียมได้จะมีความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยปริมาตรซึ่งมีน้ำเป็นตัวทำละลาย
และน้ำหวานเป็นตัวละลาย โดยสารละลายที่เตรียมจากน้ำหวาน 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีความเข้มข้นสูงที่สุด คือ ร้อยละ 40 โดยปริมาตร ตามด้วยสารละลายที่เตรียมจากน้ำหวาน 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จะมีความเข้มข้นร้อยละ 20 โดยปริมาตร และสารละลายที่เตรียมจากน้ำหวาน
10 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริมาตร ตามลำดับ
โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนได้ในการทดลองนี้คือ
การสังเกต การวัด การคำนวณ และการลงความเห็นจากข้อมูล ตามด้วยความสนุกในการได้ลงมือทำนำไปสู่การเกิดเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น