วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00– 14.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยาเรื่อง ศึกษาระบบทางเดินอาหารของไส้เดือนดินและปลา โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน
ที่มา : https://sites.google.com/site/thaihappyworm/kar-leiyng-sideuxn
ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two holetube)ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยปาก ซึ่งเป็นรูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่ง ต่อจากปากก็จะเป็นช่องปาก(Buccal cavity) คอหอยมีกล้ามเนื้อหนาช่วยในการฮุบกิน มีกระเพาะพักอาหารและมีกึ๋นช่วยในการบดอาหาร ลำไส้สร้างน้ำย่อยปล่อยออกมาย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบเลือด เพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่วนสารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออกทางช่องทวารหนักที่อยู่ทางส่วนท้ายของลำตัวเป็นกากอาหาร
ไส้เดือนดิน มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ คือ ประกอบไปด้วย
ปาก(mouth) -> คอหอย(phaynx) -> หลอดอาหาร(esophagus) -> กระเพาะพักอาหาร(crop) -> กึ๋น(gizzard) -> ลำไส้(intestine) -> ทวาร(anus)
1. ปาก(mouth) อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่
2. คอหอย(phaynx) อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนา แข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้
3. หลอดอาหาร(esophagus) อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร
4. กระเพาะพักอาหาร(crop) อยู่บริเวณปล้องที่ 12-16 ลักษณะเป็นถุงผนังบาง
5. กึ๋น(gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มี ขนาดเล็กลง
6. ลำไส้(intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย
7. ทวารหนัก(anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย
1. ปาก(mouth) อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่
2. คอหอย(phaynx) อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนา แข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้
3. หลอดอาหาร(esophagus) อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร
4. กระเพาะพักอาหาร(crop) อยู่บริเวณปล้องที่ 12-16 ลักษณะเป็นถุงผนังบาง
5. กึ๋น(gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มี ขนาดเล็กลง
6. ลำไส้(intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย
7. ทวารหนัก(anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย
ปลา (Fish) เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ปลากินอาหารหลากหลายชนิด สามารถแยกออกเป็น กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ แพลงก์ตอน พืช และสัตว์ ปลาที่กินอาหารแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างของอวัยวะย่อยอาหารตั้งแต่ลักษณะของปาก ฟัน และทางเดินอาหาร
ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้
ปาก → คอหอย → หลอดอาหาร → กระเพาะอาหาร → ลำไส้ → ทวารหนัก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาทางเดินอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
2. เพื่อศึกษาทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
วัสดุอุปกรณ์
1. เครื่องมือผ่าตัด
2. ตัวอย่างของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ ไส้เดือนดิน
3. ตัวอย่างของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คือ ปลา
4. ถาดผ่าตัด
5. ถุงมือยาง
6. เข็มหมุด
วิธีการทดลอง
ตอนที่ 1 ศึกษาทางเดินอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม วางไส้เดือนดินไว้ในถาดผ่าตัด
2. ดึงให้ไส้เดือนดินให้ยาว หงายตัว แล้วปักเข็มหมุดทั้งหัวแล้วปลาย
3. ใช้กรรไกรผ่าตัดสอดเข้าทางปาก ผ่าตามแนวข้างลำตัวไปจนตลอดลำตัว ระมัดระวังอย่าให้ โดนอวัยวะภายใน
4. ใช้เข็มหมุดดึงผิวหนังให้แผ่กว้างตลอดลำตัว
5. ศึกษาลักษณะทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก (mouth) จนถึงทวารหนัก (anus)
6. ใช้เข็มหมุดปักส่วนที่เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
ตอนที่ 2 ศึกษาทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
1. นำปลาหรือตัวอย่างสัตว์ที่นำมาศึกษาไปล้างให้สะอาด
2. ผ่าปลาหรือตัวอย่างที่นำมาศึกษา สังเกตลักษณธของปลา ความยาวลำไส้ ความหนา และขนาดของกระเพาะอาหาร
3. เขียนแผนภาพทางเดินอาหารตามที่ได้จากการสังเกต
ขอให้ลูกๆ ทุกคนมีความสุขและประสบความสำเร็จในการศึกษาต่อนะครับ
ตอบลบ